พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๑ ( เหรียญบาตรน้ำมนต์ หรือ เหรียญปวเรศฯ )

พ.ศ.๒๔๓๔ เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๑

พ.ศ.๒๔๓๔ ( รศ. ๑๑๐ ) เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๑
( เหรียญบาตรน้ำมนต์ หรือ เหรียญปวเรศฯ )

ลักษณะ เป็นรูปไข่ ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นรูปอัฐบริขาร พัดยศ และเบญจปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว ๕ ชั้น) มีอักษรเป็นภาษามคธว่า “อยโข สุขิ โตโหติ นิท์ทุก์โข นิรุปททโว อนันนตราโย ติฎเฐย์ย สัพพ์โสตถี ภวันตุเต” แปลว่า “ผู้นี้แล มีความสุขไร้ ความทุกข์ ไร้อุปัทวะไม่มีอันตราย พึงดำรงอยู่ ขอความสัสดีจงมีแก่ท่าน”

ด้านหลัง มีข้อความว่า

“ที่รฤก
งาน
มหาสมณุตตมาภิเศก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมสมเด็จพระ
ปวเรศวริยาลงกรณ์
วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน
รัตนโกสินทรศก๒๔
๑๑๐”

สร้างเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีมหาสมณุตตมาภิเศก เลื่อนพระอิสริยยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ขึ้นเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๔ เหรียญนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เหรียญบาตรน้ำมนต์” หรือ “เหรียญปวเรศฯ”

ชนิด : ทองแดง
ขนาด : ส่วนกว้าง ๔๔ มิลลิเมตร ส่วนยาว ๕๕ มิลลิเมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๓๔

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด