พ.ศ.๒๔๕๑ (ร.ศ.๑๒๗) เหรียญที่ระลึกงานพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายศิริวงษ์วัฒนเดช และหม่อมแม้น

พ.ศ.๒๔๕๑ เหรียญที่ระลึกงานพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายศิริวงษ์วัฒนดชและหม่อมแม้น

พ.ศ.๒๔๕๑ (รศ.๑๒๗) เหรียญที่ระลึกงานพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายศิริวงษ์วัฒนดชและหม่อมแม้น

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงอภิเษกสมรสกับคุณแม้น กุลสตรีจากสกุล บุนนาค มีพระโอรส ธิดา ๒พระองค์ คือพระองค์เจ้าชายศิริวงศ์วัฒนเดช กับพระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล (ที่เป็นพระชนนีของพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ) พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช ทรงสิ้นพระชนม์ที่เยอรมนีในวันที่ ๖ กรกฎาคม พศ ๒๔๕๑ ต่อมาในวันที่ ๓๐ มกราคม ปีพศ ๒๔๕๒ พระองค์เจ้าภาณุรังษีฯ จึงโปรดให้เริ่มงานพระศพพระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช และหม่อมแม้น ซึ่งถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๘ ที่วังบูรพาภิรมย์ แล้วชักศพไปตั้งที่เมรุที่วัดเทพศิรินทราวาส จากงานครั้งนั้นเองที่กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดชได้ทรงสร้าง “สะพานดำ” หรือ “สะพานแม้นศรี” ขึ้นที่สี่แยกสะพานดำ เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่ศพทั้งสอง ซึ่งสถานที่แห่งนี้ยังคงเหลือนามมาจนถึงทุกวันนี้ (ตัวสะพานไม่มีแล้ว)-* เดือนมกราคม พศ ๒๔๕๒ ยังนับเป็น รศ๑๒๗ อยู่

พระองค์เจ้าภาณุรังษีฯ กับหม่อมแม้น

ข้อมูลจำเพาะ

ด้านหน้า ด้านบนเป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ รูปพระอาทิตย์ขึ้น กำลังทอแสง เปล่ง รัศมี บนผิวน้ำ และมีห่วงเชื่อมติดด้านบน ด้านล่างเป็นรูปหัวใจคู่ มีข้อความจารึกบนหัวใจทั้งสองดวงดังนี้
หัวใจดวงซ้าย : ไว้อาลัยใน พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ศิริวงษ์วัฒนเดช และคุณแม้น
หัวใจดวงขวา : งานพระศพ และศพ ณ วัดเทพศิรินทรวาศ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๗ 
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีข้อความ และลวดลายใดๆ
ชนิด เงิน และเงินกะไหล่ทอง
ขนาด กว้างประมาณ ๑.๙ ซม

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด