พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญจักรพรรดิมาลา หรือเหรียญปรนนิบัติราชการดี

พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญจักรพรรดิมาลา หรือเหรียญปรนนิบัติราชการดี

พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญจักรพรรดิมาลา หรือเหรียญปรนนิบัติราชการดี

ในวาระสมโภชศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ในปีร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเหรียญจักรพรรดิมาลา ขึ้น แต่ยังมิได้มีการประกาศเป็นพระราชบัญญัติ และยังมิได้มีการพระราชทานแก่ผู้ใด
จนกระทั่งวันที่ ๓ มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก๒๘ ๑๑๔ (พ.ศ.๒๔๓๘ นับวันขึ้นปีใหม่แบบเดิม) ในการพระราชพิธีสมโภชศิริราชสมบัติ เสมอเท่ารัชกาลที่ ๑ ครองราชย์ครบ ๑๐๐๑๕ วัน
และนับเป็นปีครองราชย์ ขึ้นปีที่ ๒๘ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติให้เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ปฏิบัติราชการดีทั่วไปไม่มีกำหนดขีดคั่นอย่างใด

เนื้อหาหลักตามความที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๒ หน้า ๔๘๐ ถึง ๔๘๑ มีดังนี้…

…..มีพระบรมราชโองการ ดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่าเหรียญเครื่องประดับอย่างหนึ่ง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแต่เมื่อการพระราชพิธีรัชฎาภิเศก สมโภชศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ในรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ นั้น ยังหาได้มีประกาศพระราชบัญญัติ สำหรับกับเหรียญเครื่องประดับนั้นไม่ โดยยังไม่มีโอกาศที่จะพระราชทานผู้ใดในสมัยนั้นและในคราวนั้น ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิศริยาภรณ์ทั้งปวงแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อย และเป็นที่รฦกของกาลสมัยอันนั้นอยู่แล้ว บัดนี้ถึงสมัย ซึ่งได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาเสมอเท่ารัชกาล แห่งสมเด็จพระบรมมหาปัยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ อันเสด็จดำรงศิริราชสมบัติ ในกรุงเทพมหานครนี้ มีกาลยาวที่สุด ไม่มีรัชกาลอื่นจะยาวยิ่งกว่านั้น สมควรที่จะประกาศพระราชบัญญัติ สำหรับเหรียญเครื่องประดับนี้ ให้เป็นที่รฦกในมหามงคลสมัยอันนี้สืบไป

จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสเหนือเกล้าฯ เฉพาะเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ให้ตราพระราชบัญญัตินี้ไว้เป็นแบบฉบับ สำหรับปกครองเหรียญเครื่องประดับอันนี้ โดยมาตราทั้งหลายดังจะว่าต่อไปนี้

มาตรา ๑ เหรียญเครื่องประดับนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่าเหรียญจักรพรรดิมาลา


มาตรา ๒ เหรียญจักรพรรดิมาลา นี้มีสัณฐานเป็นรูปจักร ด้านหน้ามีพระบรมราชสาทิศฉายาลักษณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาพิไชยมงกุฎ ยอดมีรัศมีและพวงมาไลใบไชยพฤกษ์วงโดยรอบ ที่ขอบจักรมีอักษร แสดงพระบรมราชนามาภิไธยว่า “จุฬาลงกรณ์ บรมราชาธิราช สยามินทร์” ด้านหลังที่ขอบจักร มีอักษรแสดงคุณของผู้ที่จะได้รับพระราชทาน และแสดงศกที่ได้ทรงสร้างเหรียญนี้ว่า “สำหรับปรนนิบัติราชกาลดี รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒” ที่กลางเหรียญมีอักษรว่า “พระราชทานแก่” และจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้ที่จะได้พวงมาไล อันมีช่อดอกไม้รับรองอยู่นั้น เหรียญนี้จะได้ห้อยแพรแถบสีเหลืองริมชมภู ห้อยกับเข็มอันมีอักษรจารึกว่า “ราชสุปรีย์” สำหรับติดที่รังดุมเสื้อ ณ อกข้างซ้าย


มาตรา ๓ เหรียญจักพรรดิมาลานี้ไม่มีกำหนดจำนวนชั้นสูงและต่ำ จะพระราชทานเสมอทั่วหน้ากัน ตามคุณพิเศษและความดีความชอบ ตัวเหรียญนั้นจะเป็นทองคำแท้ ฤๅเงินก้าใหล่ทอง เงินเปล่า ก็แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน คงเป็นชั้นชนิดมีเกียรติยศอย่างเดียวกันทั้งนั้น


มาตรา ๔ เหรียญจักรพรรดิมาลานี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้ปรนนิบัติราชกาลดี ตั้งแต่ผู้มีอิศริยศักดิ์ตลอดลงไปจนถึงไพร่เสมอทั่วหน้ากันตานแต่พระบรมราชอัธยาไศรย์ ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้ใด


มาตรา ๕ เหรียญจักรพรรดิมาลานี้เมื่อพระราชทานแก่ผู้ใด จะได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้นั้นลงในที่สำหรับจารึกอันกล่าวแล้วนั้น ไม่ต้องมีประกาศนียบัตร แล้วจะได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ว่าได้พระราชทานแก่ผู้นั้น และจดบาญชีชื่อตัวชื่อตั้ง และวันเดือนศกและความดีความชอบ ที่ได้ปรนนิบัติราชกาลดีนั้น ไว้ในสมุดสารบบสำหรับเหรียญจักพรรดิมาลานี้ สำหรับแผ่นดินสืบไป


มาตรา ๖ เหรียญจักพรรดิมาลานี้พระราชทานให้เปนสิทธิ์ แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานนั้น เมื่อผู้นั้นล่วงลับไปแล้วก็ไม่ต้องส่งคืน คงพระราชทานให้เป็นที่รฦกแก่ผู้รับมรดกต่อไป


มาตรา ๗ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดที่ได้รับพระราชทาน เหรียญจักพรรดิมาลานี้……

อนึ่ง ในพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ.๑๓๐ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ หน้า ๑๙๘ ถึงหน้า ๒๐๑ ) ได้มีการอ้างอิงความย้อนหลังไว้ในย่อหน้าแรก ว่า ตามพระราชประสงค์เดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ปฏิบัติราชการดีทั่วไปไม่มีกำหนดขีดคั่น แต่ตามพระราชนิยมที่พระราชทานชั้นหลังนั้น สำหรับพระราชทานผู้ที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์ขุนนางครบ ๒๘ ปี เป็นบำเหน็จที่รับราชการยั่งยืนมั่นคงยาวนาน นัยว่าเนื่องจากได้เริ่มพระราชทานในปีที่ทรงครองราชย์ยาวนานเสมอพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (๒๘ ปี)

จากการค้นคว้าในราชกิจจานุเบกษา ที่เกี่ยวเนื่องกับการพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม รศ๑๑๔ ซึ่งเป็นวันที่เริ่มพระราชทานครั้งแรก จนถึง ๒๐ กันยายน รศ๑๒๙ ซึ่งเป็นการพระราชทานครั้งสุดท้ายก่อนสววรคตได้ไม่นาน  พบหลักฐานการพระราชทาน รวบรวมเป็นสถิติได้ดังนี้ (รายชื่อและจำนวนผู้รับพระราชทานอาจมีตกหล่นได้บ้างเล็กน้อย แต่อยู่ในราว สองร้อยคนเศษ อย่างแน่นอน)

ประเภทจำนวนผู้รับจำนวนครั้งที่พระราชทาน
เงินแช่ทอง332
ก้าไหล่ทอง2010
ทอง62
เงิน7711
ไม่ระบุ8624
รวม22249

อนึ่ง เหรียญจักรพรรดิมาลาสมัยรัชกาลที่๕นี้ ถึงแม้ว่าจำนวนการพระราชทานจะไม่มากนัก (เนื่องจากผู้ที่ได้รับพระราชทานต้องรับราชการด้วยความชอบ เป็นระยะเวลายาวนานถึง๒๘ปี) แต่ช่วงเวลาของการพระราชทาน นับแต่มีการตราพระราชบัญญัติฯ ตั้งแต่ปีร.ศ.๑๑๔ ถึง กันยายน ร.ศ.๑๒๙ ก็ถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร และน่าจะมีการสั่งผลิตเหรียญนี้มาหลายครั้งหลายlots จากการตรวจสอบเหรียญแท้ที่พบในปัจจุบัน โดยสอบทานตามหลักฐานชื่อผู้รับพระราชทานที่มีปรากฎอยู่ (เหรียญที่พระราชทานแล้ว จะมีชื่อผู้รับพระราชทาน จารด้วยลายมืออยู่ด้านหลังเหรียญ) พอสันนิษฐานได้ว่า เหรียญเงินแช่ทอง, และเหรียญก้าไหล่ทอง (และอาจรวมถึงเหรียญ “ทอง” ด้วย) น่าจะเป็นชนิดที่คล้ายคลึงกัน คือเป็นเนื้อกะไหล่ทอง

   อย่างไรก็แล้วแต่ จากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยนำตัวอย่างเหรียญจักรพรรดิมาลาเหรียญหนึ่ง
ที่มีบันทึกหลักฐานการพระราชทานในราชกิจจานุเบกษาว่าเป็นชนิดเหรียญ”ทอง” จากการวิเคราะห์เนื้อโลหะของเหรียญดังกล่าว โดยเทคนิค XRF (X-Ray Fluorescence ในระดับผิวที่มีความลึกไม่เกิน 100 ไมครอน)
พบว่าเป็นชนิดที่มีเนื้อโลหะหลักเป็นเงิน (Ag) กว่า 88% ผสมกับแร่ทองคำ (Au) มากกว่า 10% โดยมวล และมีข้อสังเกตุว่า ตามบันทึกหลักฐานการพระราชทาน ที่ค้นคว้าได้จากราชกิจจานุเบกษา ก็ยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่าได้มีการพระราชทานเนื้อ “ทองคำแท้” แก่ผู้ใด

   เหรียญจักรพรรดิมาลา สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่เป็นเหรียญแท้นี้ พบเห็น ๒ บล็อค คือบล็อคดอกไม้เต็ม (คือดอกไม้ประดับในวงขอบเหรียญเห็นเป็นกลีบอย่างชัดเจน) และดอกไม้ตื้น และทั้ง๒ บล็อคนี้ มีลักษณะการทำผิวเหรียญแบบพ่นทราย (Sand Blast Finishing) และมีร่องรอยการกัดเฟืองที่วงขอบด้านใน (อันเกิดจากขั้นตอนการทำแม่พิมพ์) ที่เป็นลักษณะเฉพาะเหมือนกัน

คำบรรยายภาพ: ตัวอย่าง บันทึกการพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ที่พิมพ์ไว้ในราชกิจจานุเบกษา

ข้อมูลจำเพาะ:

ด้านหน้า: มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ ยอดมีรัศมีและพวงมาลัยใบชัยพฤกษ์วงรอบ ที่ขอบจักรมีอักษรว่า “จุฬาลงกรณ์บรมราชาธิราช สยามินทร์”

ด้านหลัง:
ที่ขอบจักรมีอักษรแสดงคุณของผู้ที่ได้รับพระราชทาน และแสดงศกที่ทรงสร้างเหรียญนี้ว่า “สำหรับปรนนิบัติราชการดี รัตนโกสินทรศก ๑๑๒” ที่กลางเหรียญมีอักษรว่า “พระราชทานแค” (และจะได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้ที่ได้รับพระราชทานลงในกลางเหรียญที่ให้พวงมาลัยที่มีช่อดอกไม้รองอยู่)

ขนาด:
เหรียญมีลักษณะเป็นรูปจักรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๓ เซนติเมตร ส่วนสูง ๖.๐ เซนติเมตร

การประดับ:
ห้อยกับแพรแถบสีเหลือง ริมชมพู ห้อยกับเข็มมีอักษรว่า “ราชสุปรีย์” สำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญนี้ไม่มีประกาศนียบัตร เพราะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญนี้ไว้ที่กลางเหรียญ และลงบันทึกรายนามผู้รับพระราชทานไว้ในราชกิจจานุเบกษา ทุกครั้ง

ผู้ออกแบบ: เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ในกรมขุนราชสีหวิกรม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๓๖)

ค้นคว้าโดย: พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด