พ.ศ. ๒๔๗๖ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

พ.ศ. ๒๔๗๖ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

พ.ศ. ๒๔๗๖ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

The Safeguarding the constitution Medal
ใช้อักษรย่อ พ.ร.ธ. เหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความกล้าหาญ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนั้นสำหรับเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ช่วยเหลือราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในการปราบกบฏบวรเดช* ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นสมควรได้รับพระราชทาน โดยได้ตรา “พระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๔๗๖” ขึ้นใช้ ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป คือ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

ผู้ออกแบบ : กรมศิลปากร

      เป็นเหรียญทองแดงรมดำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละ ๒๓ มิลลิเมตร ย่อกลางทั้งสี่ด้าน ด้านหน้า มีภาพสมุดรัฐธรรมนูญวางบนพานแว่นฟ้าสองชั้นอยู่ภายในวงพวงมาลัยชัยพฤกษ์ แผ่รัศมีกระจายทั่วมณฑล ด้านหลัง มีรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระขรรค์ในท่าประหารปรปักษ์ ยืนลอยอยู่เหนือตัวอักษรตามขอบล่างว่า “ปราบกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖” ภายใต้ห่วงอันมีอักษรว่า “พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” แพรแถบสีธงไตรรงค์ กว้าง ๒๘ มิลลิเมตร ห้อยแพรแถบมีเข็มโลหะทองแดงรมดำจารึกอักษรว่า “สละชีพเพื่อชาติ”

การประดับ


๑. ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
๒. ผู้ที่เป็นทหาร ตำรวจ หรือลูกเสือ ประดับเหรียญนี้ได้ทุกโอกาสตามแต่จะเห็นสมควรในเมื่อสวมเครื่องแบบ
๓. สำหรับ (๑) ผู้ที่ไม่สวมเครื่องแบบทหาร ตำรวจ หรือลูกเสือ (๒) พลเรือนทั่วไป ประดับเหรียญนี้ได้ในโอกาสต่อไปนี้

ก. ในงานพระราชพิธีและงานต่างๆ ซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าหน้าที่จัดการ
ข. ในงานต่างๆ ที่เป็นงานพิธีหรืองานเพื่อเกียรติยศแก่หมู่เหล่าหรือบุคคลใดที่สมควรการแต่งกาย ให้แต่งอย่างสุภาพตามธรรมเนียม และกาลนิยม

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด