พ.ศ.๒๔๖๓ เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส แบบ 2

พ.ศ.๒๔๖๓ เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส แบบ 2

พ.ศ.๒๔๖๓ เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส แบบ ๒

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ลักษณะ เป็นรูปไข่ ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านบน เป็นพระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ครึ่งพระองค์ผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญ เบื้องบนเป็นรูปเพชรเปล่งรัศมี อันหมายถึง “วชิร” เบื้องล่าง เป็นอักษรอริยกะ (อันเป็นอักษรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐิ์ขึ้น) ความว่า “มนุสส.นาโค วชิรญาณวโรรส”
ด้านหลัง เบื้องบนเป็นรูปดอกบัวบานเหนือน้ำ ถัดลงมาเป็นอักษรอ่านว่า


“อภิวาทน สีลิส.ส นิจจํ
วุทฒาปจายิโน
จต.ตาโร ธม.มา วฑ.ฒน.ติ
อายุวณ.โณ สุขํ พลํ”


แปลว่า “พรสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการกราบไหว้เป็นปกติ นอบน้อมต่อผู้เจริญแล้วเป็นนิจ

ตอนล่าง
 เป็นเลขบอกศักราช “๒๔๖๓” รองรับด้วยดอกบัวตูม 2 ดอก
ชนิด ทองแดง
ขนาด กว้าง 28 มิลลิเมตร ยาว 35 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2463 สร้างคราวเดียวกับ แบบ 1 เพื่อประทานแก่ศิษยานุศิษย์

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด