Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เหรียญเฉลิมพระสุพรรณบัฏ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ และเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ

พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เหรียญเฉลิมพระสุพรรณบัฏ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ และเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ

พ.ศ.๒๔๓๔ เหรียญ เฉลิมพระสุพรรณบัฏ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ และเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาฉลองพระสุพรรณบัฏแก่ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ และเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ โดยพระราชพิธีนี้จัดขึ้น ณ พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท อนึ่ง สุพรรณบัฏ หมายถึงแผ่นทองที่ใช้จารึกพระนามของเจ้านาย เป็นการเลื่อนพระยศของเจ้านายพระองค์นั้น

เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้ มีทั้งชนิดเนื้อเงิน และทองแดง ในสภาพสวยสมบูรณ์ทั้งสองเหรียญ และ พระนามของเจ้าฟ้า มีจารึกชัดเจนบนหน้าเหรียญ ส่วนสัญลักษณ์ด้านหลังก็เป็นตราประจำแต่ละพระองค์ซึ่งย่อมจะแตกต่างกันไปครับ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ข้อมูลจำเพาะด้านล่างครับ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปบริพัตรสุขุมพันธ์ และเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ ผินพระพักตร์เฉียงเข้าหากัน ทรงเครื่องโสกันต์มีข้อความโดยรอบ วงขอบว่า “ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุดิลก จันทรนิภาพงษมหามกุฏวงษ์นราธิราช จุฬาลงกรณ์นารถราชวโร รสอดุลยยศอุภโตพงษ์ ” “ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ นริศรราชมหามกุฏวงษ์ จุฬาลงกรณนารถนรินทรสยามพิชิตินทรวรากูร สมบูรณพิสุทธิชาติ วิมโลภาษ ” “ พิสุทธินรุตตม รัตนขัตติยราชกุมาร อุภัยปักษ์ อรรควร รัตนขัตติยราชกุมาร ”
ด้านหลัง เป็นตราประจำพระองค์และตราประจำพระราชวงศ์จักรี ที่ด้านบนชิดวงขอบมีข้อความว่า “ ที่รฤกการพระราชพิธี เฉลิมพระสุพรรณบัตร ” ด้านล่างมีข้อความว่า “ รัตนโกสินทรศก ๒๔ ๑๐๐ ”
ชนิด : ทองคำ เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 47 มิลลิเมตร

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เหรียญที่ระลึก งานเฉลิมพระชนมพรรษา ๓๘ พรรษา ร.ศ.๑๑๐

พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เหรียญที่ระลึก งานเฉลิมพระชนมพรรษา ๓๘ พรรษา ร.ศ.๑๑๐

พ.ศ.๒๔๓๔ เหรียญที่ระลึก งานเฉลิมพระชนมพรรษา ร.ศ.๑๑๐

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมมายุครบ ๓๘ พรรษา ในปีรศ ๑๑๐ หรือ ปีพศ ๒๔๓๔ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นเพื่อพระราชทานในงานครั้งนี้ นอกจากนี้ เหรียญนี้ยังเป็นเหรียญรางวัลแก่ผู้ชนะในการประกวดตั้งเครื่องโต๊ะบูชาอีกด้วย เหรียญที่สร้างในปีนี้ ยังคงมีอิทธิพลของศิลปจีนอยู่มาก ดูจากลักษณะของเหรียญที่เป็นทรงแปดเหลี่ยม มีห่วงสองด้าน และยังใช้ตัวอักษรประดิษฐ์ภาษาไทย เลียนแบบตัวอักษรจีนอีกด้วย ทดลองอ่านดูได้ครับ ถ้าอ่านไม่ออกค่อยดูเฉลยในข้อมูลจำเพาะด้านล่าง

เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้เป็นเนื้อทองแดง อยู่ในสภาพยังไม่ได้ใช้งาน สังเกตุรอยเชื่อมหู เป็นตะกั่วแบบโบราณ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ลักษณะจำเพาะ
ลักษณะ : เป็นรูป 8 เหลี่ยม ขอบเรียบ ตรงกลางมีรูสี่เหลี่ยม บางอันมีห่วงทั้งด้านบนและด้านล่าง
ด้านหน้า : มีอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบตัวอักษรจีน โดยรอบว่า “การเฉลิมพระชนมพรรษา”
ด้านหลัง : มีอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบตัวอักษรจีนว่า “ปี รัตนโกสินทร ศ๒๔ ๑๑๐”
ชนิด : เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 44 มิลลิเมตร
สร้าง : พ.ศ. 2434 สร้างเป็นที่ระลึกและพระราชทานเป็นรางวัลในการประกวดเครื่องโต๊ะ ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 38 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2434

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๓๕ (ร.ศ.๑๑๑) เหรียญที่ ระลึกงานโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ ๖)

พ.ศ.๒๔๓๕ (ร.ศ.๑๑๑) เหรียญที่ ระลึกงานโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ ๖)

พ.ศ.๒๔๓๕ เหรียญที่ระลึกงานโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ( รัชกาลที่ ๖ )

เป็นเหรียญที่ระลึก ในพระราชพิธีมหามงคล กาลโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ซึ่งมีพระชนมายุถึง ๑๓ พรรษาแล้ว ในปีร . ศ . ๑๑๑ ซึ่งได้จัดให้มีระหว่างวันที่ ๒๕ ธันวาคม ถึง วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ . ศ . ๒๔๓๕ จากบัญชีตัดจุก ซึ่งเป็นบันทึกรายพระนาม แลนามผู้ซึ่งพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดจุก ระบุไว้ว่า “ วัน ๕ ๑๑ ฯ ๒ ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก ๒๕ จุลศักราช ๑๒๕๔ ( พศ ๒๔๓๕ ) โสกันต์ใหญ่เขาไกรลาศในพระบรมมหาราชวัง ” นับเป็นครั้งที่ ๒๓ ของงานพระราชพิธีโสกันต์ และเป็นลำดับที่ ๑๐๐

พระราชพิธีได้เริ่มในวันที่ ๒๕ ธันวาคม โดย รัชกาลที่ ๕ ทรงฟังสวดมนต์ แล้วก็เสด็จทอดพระเนตร เขาไกรลาศ ซึ่งเป็นภูเขาจำลอง ทำด้วยไม้ไผ่สาน บุด้วยดีบุก เคลือบทอง เงิน นาก และมีการนำเอาไฟฟ้ามาตกแต่งติดตามทางขึ้น ลง และตามไหล่เขา เพื่อให้ดูงดงาม สว่างไสวในเวลากลางคืนอีกด้วย นอกจากนั้น รอบเชิงเขายังมีตุ๊กตาภาพเรื่องรามเกียรติ์ และละครเรื่องต่างๆ ทำด้วยจักรกล ประดับประดา ให้ดูเพลิดเพลิน เป็นของเจ้านายทำฉลองพระเดช พระคุณ เขาไกรลาศนี้ถูกสร้างขึ้น ฌ ที่ทำพิธี คือสนามหญ้า หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

นอกจากนี้ ในงานพระราชพิธีครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นัดผู้ที่เล่นต้นไม้ทั้งปวง นำต้นไม้ของตนมาตั้งประกวดกันให้เป็นเครื่องตกแต่งงดงาม โปรดเกล้าฯ ตั้งกอมมิตตี ( คณะกรรมการตัดสิน ) ตรวจตัดสินให้รางวัล และรางวัลที่จะได้รับพระราชทาน คือเหรียญตราพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ มีอักษรจารึกบอก การมหามงคลพิธีโสกันต์ ศก ๑๑๑ เป็นเหรียญกะไหล่ทอง เงิน และทองแดง ตามลำดับ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙ แผ่นที่ ๔๐ วันที่ ๑ มกราคม ร . ศ . ๑๑๑ ( และจากเรื่อง ประกวดต้นไม้เมื่อสมัย ร . ๕ พ . ศ . ๒๔๓๕ โดย คุณเอนก นาวิกมูล )

เหรียญที่นำมาแสดงให้ดูนี้เป็นชนิดเนื้อเงินกะไหล่ทอง มีสันขอบค่อนข้างหนา ดังรูป

เขาไกรลาสในพระราชพิธีโสกันต์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงเครื่องในระหว่างเสด็จฟังสวดพระพุทธมนต์

ข้อมูลจำเพาะ
ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นรูปตราแผ่นดินริมขอบมีข้อความว่า “ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ”
ด้านหลัง : เป็นช่อดอกไม้ล้อมรอบ ตรงกลางมีข้อความว่า “ การพระราชพิธีมหามงคล กาลโสกันต์ เขาไกรลาศ รัตนโกสินทรศก ๒๕ ”
ชนิด : เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 37 มิลลิเมตร

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๓๕ (ร.ศ.๑๑๑) เหรียญที่ ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ ๕ ๓๙ พรรษา ร.ศ. ๑๑๑

พ.ศ.๒๔๓๕ (ร.ศ.๑๑๑) เหรียญที่ ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ ๕ ๓๙ พรรษา ร.ศ. ๑๑๑

พ.ศ. ๒๔๓๕ เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษา รัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๑๑

ลักษณะ เป็นรูปผ้าพับทบม้วน มีห่วงที่ด้านบนและด้านล่าง
ด้านหน้า มีลายประแจจีนตามริมขอบเหรียญ มีอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบอักษรจีนความว่า “พระราชทานรางวัลเครื่องโต๊ะ ในการเฉลิมพระชนม”

ด้านหลัง มีอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบอักษรจีนความว่า “พรรษา ปีรัตนโกสินทรศก๒๕ ๑๑๑”

สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกและพระราชทานเป็นรางวัลในการประกวดเครื่องโต๊ะในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๓๙ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕

ชนิด : เงินกาไหล่ทอง เงินตะทองริมขอบเหรียญ ทองแดง
ขนาด : กว้าง ๓๘ มิลลิเมตร ยาว ๒๐ มิลลิเมตร
สร้าง : พ.ศ. ๒๔๓๕

Categories
King Rama V พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ. ๑๑๑) เหรียญโรงเรียนราชกุมาร

พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ. ๑๑๑) เหรียญโรงเรียนราชกุมาร

พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ. ๑๑๑) เหรียญโรงเรียนราชกุมาร

โรงเรียนราชกุมาร ได้ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นศึกษาสถานพิเศษสำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ แลหม่อมเจ้าบางพระองค์ จะได้ทรงศึกษาในวิชาต่างๆ มีวิชาหนังสือไทย แลหนังสือภาษาต่างประเทศ แลวิชาเลข วิชาภูมิศาสตร์ เป็นต้น ตามสมควรแก่ขัตติยราชตระกูล ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์ มอรันต์ (รอเบิร์ต แอล. มอรันต์) พระอาจารย์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) เป็นผู้จัดการโรงเรียนนี้ และมีสถานภาพเป็นโรงเรียนพิเศษ มิได้เกี่ยวข้องกับกระทรวงธรรมการดั่งเช่นโรงเรียนอื่นๆ สถานที่ตั้งของโรงเรียน อยู่ที่หลังพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ภายในพระบรมมหาราชวัง

โรงเรียนราชกุมารนี้ เปิดในวันที่ ๗ มกราคม รัตนโกสินทร์ ศก๒๕ ๑๑๑ เวลาเช้า ๓ โมง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทางพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ทรงพระดำเนินขึ้นพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จขึ้นทางบันไดใหญ่ ตรงออกประตูไปประทับที่โรงพัก (พับพลาราชพีธี) นักเรียนซึ่งเข้าแถวยืนประทับพร้อมอยู่ที่นั่น ถวายคำนับแล้วขับพรรณาพระเดชพระคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นทรงเสด็จไปถึงประตูโรงเรียน แล้วทรงชักผ้าที่คลุมแผ่นกระดาษ มีอักษรนามโรงเรียน พระราชทานนามว่า “โรงเรียนราชกุมาร” หลังจากนั้นจึงทอดพระเนตรนักเรียนฝึกหัดออกกำลังกาย ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นักเรียน และพระอาจารีย์ และทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมรูปอย่างใหญ่ กับนาฬิกาพกแก่มิสเตอร์มอรันต์เป็นกำเหน็จ ในตอนค่ำยังมีการเลี้ยง รวมถึงการแต่งกายแบบแฟนซี อีกด้วย (ข้อมูลข้างต้น อ้างอิงจาก ราชกิจจานุเบกษารัชกาลที่๕ เล่ม๙ หน้าที่ ๓๘๑ ถึง ๓๘๒)

“ที่มา สมุดภาพจดหมายเหตุพระราชโอรสแลพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๕๒”

“ค้นคว้าโดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล”

อนึ่ง จากการค้นคว้าเพิ่มเติม พบว่าพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแล้วแต่ผ่านการศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารนี้ ก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเมื่อเจริญพระชนมายุมากขึ้น ในวัยประมาณ ๑๔ ถึง ๑๕ ชันษา นัยว่าโรงเรียนราชกุมาร เปรียบเสมือนโรงเรียนสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศนั้นเอง
เหรียญโรงเรียนราชกุมาร มีลักษณะดังรูป จากการค้นคว้า ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการประกาศใช้ในพระราชกิจจานุเบกษา สันนิษฐานว่าเป็นเหรียญที่พระราชทานแก่นักเรียนในโอกาสที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ หรืออาจเป็นเหรียญรางวัลเรียนดีก็เป็นได้ (ยังไม่สามารถหาข้อมูลมายืนยันได้)

ข้อมูลจำเพาะ

ด้านหน้า: เป็นรูปโล่ห์ มีพระเกี้ยวประดับอยู่ด้านบน ล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์มาลา ด้านล่าง มีแถบโบว์ พร้อมข้อความตรงกลางว่า “ราชกุมาร” ภายในโล่ห์มีตราพระเกี้ยวอยู่ด้านขวาบน ตราจักรีอยู่ด้านซ้ายบน และเป็นรูปหนังสืออยู่ด้านล่างของโล่ห์ เหรียญนี้ประดับพร้อมแพรแถบสีเขียว
ด้านหลัง: เรียบ ไม่มีลวดลายหรือข้อความใดๆ
ขนาด: สูง ๕๕ มิลลิเมตร กว้าง ๓.๖ มิลลิเมตร
ชนิด: เนื้อเงินกะไหล่ทอง (เท่าที่ค้นพบ)

Categories
Royal Order Medal King Rama V พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญรัชฎาภิเษกมาลา หรือเหรียญเปลือย Uncategorized

พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญรัชฎาภิเษกมาลา หรือเหรียญเปลือย

พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา หรือเหรียญเปลือย

The Silver Jubilee Medal
               
ใช้อักษรย่อ ร.ศ. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานเป็นที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเข้าทูลละอองธุลีพระบาท ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เพื่อเป็นที่ระลึกในมหาพิธีมงคลพิเศษสมัยในการพระราชพิธีฉลองสินิราชสมบัติเจริญมาบรรจบครบ ๒๕ ปี วันที่ ๑ ตุลลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และได้พระราชทานในการพระราชพิธีฉัตรมงคลและฉลองพระไตรปิฎกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ อีกคราวหนึ่ง

เหรียญรัชฎาภิเศกมาลามีชนิดเดียว เป็นเหรียญเงิน ด้านหน้ามีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและมีอักษรที่ริมขอบว่า “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรมราชาธิราช”

ด้านหลัง มีอักษรว่า “ที่รฦกการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี วันที่ ๑ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๒๖ ๑๑๒” อยู่ในวงช่อพุทธรักษาและช่อชัยพฤกษ์ มีห่วงร้อย ใช้ห้อยกับแพรแถบสีชมพู มีริ้วสีขาวทั้งสองข้าง กว้าง ๒.๕ เซนติเมตร


สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย สำหรับพระราชทานฝ่ายใน พระราชทานแต่ตัวเหรียญ ไม่มีห่วงห้อย และไม่มีแพรแถบ แต่ทรงพระราชทานเป็นที่ระลึก หรือจะนำมาทำเป็นเครื่องประดับหรือภาชนะ เช่นเข็มกลัด  กำไล ตลับ เป็นต้น สำหรับพระราชทานพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์พระราชทานเหรียญทองแดง
ผู้ออกแบบ : เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย
ปัจจุบันเป็นเหรียญพ้นสมัยพระราชทาน

การพระราชทาน
๑. สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน โดยพระราชทานให้เป็นสิทธิไม่ต้องส่งคืน และพระราชทานเฉพาะในมหามงคลสมัยพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๒ และพระราชพิธี ฉัตรมงคลและฉลองพระไตรปิฎก ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๒
๒. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญต้องไปลงชื่อในสมุดทะเบียนของกระทรวงมุรธาธร จึงจะประดับเหรียญนี้ได้ หากไม่ลงนามในสมุดทะเบียนฯ จะประดับเหรรียญนี้ไม่ได้ ถือว่าเป็นเหรียญปลอม มิใช่ของพระราชทาน
๓. เมื่อผู้ได้รับพระราชทานสิ้นชีวิตแล้ว ผู้ได้รับมรดกเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกสืบไป แต่ไม่มีสิทธิประดับ

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญจักรพรรดิมาลา หรือเหรียญปรนนิบัติราชการดี

พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญจักรพรรดิมาลา หรือเหรียญปรนนิบัติราชการดี

พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญจักรพรรดิมาลา หรือเหรียญปรนนิบัติราชการดี

ในวาระสมโภชศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ในปีร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเหรียญจักรพรรดิมาลา ขึ้น แต่ยังมิได้มีการประกาศเป็นพระราชบัญญัติ และยังมิได้มีการพระราชทานแก่ผู้ใด
จนกระทั่งวันที่ ๓ มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก๒๘ ๑๑๔ (พ.ศ.๒๔๓๘ นับวันขึ้นปีใหม่แบบเดิม) ในการพระราชพิธีสมโภชศิริราชสมบัติ เสมอเท่ารัชกาลที่ ๑ ครองราชย์ครบ ๑๐๐๑๕ วัน
และนับเป็นปีครองราชย์ ขึ้นปีที่ ๒๘ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติให้เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ปฏิบัติราชการดีทั่วไปไม่มีกำหนดขีดคั่นอย่างใด

เนื้อหาหลักตามความที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๒ หน้า ๔๘๐ ถึง ๔๘๑ มีดังนี้…

…..มีพระบรมราชโองการ ดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่าเหรียญเครื่องประดับอย่างหนึ่ง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแต่เมื่อการพระราชพิธีรัชฎาภิเศก สมโภชศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ในรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ นั้น ยังหาได้มีประกาศพระราชบัญญัติ สำหรับกับเหรียญเครื่องประดับนั้นไม่ โดยยังไม่มีโอกาศที่จะพระราชทานผู้ใดในสมัยนั้นและในคราวนั้น ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิศริยาภรณ์ทั้งปวงแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อย และเป็นที่รฦกของกาลสมัยอันนั้นอยู่แล้ว บัดนี้ถึงสมัย ซึ่งได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาเสมอเท่ารัชกาล แห่งสมเด็จพระบรมมหาปัยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ อันเสด็จดำรงศิริราชสมบัติ ในกรุงเทพมหานครนี้ มีกาลยาวที่สุด ไม่มีรัชกาลอื่นจะยาวยิ่งกว่านั้น สมควรที่จะประกาศพระราชบัญญัติ สำหรับเหรียญเครื่องประดับนี้ ให้เป็นที่รฦกในมหามงคลสมัยอันนี้สืบไป

จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสเหนือเกล้าฯ เฉพาะเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ให้ตราพระราชบัญญัตินี้ไว้เป็นแบบฉบับ สำหรับปกครองเหรียญเครื่องประดับอันนี้ โดยมาตราทั้งหลายดังจะว่าต่อไปนี้

มาตรา ๑ เหรียญเครื่องประดับนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่าเหรียญจักรพรรดิมาลา


มาตรา ๒ เหรียญจักรพรรดิมาลา นี้มีสัณฐานเป็นรูปจักร ด้านหน้ามีพระบรมราชสาทิศฉายาลักษณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาพิไชยมงกุฎ ยอดมีรัศมีและพวงมาไลใบไชยพฤกษ์วงโดยรอบ ที่ขอบจักรมีอักษร แสดงพระบรมราชนามาภิไธยว่า “จุฬาลงกรณ์ บรมราชาธิราช สยามินทร์” ด้านหลังที่ขอบจักร มีอักษรแสดงคุณของผู้ที่จะได้รับพระราชทาน และแสดงศกที่ได้ทรงสร้างเหรียญนี้ว่า “สำหรับปรนนิบัติราชกาลดี รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒” ที่กลางเหรียญมีอักษรว่า “พระราชทานแก่” และจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้ที่จะได้พวงมาไล อันมีช่อดอกไม้รับรองอยู่นั้น เหรียญนี้จะได้ห้อยแพรแถบสีเหลืองริมชมภู ห้อยกับเข็มอันมีอักษรจารึกว่า “ราชสุปรีย์” สำหรับติดที่รังดุมเสื้อ ณ อกข้างซ้าย


มาตรา ๓ เหรียญจักพรรดิมาลานี้ไม่มีกำหนดจำนวนชั้นสูงและต่ำ จะพระราชทานเสมอทั่วหน้ากัน ตามคุณพิเศษและความดีความชอบ ตัวเหรียญนั้นจะเป็นทองคำแท้ ฤๅเงินก้าใหล่ทอง เงินเปล่า ก็แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน คงเป็นชั้นชนิดมีเกียรติยศอย่างเดียวกันทั้งนั้น


มาตรา ๔ เหรียญจักรพรรดิมาลานี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้ปรนนิบัติราชกาลดี ตั้งแต่ผู้มีอิศริยศักดิ์ตลอดลงไปจนถึงไพร่เสมอทั่วหน้ากันตานแต่พระบรมราชอัธยาไศรย์ ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้ใด


มาตรา ๕ เหรียญจักรพรรดิมาลานี้เมื่อพระราชทานแก่ผู้ใด จะได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้นั้นลงในที่สำหรับจารึกอันกล่าวแล้วนั้น ไม่ต้องมีประกาศนียบัตร แล้วจะได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ว่าได้พระราชทานแก่ผู้นั้น และจดบาญชีชื่อตัวชื่อตั้ง และวันเดือนศกและความดีความชอบ ที่ได้ปรนนิบัติราชกาลดีนั้น ไว้ในสมุดสารบบสำหรับเหรียญจักพรรดิมาลานี้ สำหรับแผ่นดินสืบไป


มาตรา ๖ เหรียญจักพรรดิมาลานี้พระราชทานให้เปนสิทธิ์ แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานนั้น เมื่อผู้นั้นล่วงลับไปแล้วก็ไม่ต้องส่งคืน คงพระราชทานให้เป็นที่รฦกแก่ผู้รับมรดกต่อไป


มาตรา ๗ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดที่ได้รับพระราชทาน เหรียญจักพรรดิมาลานี้……

อนึ่ง ในพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ.๑๓๐ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ หน้า ๑๙๘ ถึงหน้า ๒๐๑ ) ได้มีการอ้างอิงความย้อนหลังไว้ในย่อหน้าแรก ว่า ตามพระราชประสงค์เดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ปฏิบัติราชการดีทั่วไปไม่มีกำหนดขีดคั่น แต่ตามพระราชนิยมที่พระราชทานชั้นหลังนั้น สำหรับพระราชทานผู้ที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร์ขุนนางครบ ๒๘ ปี เป็นบำเหน็จที่รับราชการยั่งยืนมั่นคงยาวนาน นัยว่าเนื่องจากได้เริ่มพระราชทานในปีที่ทรงครองราชย์ยาวนานเสมอพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (๒๘ ปี)

จากการค้นคว้าในราชกิจจานุเบกษา ที่เกี่ยวเนื่องกับการพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม รศ๑๑๔ ซึ่งเป็นวันที่เริ่มพระราชทานครั้งแรก จนถึง ๒๐ กันยายน รศ๑๒๙ ซึ่งเป็นการพระราชทานครั้งสุดท้ายก่อนสววรคตได้ไม่นาน  พบหลักฐานการพระราชทาน รวบรวมเป็นสถิติได้ดังนี้ (รายชื่อและจำนวนผู้รับพระราชทานอาจมีตกหล่นได้บ้างเล็กน้อย แต่อยู่ในราว สองร้อยคนเศษ อย่างแน่นอน)

ประเภทจำนวนผู้รับจำนวนครั้งที่พระราชทาน
เงินแช่ทอง332
ก้าไหล่ทอง2010
ทอง62
เงิน7711
ไม่ระบุ8624
รวม22249

อนึ่ง เหรียญจักรพรรดิมาลาสมัยรัชกาลที่๕นี้ ถึงแม้ว่าจำนวนการพระราชทานจะไม่มากนัก (เนื่องจากผู้ที่ได้รับพระราชทานต้องรับราชการด้วยความชอบ เป็นระยะเวลายาวนานถึง๒๘ปี) แต่ช่วงเวลาของการพระราชทาน นับแต่มีการตราพระราชบัญญัติฯ ตั้งแต่ปีร.ศ.๑๑๔ ถึง กันยายน ร.ศ.๑๒๙ ก็ถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร และน่าจะมีการสั่งผลิตเหรียญนี้มาหลายครั้งหลายlots จากการตรวจสอบเหรียญแท้ที่พบในปัจจุบัน โดยสอบทานตามหลักฐานชื่อผู้รับพระราชทานที่มีปรากฎอยู่ (เหรียญที่พระราชทานแล้ว จะมีชื่อผู้รับพระราชทาน จารด้วยลายมืออยู่ด้านหลังเหรียญ) พอสันนิษฐานได้ว่า เหรียญเงินแช่ทอง, และเหรียญก้าไหล่ทอง (และอาจรวมถึงเหรียญ “ทอง” ด้วย) น่าจะเป็นชนิดที่คล้ายคลึงกัน คือเป็นเนื้อกะไหล่ทอง

   อย่างไรก็แล้วแต่ จากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยนำตัวอย่างเหรียญจักรพรรดิมาลาเหรียญหนึ่ง
ที่มีบันทึกหลักฐานการพระราชทานในราชกิจจานุเบกษาว่าเป็นชนิดเหรียญ”ทอง” จากการวิเคราะห์เนื้อโลหะของเหรียญดังกล่าว โดยเทคนิค XRF (X-Ray Fluorescence ในระดับผิวที่มีความลึกไม่เกิน 100 ไมครอน)
พบว่าเป็นชนิดที่มีเนื้อโลหะหลักเป็นเงิน (Ag) กว่า 88% ผสมกับแร่ทองคำ (Au) มากกว่า 10% โดยมวล และมีข้อสังเกตุว่า ตามบันทึกหลักฐานการพระราชทาน ที่ค้นคว้าได้จากราชกิจจานุเบกษา ก็ยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่าได้มีการพระราชทานเนื้อ “ทองคำแท้” แก่ผู้ใด

   เหรียญจักรพรรดิมาลา สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่เป็นเหรียญแท้นี้ พบเห็น ๒ บล็อค คือบล็อคดอกไม้เต็ม (คือดอกไม้ประดับในวงขอบเหรียญเห็นเป็นกลีบอย่างชัดเจน) และดอกไม้ตื้น และทั้ง๒ บล็อคนี้ มีลักษณะการทำผิวเหรียญแบบพ่นทราย (Sand Blast Finishing) และมีร่องรอยการกัดเฟืองที่วงขอบด้านใน (อันเกิดจากขั้นตอนการทำแม่พิมพ์) ที่เป็นลักษณะเฉพาะเหมือนกัน

คำบรรยายภาพ: ตัวอย่าง บันทึกการพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ที่พิมพ์ไว้ในราชกิจจานุเบกษา

ข้อมูลจำเพาะ:

ด้านหน้า: มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ ยอดมีรัศมีและพวงมาลัยใบชัยพฤกษ์วงรอบ ที่ขอบจักรมีอักษรว่า “จุฬาลงกรณ์บรมราชาธิราช สยามินทร์”

ด้านหลัง:
ที่ขอบจักรมีอักษรแสดงคุณของผู้ที่ได้รับพระราชทาน และแสดงศกที่ทรงสร้างเหรียญนี้ว่า “สำหรับปรนนิบัติราชการดี รัตนโกสินทรศก ๑๑๒” ที่กลางเหรียญมีอักษรว่า “พระราชทานแค” (และจะได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้ที่ได้รับพระราชทานลงในกลางเหรียญที่ให้พวงมาลัยที่มีช่อดอกไม้รองอยู่)

ขนาด:
เหรียญมีลักษณะเป็นรูปจักรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๓ เซนติเมตร ส่วนสูง ๖.๐ เซนติเมตร

การประดับ:
ห้อยกับแพรแถบสีเหลือง ริมชมพู ห้อยกับเข็มมีอักษรว่า “ราชสุปรีย์” สำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญนี้ไม่มีประกาศนียบัตร เพราะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญนี้ไว้ที่กลางเหรียญ และลงบันทึกรายนามผู้รับพระราชทานไว้ในราชกิจจานุเบกษา ทุกครั้ง

ผู้ออกแบบ: เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ในกรมขุนราชสีหวิกรม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๓๖)

ค้นคว้าโดย: พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๓๘ (ร.ศ.๑๑๔) เหรียญที่ระลึกในการครองราชย์รัชกาลที่ ๕ เสมอรัชกาลที่ ๓

พ.ศ.๒๔๓๘ (ร.ศ.๑๑๔) เหรียญที่ระลึกในการครองราชย์รัชกาลที่ ๕ เสมอรัชกาลที่ ๓

พ.ศ.๒๔๓๘ ( รศ. ๑๑๔ ) เหรียญที่ระลึกในการครองราชย์รัชกาลที่ ๕ เสมอรัชกาลที่ ๓

 ลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า ด้านซ้ายเป็นรูปคลายอาร์ม มีพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) เปล่งรัศมีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ซึ่งเป็นพระราชสัญญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านขวารูปคล้ายอาร์มมีพระมหาปราสาท ๓ ยอด บนแท่น ซึ่งเป็นพระราชสัญญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างอาร์มทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างเป็นรูปช่อใบไม้ ๓ ใบ ทางด้านซ้ายและขวาเป็นรูปกิ่งไม้ ริมขอบในเป็นจุดโดยรอบ

ด้านหลัง มีข้อความว่า

“ที่รฤก
รัชกาลที่ ๕
เสมอด้วย
รัชกาลที่ ๓ รัตน
โกสินทรศก๒๘
๑๑๔”

ใน พ.ศ. ๒๔๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ในราชสมบัติเป็นเวลา ๒๗ ปี ซึ่งเท่ากับระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๓

ชนิด เงิน
ขนาด 
กว้าง ๒๓ มิลลิเมตร ยาว ๒๓ มิลลิเมตร
สร้าง 
พ.ศ. ๒๔๓๘

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๓๘ (ร.ศ.๑๑๔) เหรียญที่ ระลึกในการครองราชย์รัชกาลที่ ๕ เสมอรัชกาลที่ ๑

พ.ศ.๒๔๓๘ (ร.ศ.๑๑๔) เหรียญที่ ระลึกในการครองราชย์รัชกาลที่ ๕ เสมอรัชกาลที่ ๑

พ.ศ. ๒๔๓๘ เหรียญที่ระลึกในการครองราชย์รัชกาลที่ ๕ เสมอรัชกาลที่ ๑

ลักษณะ เป็นรูปรีขอบหยักข้างทั้ง ๒ ข้าง ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า ทางซ้ายเป็นรูปอาร์มมีพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) เปล่งรัศมีประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า ซึ่งเป็นพระราชสัญญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางขวาเป็นรูปอาร์มมีปทุมอุณาโลมเปล่งรัศมีประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า ซึ่งเป็นพระราชสัญญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ระหว่างอาร์มทั้งซ้ายขวาเป็นรูปอุณาโลม

ด้านหลัง มีข้อความว่า


“ที่ฤก
รัชกาล
ที่ ๕
เสมอด้วยรัชกาล
ที่ ๑ รัตนโกสินทร์
ศก๒๘ ๑๑๔

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ขณะทรงมีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงอยู่ในราชสมบัติเป็นเวลา ๒๗ ปี ซึ่งเท่ากับระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงครองราชย์ นับจำนวนวันได้ ๑๐,๐๑๕ วัน เท่ากัน ณ วันที่ ๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๔ พ.ศ. ๒๔๓๙ (ปฎิทินปัจจุบัน) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๑

ชนิด เงิน
ขนาด 
กว้าง ๒๓ มิลลิเมตร ยาว ๓๔ มิลลิเมตร
สร้าง 
พ.ศ. ๒๔๓๘

Categories
King Rama V พศ ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) เหรียญที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองพระองค์

พศ ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) เหรียญที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองพระองค์

พศ ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) เหรียญที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองพระองค์ ร.ศ. ๑๑๖

ทำขึ้นเป็นที่ระลึกในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรกในปี ร.ศ. ๑๑๖ พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่งในระหว่างที่พระองค์เสด็จนิราศจากพระนครนั้น ทรงโปรดฯให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทรงดำรงพระยศเท่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ร.ศ. ๑๑๖ (ขึ้นปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ตามปฎิทินปัจจุบันที่ขึ้นปีใหม่ ณ วันที่ ๑ มกราคม) ได้มีงานสมโภชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เสด็จกลับจากยุโรป และ สมโภชสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงรักษาราชการแผ่นดินได้เรียบร้อยงานนี้จัดขึ้นที่บริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ต่อสวนเจ้าเชตุ มีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารราชทูตชาวต่างประเทศร่วมงานถึง ๗๕๐ ท่าน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ทรงประทานเหรียญนี้แก่ผู้ร่วมงานในจดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖ ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์

Ref :  พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖ เล่ม ๖ , องค์การค้าของคุรุสภา ๒๕๑๕

Note : ความเข้าใจเดิมที่ว่าเหรียญนี้มีชื่อว่าเหรียญที่ระลึกสว่างวัฒนานั้น

  1. เดิมพระนางเจ้าสว่างวัฒนาทรงดำรงพระยศเป็นพระวรราชเทวี (เหรียญเนชันแนลเอกษหิบิชั่น จ.ศ. ๑๑๔๔) องค์อัครมเหษี แต่เมื่อเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร พระโอรสของพระองค์ได้มาเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ แล้วต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี(พระมารดาของเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าองค์ใหญ่) เป็นพระอัครมเหษีแทนพระนางเจ้าสว่างวัฒนา
  2. ในปีร.ศ. ๑๑๖ นั้น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมราชินีนาถสำเร็จราชการแทนพระองค์