Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) Uncategorized

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด แต่สันนิษฐานว่ามีจำนวนไม่มากนัก ตามบันทึกของหมอสมิธ กล่าวไว้ว่าเนื้อทองแดง ซึ่งคงเป็นรางวัลที่3 มีการตีพิมพ์เพียง 20 อันเท่านั้น อนึ่งคำว่า ส พ ป ม จ ๕ นั้นหมายถึง “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่๕” ทางด้านหน้าเหรียญ เป็นลายดุนนูนรูปพระเกี้ยว ประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า กระหนาบด้วยฉัตรห้าชั้นทั้งสองข้าง

 

อนึ่ง เหรียญนี้เป็นเหรียญที่ค่อนข้างหายากเนื่องจากมีจำนวนไม่มาก จึงต้องใช้ความระมัดระวัง ถ้าจะหามาสะสม เนื่องจากมีของปลอมในตลาดค่อนข้างมาก ลักษณะที่เป็นธรรมชาติอย่างหนี่งของเหรียญนี้ก็คือ บริเวณตัวอักษร สพปมจ๕ ที่แกะเป็นตัวยกนี้ จะมีลักษณะเป็นเสี้ยน อยู่ทั้งด้านบนและด้านข้าง บางท่านเรียกว่า Fine Line และขอบเหรียญเป็นลักษณะปั๊มกระบอก

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ภาพด้านล่างเป็นภาพวาดในพระที่นั่งทรงผนวช วัดเบญจมบพิตร แสดงถึง การแต่งประทีปซุ้มไฟประกวดวันเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่๕ ในช่วงต้นรัชกาล


ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นลายดุนนูนรูปพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า กระหนาบด้วยฉัตรห้าชั้นตอนล่างเป็นรูปแถบแพรจารึกปี จุลศักราชที่สร้าง “๑๒๓๒”
ด้านหลัง : เป็นพระปรมาภิไธยย่อตัวนูน “ส พ ป ม จ” ไขว้ขัดกันเหนือ “๕” หมายถึงพระปรมาภิไธย “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕”
ชนิด : เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 45 มิลลิเมตร

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

กลุ่มเหรียญที่ระลึก และเหรียญรางวัล งานฉลองรัฐธรรมนูญ ในปีต่างๆ (ตั้งแต่หลังปีพ.ศ.๒๔๗๕ จนถึงราวกึ่งพุทธกาล)















Categories
Constitution Commemorative Medal Group

กลุ่มเหรียญที่ระลึกงานฉลองรัฐธรรมนูญ

เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ถือเป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมือง การปกครองของสังคมไทย ในบริบทของการเมืองการปกครอง ได้มีการศึกษา วิจัย วิเคราะห์โดยนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกันอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

สำหรับใน website พิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกแห่งนี้ จะขอนำเสนอในแง่มุมของมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมา ซึ่งได้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือเหรียญที่ระลึกในเหตุการณ์พระราชทานรัฐธรรมนูญ และเหรียญที่ระลึก เหรียญรางวัลในงานฉลองรัฐธรรมนูญนั่นเอง

อนึ่ง งานฉลองรัฐธรรมนูญดังกล่าว ตามหลักฐานที่มีปรากฎ ได้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนธันวาคมต่อเนื่องถึงต้นเดือนมกราคม ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๗๕ จนกระทั่งราวกึ่งพุทธกาล ความนิยมจึงค่อยๆลดน้อยลงไป

กลุ่มเหรียญที่ระลึกงานฉลองรัฐธรรมนูญค้นคว้า และ เรียบเรียงโดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

โบว์และเข็มกลัด สำหรับกรรมการจัดงาน

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

เหรียญรัฐธรรมนูญสร้างชาติ

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

เหรียญพระยาพหลพลพยุหเสนา แบบที่ ๒

Categories
พ.ศ.๒๔๐๗ เหรียญแต้เม้งทงป้อ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเหรียญแรกของไทย

พ.ศ.๒๔๐๗ เหรียญแต้เม้งทงป้อ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเหรียญแรกของไทย

พ.ศ.๒๔๐๗ เหรียญแต้เม้งทงป้อ เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของไทย

ในปีพุทธศักราช ๒๔๐๗ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญเฉลิมพระชันสา เป็นชนิดทองคำอย่างหนึ่ง เงินอย่างหนึ่ง มีน้ำหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัมเท่ากับจำนวนพระชนมายุของพระองค์ เพื่อพระราชทานเป็นที่ระลึก และโปรดเกล้าฯ ให้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเนื่องจากเหรียญนี้มีอักษรจีนอยู่ด้านหลัง อ่นออกเสียงสำเนียงแต้จิ๋วว่า “ แต้ เม้ง ทง ป้อ ” ซึ่งแปลว่าเงินตราของแต้เม้ง ซึ่งเป็นพระนามภาษาจีนของรัชกาลที่ ๔ ทำให้เหรียญนี้ นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าเหรียญแต้ เม้ง ซึ่งเหรียญนี้นับได้ว่า นอกจากจะเป็นทั้งเหรียญกษาปณ์ (คือมีราคาหน้าเหรียญ ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ) แล้วก็ยังถือว่าเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของไทยอีกด้วย นอกจากนี้เหรียญนี้ยังมีความพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ทรงโปรดฯ ให้มีพระบรมราชานุญาต นำไปใช้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้อีกด้วย

อนึ่ง พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานี้ เพิ่งเริ่มมีเป็นทางการครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ เนื่องด้วยผู้คนแต่เก่าก่อน มีคติความเชื่อว่าหากผู้ใดรู้วัน เดือน ปีเกิดของตนแล้ว อาจนำไปประกอบเวทมนต์ ไสยศาสตร์ต่างๆได้ ดังนั้นพระมหากษัตริย์ในยุคก่อนหน้านี้ จึงมิได้ให้ปรากฏว่าได้มีการเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา แต่อย่างใด

เหรียญที่นำรูปมาลงให้ดูนี้เป็นชนิดเนื้อเงิน มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ และผิวออกสีเงินตามธรรมชาติ

ทางด้านหลัง มีอักษรจีนแสดงไว้ ๔ ทิศ มีลายแก้วชิงดวง และคำว่า “ กรุงสยาม ” อยู่ตรงกลาง

ภาพล่าง เมื่อนำมาเรียงเข้าชุด กับเหรียญกษาปณ์ชนิด ๒บาท ๑บาท ๒สลึง ๑สลึง ๑เฟื้อง และ ๒ไพ นับว่ามีความสวยงามเป็นอย่างมาก อันที่จริงแล้วเหรียญกษาปณ์รัชกาลที่ ๔ ชุดนี้ ถูกออกแบบได้อย่างงดงาม อ่อนช้อย และเรียงเป็นใบเถา ในยุคปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์ชุดนี้ จัดเป็น World Class Collection ที่นักสะสมจากทั่วโลกนิยม และเสาะแสวงหา

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว
ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ ปีพ.ศ.๒๔๐๗ ซึ่งเป็นปีที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา
Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกที่ตีพิมพ์พระบรมรูปของกษัตริย์ไทย

พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกที่ตีพิมพ์พระบรมรูปของกษัตริย์ไทย

 พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกที่ตีพิมพ์พระบรมรูปของกษัตริย์ไทย

เป็นคติความเชื่อของมนุษย์ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า การจำลองรูปภาพของตนลงบนสิ่งใดก็ตาม จะเป็นการบั่นทอนชีวิตของผู้นั้น คตินี้ยังคงเชื่อกันอยู่ในสังคมของผู้เฒ่าผู้แก่ของเราในรอบร้อยปีที่แล้วว่า การฉายรูปจะมีผลทำให้ทำอายุสั้น


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชเจ้า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในพระราชกิจทั้งปวง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อัจฉริยะโดยแท้ รัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓) เรียกได้ว่า “เป็นยุคของการปฏิรูป ( Age of Reform ) หรือยุคของการทำประเทศให้ทันสมัย ( Age of Modernization ) อย่างแท้จริง”

พระองค์ทรงสลัดคติความเชื่อถือเก่าแก่นี้อย่างสิ้นเชิง หลังจากได้ทรงริเริ่มโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกพระปรมาภิไธยย่อ “ส.พ.ป.ม.จ. ๕” เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์แห่งการเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ อันเป็นปีที่ ๒ ของการเสวยราชย์ซึ่งถือว่าเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกแล้วนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔

คราวงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๑๘ พรรษาอันเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หมอบรัดเล ได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๔ ความว่า “เฉลิมพระชันษา ๑๘ ตามประทีป และมีมหรสพเป็นการใหญ่” ในคราวนี้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นอีกเป็นเหรียญที่ ๒ ครั้งนี้ได้ปรากฏพระบรมรูปของพระองค์ท่านเป็นครั้งแรกในประวัติของการสร้างเหรียญที่สมบูรณ์แบบในปีนั้น

อันจะเป็นผลให้ประเทศไทยได้มีเหรียญกษาปณ์ตีพิมพ์พระบรมรูปบนด้านหน้าของเหรียญขึ้นเป็นครั้งแรกในอีก ๕ ปีถัดมา คือเหรียญตราพระบรมรูปในปี พ.ศ ๒๔๑๙

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญหลักแจวเนื้อทองแดง จัดเป็นเหรียญรัชกาลที่๕ที่พบเห็นได้ยากมาก และของปลอมทำได้ใกล้เคียงมาก จึงควรพิจารณาเลือกเหรียญที่ดูง่ายเท่านั้น
พระบรมฉายาลักษณ์ที่ใช้เป็นแบบแกะเหรียญหลักแจว สันนิษฐานว่ารูปนี้น่าจะทรงฉายตอนที่พระชนมายุประมาณ ๑๗ ถึง ๑๘ พรรษา

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักต์ทางด้านซ้ายของเหรียญ เส้นพระเจ้า “ทรงมหาดไทย” หรือ “ทรงหลักแจว” ทรงฉลองพระองค์เสื้อยันต์ และทรงเคร่องราชอิสริยาภรณ์ รอบขอบเหรียญมีตัวอักษรว่า “สมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์บดินทร เทพยมหามงกุฎ พระเจ้ากรุงสยามที่๕”
ด้านหลัง : มีตัวอักษรรอบวงในเหรียญว่า “การเฉลิมพระชนม์พรรษาปีมแมตรีศก ๓ จุลศักราช ๑๒๓๓ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัตจุบันนี้”
ชนิด : ทองคำ เงิน ทองแดง ดีบุก(เหรียญต้นแบบ และเหรียญลองพิมพ์)
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 53 มิลลิเมตร

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว ต้นแบบ เนื้อดีบุก คันพบเพียงสองเหรียญเท่านั้น!

พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว ต้นแบบ เนื้อดีบุก คันพบเพียงสองเหรียญเท่านั้น!

เป็นคติความเชื่อของมนุษย์ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า การจำลองรูปภาพของตนลงบนสิ่งใดก็ตาม จะเป็นการบั่นทอนชีวิตของผู้นั้น คตินี้ยังคงเชื่อกันอยู่ในสังคมของผู้เฒ่าผู้แก่ของเราในรอบร้อยปีที่แล้วว่า การฉายรูปจะมีผลทำให้ทำอายุสั้น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชเจ้า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในพระราชกิจทั้งปวง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อัจฉริยะโดยแท้ รัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓) เรียกได้ว่า “เป็นยุคของการปฏิรูป ( Age of Reform ) หรือยุคของการทำประเทศให้ทันสมัย ( Age of Modernization ) อย่างแท้จริง”

พระองค์ทรงสลัดคติความเชื่อถือเก่าแก่นี้อย่างสิ้นเชิง หลังจากได้ทรงริเริ่มโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกพระปรมาภิไธยย่อ “ส.พ.ป.ม.จ. ๕” เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์แห่งการเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ อันเป็นปีที่ ๒ ของการเสวยราชย์ซึ่งถือว่าเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกแล้วนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔

คราวงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๑๘ พรรษาอันเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หมอบรัดเล ได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๔ ความว่า “เฉลิมพระชันษา ๑๘ ตามประทีป และมีมหรสพเป็นการใหญ่” ในคราวนี้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นอีกเป็นเหรียญที่ ๒ ครั้งนี้ได้ปรากฏพระบรมรูปของพระองค์ท่านเป็นครั้งแรกในประวัติของการสร้างเหรียญที่สมบูรณ์แบบในปีนั้น อันจะเป็นผลให้ประเทศไทยได้มีเหรียญกษาปณ์ตีพิมพ์พระบรมรูปบนด้านหน้าของเหรียญขึ้นเป็นครั้งแรกในอีก ๕ ปีถัดมา คือเหรียญตราพระบรมรูปในปี พ.ศ ๒๔๑๙

เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้เป็นเหรียญต้นแบบเนื้อดีบุก มีความแตกต่างจากเหรียญทั่วไปตรงที่ด้านหลังของเหรียญไม่มีคำว่า “การเฉลิมพระชนม์พรรษาปีมแมตรีศก๓ จุลศักราช๑๒๓๓ เปนปีที่๓ ในรัชกาลปัตจุบันนี้” สันนิษฐานว่าเป็นการสั่งทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯเสนอให้ทรงพิจารณา และเมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆแล้ว จึงผลิตขึ้นเพื่อพระราชทานในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

ด้านหน้า : มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักต์ทางด้านซ้ายของเหรียญ เส้นพระเจ้า “ทรงมหาดไทย” หรือ “ทรงหลักแจว” ทรงฉลองพระองค์เสื้อยันต์ และทรงเคร่องราชอิสริยาภรณ์ รอบขอบเหรียญมีตัวอักษรว่า “สมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์บดินทร เทพยมหามงกุฎ พระเจ้ากรุงสยามที่๕”

ด้านหลัง : มีตัวอักษรรอบวงในเหรียญว่า “การเฉลิมพระชนม์พรรษาปีีมแมตรีีศก ๓ จุลศักราช ๑๒๓๓ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัตจุบันนี้”

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ

ชนิด : ดีบุก(เหรียญต้นแบบ)

ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 53 มิลลิเมตร

อนึ่งเหรียญชนิดนี้ที่เป็นเนื้อดีบุก และมีคำจารึกด้านหลังด้วย ก็ถูกพบเห็นบ้าง แต่รายละเอียดการขึ้นรูปมักจะไม่สู้ชัดเจนนัก
สันนิษฐานว่าเป็นเหรียญที่ใช้ทดลองปรับตั้งแม่พิมพ์ก่อนการผลิตจริง

พระบรมฉายาลักษณ์ที่ใช้เป็นแบบแกะเหรียญหลักแจว สันนิษฐานว่ารูปนี้น่าจะทรงฉายตอนที่พระชนมายุประมาณ ๑๗ ถึง ๑๘ พรรษา

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๖ (จ.ศ.๑๒๓๕) เหรียญที่ระลึกพระราซพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่๒

พ.ศ.๒๔๑๖ (จ.ศ.๑๒๓๕) เหรียญที่ระลึกพระราซพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่๒

พ.ศ.๒๔๑๖ (จ.ศ.๑๒๓๕) เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒

เนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเศก อย่างเป็นทางการเมื่อทรงบรรลุนิติภาวะ มีพระชน มายุ ครบ 20 พรรษา งานพระราชพิธีนี้จัดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พศ 2416 เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ ด้านหน้ามีพระปรมาภิไธยย่อ “จจจ” ส่วนด้านหลังเป็นตราแผ่นดิน ซึ่งมีความหมายเป็นนัยว่าเป็นวาระที่พระองค์ทรงขึ้นปกครองแผ่นดินอย่างเป็นทางการ ตัวเหรียญมีขนาด 66 มม มีชนิดเนื้อเงิน และทองแดงในรูปที่เห็นเป็นเนื้อเงินครับ ด้านหน้าเป็นพระปรมาภิไธยย่อ “จจจ” เหรียญนี้นักสะสมจึงเรียกว่าเหรียญ จจจ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ด้านล่างของตราอาร์มแผ่นดิน มีคาถาซึ่งผูกโดยสมเด็จพระสังฆราช (สา) ซึ่งแปลว่า “ความพร้อมเพรียงของชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ” อนึ่ง ตราอาร์มแผ่นดินนี้ ก็คือแบบเดียวกันกับที่อยู่หลังเหรียญหนึ่งบาท ในรัชสมัยของพระองค์ท่าน

ตัวอย่างเหรียญเพิ่มใหม่

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ภาพถ่ายระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเศกครั้งที่ ๒ ช่วงเดือนพฤศจิกายน ปีระกา พศ ๒๔๑๖
ร.๕ ทรงพระเครื่องต้นพระมหาพิชัยมงกุฎ

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระปรมาภิไธยย่อ “จจจ” อยู่ในวงกรอบ นอกวงกรอบมีข้อความว่า “การบรมราชภิเศก” ในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีรกาเบญจศกศักราช ๑๒๓๕”
ด้านหลัง : เป็นตราแผ่นดิน
ชนิด : เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 66 มิลลิเมตร