Categories
Event

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕

จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
ได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมาก
และเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้น
และในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”
.
เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของ
เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕
มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกัน
เพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

EP2 | เหรียญที่ระลึก การแสดงรูปฉาย วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.๒๔๕๖ (เหรียญวิจิตรฉายา)

ถ้าพูดถึงเรื่องประเทศไทยกับการถ่ายภาพ
นับได้ว่าอยู่คู่กับคนไทยมาร้อยกว่าปีแล้ว
และได้มีการบันทึกเหตุการณ์ บุคคลสำคัญ
ไว้เป็นบันทึกภาพถ่ายมากมาย
.
#เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ตอนที่ 2 ได้นำเสนอความเป็นมาของ
การถ่ายภาพกับประเทศสยามเมื่อครั้นเข้ามาสู่ไทยในยุคแรก
รวมไปถึงบอกเล่าความเป็นมาของการได้รับเหรียญรางวัล
จากการประกวดภาพถ่ายหรือที่รู้จักในนาม
เหรียญที่ระลึก การแสดงรูปฉาย วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.๒๔๕๖
หรือเหรียญวิจิตรฉายา ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง

EP3 | เหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๔๒๔

จากความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและความสูญเสีย จากโรคระบาดในอดีต

จากเหตุการณ์ไหนที่ทำให้มีการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย

และกว่าจะมาเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่เราเห็นกันนั้น
ต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนมามากมายขนาดไหน
ทำไมการมอบเหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๔๒๔
จึงมีความสำคัญทางบันทึกทางประวัติศาสตร์
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบกันผ่านคลิปนี้ด้วยกัน

 EP4 | เหรียญที่ระลึก การเปิดสถานเสาวภา พ.ศ.๒๔๖๕

ในอดีตทีมแพทย์ต้องผ่านการคิดค้น ทุ่มเท และใช้ระยะเวลาในการวิจัยเป็นอย่างมาก
.
เล่าเรื่องผ่านเหรียญในตอน
เหรียญที่ระลึกการเปิดสถานเสาวภา พ.ศ. ๒๔๖๕
จึงอยากนำเสนอบันทึกที่สำคัญทางหน้าประวัติศาสตร์สภากาชาดไทย
กับความก้าวหน้าทางการแพทย์
.
และทำไมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จึงเปรียบเสมือนแสงสว่างในพื้นที่ห่างไกล
มาร่วมรับชมไปพร้อมกันได้ในคลิปนี้

ทำไมการมอบเหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๔๒๔
จึงมีความสำคัญทางบันทึกทางประวัติศาสตร์
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบกันผ่านคลิปนี้ด้วยกัน

EP5 | เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า พ.ศ. ๒๔๗๕

กว่าจะมาเป็นสะพานพุทธที่เราได้ใช้งานกัน
ในสมัยก่อนนั้นการคมนาคมอาจจะยังไม่ได้มีหลากหลายนัก
การที่ผู้คนสองฝั่งจะไปมาหาสู่กันก็ค่อนข้างยากลำบาก
การสร้างสะพานพุทธในช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 นั้น
นอกจากจะเป็นการเชื่อมการคมนาคมระหว่าง
คนฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีเข้าไว้ด้วยกันแล้ว
ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางการค้าขายของผู้คนสองฝั่งอีกด้วย
.
เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ตอน เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า พ.ศ. ๒๔๗๕
จึงอยากนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ที่หาชมได้ยาก
และที่มาก่อนจะมาเป็นสะพาะพุทธให้ทุกท่านได้รับชมกัน

EP6 | รางวัลสวนครัว

 ในอดีตผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศไทย อาศัยอยู่ใกล้ริมน้ำ การสัญจรทางเรือ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง และการปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ถือเป็นหนึ่ง เรื่องที่ผู้คนให้ความสำคัญอีกเช่นเดียวกัน 

EP7 | เหรียญปราบฮ่อ  

มหากาพย์ สงครามปราบฮ่อเป็นอีกหนึ่งเรื่องราว ที่หลายท่านให้ความสนใจกันทั้งในแง่ ประวัติศาสตร์รวมถึงเรื่องราวของเหรียญ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักสะสม . เล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP7 ตอน เหรียญปราบฮ่อ จะพาทุกท่านตามรอยมหากาพย์สงครามครั้งนั้น ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง และทำไมถึงต้องมีการ สร้างเหรียญปราบฮ่อขึ้นมา

EP8 | เหรียญหมู

หากพูดถึงฟาแบร์เช่ หลายท่านคงเคยนึกถึงเรื่องราวของอัญมณีที่ล้ำค่าและมีชื่อเสียงจากทั่วทุกมุมโลก .

เล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP8 ตอนเหรียญหมู

จึงได้นำเสนอเรื่องราวที่มาของเหรียญนี้ ความสำคัญในการสร้าง

รวมถึงเกร็ดน่ารู้ ของฟาแบร์เช่กับราชสำนักสยาม .

‼️‼️ พลาดไม่ได้ ‼️‼️

กับไฮไลท์ส่องเหรียญหมู

✅แท้ ❌ปลอม ดูยังไง…

 

EP9 | เหรียญที่ระลึกเสด็จประพาสยุโรป

การเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อเจริญไมตรีสัมพันธ์กับประเทศในยุโรป และทำให้ไทยยังรักษาเอกราชของบ้านเมืองไว้ได้จนถึงทุกวันนี้ .

เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ตอน เหรียญที่ระลึกเสด็จประพาสยุโรป

จึงได้นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจในการสร้างเหรียญนี้ และภาพประวัติศาสตร์ที่หาชมได้ยาก มาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้ชมกัน .

‼️‼️ พลาดไม่ได้ ‼️‼️

กับไฮไลท์ส่องเหรียญประพาสยุโรป

✅แท้ ❌ปลอม ดูยังไง…

 

EP10 | เหรียญงานพระราชสงครามทวีปยุโรป

ทุกความเสียสละของวีรชนคนกล้าหาญ ย่อมมีบันทึกที่สำคัญทางหน้าประวัติศาสตร์ . เล่าเรื่องผ่านเหรียญ

EP10 เหรียญงานพระราชสงครามทวีปยุโรป จึงอยากนำเสนอเรื่องราวช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้นเมื่อทหารอาสาไทยต้องไปรบในทวีปยุโรป เหตุการณ์ไหน ที่ทำให้ไทยได้รับการยอมรับจาก นานาชาติ และทำไมเหรียญนี้จึงมีความสำคัญทางหน้าประวัติศาสตร์โลก

 

EP11 | เหรียญหนวด เหรียญช้างสามเศียร พ.ศ.๒๔๕๓

เหรียญหนวด หรือ เหรียญช้างสามเศียร เป็น 1 ในเหรียญที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทำให้เหรียญนี้ได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเหรียญที่นักสะสมหลายๆ ท่าน ต่างหมายปอง อยากได้ไว้ในครอบครอง แต่แน่นอน ว่าเมื่อได้รับความนิยมมากขนาดนี้ ก็ต้องมีของเลียนแบบมากเป็นธรรมดา

ในตอนนี้ของเล่าเรื่องผ่านเหรียญ จะพาทุกท่านไปรู้จักับทุกรายละเอียดของ เหรียญหนวด หรือ เหรียญช้างสามเศียร

ว่ามีลักษณะอย่างไร ถึงจะเรียกได้ว่า ถูกต้องตามตำรา โดยเราได้รับเกียรติจาก #อาจารย์เจมส์ แห่ง #Siamcoin มาเป็นผู้ให้ข้อมูล

ติดตามได้ใน

เล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP11 เหรียญหนวด เหรียญช้างสามเศียร พ.ศ.๒๔๕๓

 

EP12 | เหรียญ ส พ ป ม จ ๕

รัชสมัยของ รัชกาลที่ 5 เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

นำพาประเทศสยาม สู่การพัฒนาครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยพระวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และทันสมัย

สำหรับ เล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP12 นี้ ทางทีมงานได้นำเรื่องราวของเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่ 5 หรือ เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ ในการประกวดซุ้มไฟ โคมประทีป ในงานเฉลิมพระชนมายุ 17 พรรษา มานำเสนอให้ทุกท่านได้รับชมกัน

 

EP13 | เหรียญที่ระลึกการแสดงตำนานเสือป่า

หากพูดถึงเรื่องตำนานเสือป่า หลายท่านอาจเคยได้ยินเรื่องราวกันมาบ้าง นอกจากจะเป็นเรื่องราวที่มีความเป็นมาที่น่าสนใจทางบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ไทยแล้ว หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจอีกหนึ่งเรื่องคือ สิ่งสะสมที่เกี่ยวกับกิจการลูกเสืออีกนับไม่ถ้วน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่หลายท่านให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

เล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP13 เหรียญที่ระลึกการแสดงตำนานเสือป่า จึงได้เล่าเรื่องราวของ ตำนานเสือป่า และภาพที่หาชมได้ยาก รวบรวมมาให้ทุกท่านได้ชมกัน

 

EP14 | หรียญที่ระลึกสมโภชพระพุทธนรสีห์

การทำนุบำรุงศาสนาถือเป็นสิ่งที่เราปฏิบัติกันสืบมาเป็นระยะเวลานาน ครั้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยนั้นถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีการพัฒนาก้าวหน้าในทุกด้าน รวมถึงด้านการบำรุงศาสนาด้วย

สำหรับ เล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP14

ตอน เหรียญที่ระลึกสมโภชพระพุทธนรสีห์ ได้นำเกร็ดน่ารู้ที่เกี่ยวข้องกับเหรียญนี้ มาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้รับชมกัน

 

EP15 | เหรียญโกษาปาน 

ในอดีตราชสำนักสยามได้มีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับนานาประเทศมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เหรียญที่ระลึกพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ รับพระยาโกษาธิบดี (ปาน) พ.ศ.๒๒๒๙

ในเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP15 จึงได้นำเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับเหรียญนี้มาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้ชมกัน มาร่วมค้นหาไปพร้อมกันว่า เหตุใดประเทศฝรั่งเศสจึงให้การยอมรับเจ้าพระยาโกษาปาน และทำไมจึงนำเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์สำคัญมาอยู่บนเหรียญ ติดตามชมพร้อมกัน

 

EP16 | เหรียญบรรณาการ

ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 มีการเซนต์สนธิสัญญาบาวริ่ง ซึ่งเป็นการเปิดตลาดการค้ากับต่างประเทศแบบสมัยใหม่ ชาวต่างประเทศได้เดินทางเข้ามาค้าขายในประเทศไทยมากขึ้น จนเศรฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เงินตราในสมัยนั้นเกิดไม่เพียงพอ จึงทำให้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา

เล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP16 ตอน เหรียญบรรณาการ จึงได้นำเกร็ดน่ารู้ของเหรีญนี้มาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้ชมกัน

 

EP17 | เหรียญแต้เม้งทงป้อ

เทปบันทึกการถ่ายทอดสด

เล่าเรื่องผ่านเหรียญ LIVE TALK!!

ที่จะมาเจาะลึกทุกรายละเอียดกับ 💥เหรียญแต้เม้งทงป้อ💥

โดยผู้ที่มาถ่ายทอด ทางรายการได้รับเกียรติจาก น.พ.ไชยยศ พงศ์จารุสถิต ผู้แต่งตำรากษาปณ์เมืองสยามและคู่มือเหรียญกษาปณ์ไทย พบกับการถ่ายทอดเรื่องราวสุดพิเศษนี้ได้ในวิดิโอนี้

ออกอากาศเมื่อ

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564 

Categories
พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

 

โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พ.ศ. ๒๕๖๒”

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ลักษณะเป็นเหรียญกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๒ มิลลิเมตร ทำด้วยเงิน ด้านหน้ากลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า

“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ด้านหลังกลางเหรียญมีรูปตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” เบื้องล่างมีข้อความว่า “๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒” ริมขอบเหรียญ

โดยรอบประดับด้วยลายไทยประดิษฐ์ ด้านหน้าขอบนอกเหรียญเบื้องบน มีเลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านหลังขอบนอกเหรียญมีห่วงส าหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบกว้าง ๓๒ มิลลิเมตร มีริ้วสีขาวนวลกับริ้วสีเหลืองสลับกัน ริ้วสีขาวนวลเป็นสีแสดงถึงวันพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามจันทรคติ ริ้วสีเหลืองเป็นสี

มาตรา ๔ บุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้

มาตรา ๕ การประดับเหรียญนี้ให้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะประดับโดยใช้ห้อยคอหรือโดยใช้เป็นเข็มกลัดเสื้อโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

มาตรา ๖ ให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างและการจำหน่ายเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒

มาตรา๗ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี)

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ท่านให้แผ่ไพศาลทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ ตลอดจนน้อมนำจิตใจของปวงชนชาวไทยให้แสดงความกตัญญูกตเวทีและความจงรักภักดี อีกทั้งสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกร รวมทั้งเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลของประเทศชาติและราชอาณาจักร สมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

ข้อมูลจำเพาะ

ชนิดโลหะ เงิน

จำนวนการผลิต 5 แสนเหรียญ 

Categories
พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562

ข้อมูลจำเพาะ

ชนิดโลหะ เงิน

ความบริสุทธิ์ 92.5%

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม

(ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) Uncategorized

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด แต่สันนิษฐานว่ามีจำนวนไม่มากนัก ตามบันทึกของหมอสมิธ กล่าวไว้ว่าเนื้อทองแดง ซึ่งคงเป็นรางวัลที่3 มีการตีพิมพ์เพียง 20 อันเท่านั้น อนึ่งคำว่า ส พ ป ม จ ๕ นั้นหมายถึง “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่๕” ทางด้านหน้าเหรียญ เป็นลายดุนนูนรูปพระเกี้ยว ประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า กระหนาบด้วยฉัตรห้าชั้นทั้งสองข้าง

 

อนึ่ง เหรียญนี้เป็นเหรียญที่ค่อนข้างหายากเนื่องจากมีจำนวนไม่มาก จึงต้องใช้ความระมัดระวัง ถ้าจะหามาสะสม เนื่องจากมีของปลอมในตลาดค่อนข้างมาก ลักษณะที่เป็นธรรมชาติอย่างหนี่งของเหรียญนี้ก็คือ บริเวณตัวอักษร สพปมจ๕ ที่แกะเป็นตัวยกนี้ จะมีลักษณะเป็นเสี้ยน อยู่ทั้งด้านบนและด้านข้าง บางท่านเรียกว่า Fine Line และขอบเหรียญเป็นลักษณะปั๊มกระบอก

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ภาพด้านล่างเป็นภาพวาดในพระที่นั่งทรงผนวช วัดเบญจมบพิตร แสดงถึง การแต่งประทีปซุ้มไฟประกวดวันเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่๕ ในช่วงต้นรัชกาล


ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นลายดุนนูนรูปพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า กระหนาบด้วยฉัตรห้าชั้นตอนล่างเป็นรูปแถบแพรจารึกปี จุลศักราชที่สร้าง “๑๒๓๒”
ด้านหลัง : เป็นพระปรมาภิไธยย่อตัวนูน “ส พ ป ม จ” ไขว้ขัดกันเหนือ “๕” หมายถึงพระปรมาภิไธย “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕”
ชนิด : เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 45 มิลลิเมตร

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

กลุ่มเหรียญที่ระลึก และเหรียญรางวัล งานฉลองรัฐธรรมนูญ ในปีต่างๆ (ตั้งแต่หลังปีพ.ศ.๒๔๗๕ จนถึงราวกึ่งพุทธกาล)















Categories
Constitution Commemorative Medal Group

กลุ่มเหรียญที่ระลึกงานฉลองรัฐธรรมนูญ

เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ถือเป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมือง การปกครองของสังคมไทย ในบริบทของการเมืองการปกครอง ได้มีการศึกษา วิจัย วิเคราะห์โดยนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกันอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

สำหรับใน website พิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกแห่งนี้ จะขอนำเสนอในแง่มุมของมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมา ซึ่งได้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือเหรียญที่ระลึกในเหตุการณ์พระราชทานรัฐธรรมนูญ และเหรียญที่ระลึก เหรียญรางวัลในงานฉลองรัฐธรรมนูญนั่นเอง

อนึ่ง งานฉลองรัฐธรรมนูญดังกล่าว ตามหลักฐานที่มีปรากฎ ได้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนธันวาคมต่อเนื่องถึงต้นเดือนมกราคม ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๗๕ จนกระทั่งราวกึ่งพุทธกาล ความนิยมจึงค่อยๆลดน้อยลงไป

กลุ่มเหรียญที่ระลึกงานฉลองรัฐธรรมนูญค้นคว้า และ เรียบเรียงโดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

โบว์และเข็มกลัด สำหรับกรรมการจัดงาน

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

เหรียญรัฐธรรมนูญสร้างชาติ

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

เหรียญพระยาพหลพลพยุหเสนา แบบที่ ๒

Categories
Knowledge

รูปงานประกวดการตั้งโต๊ะ ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

รูปงานประกวดการตั้งโต๊ะ ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

              ภาพเหล่านี้ เอื้อเฟื้อโดย คุณกล้วย ผู้สืบทอดความรู้เรื่อง งานประกวดการตั้งโต๊ะ โดยตรงมาจากบรรพบุรุษ

งานประกวดการตั้งโต๊ะ

โต๊ะกอบัวซัดเสมอ

โต๊ะจับฉ่าย แบบ ๑

โต๊ะจับฉ่าย แบบ ๒

โต๊ะจับฉ่ายลายไม่ซ้ำ แบบ ๓

โต๊ะแป๊ะเต๋ง

โต๊ะหลวง

แพรบอกรางวัล ผ้าหน้าโต๊ะ

ห้องพระ

เหรียญรางวัล + ใบพร(ใบเหีย)

ขวดรูปน้ำเต้าปักเปลวเพลิง