รายนามพระยายืนชิงช้า

สมัยรัชกาลที่ ๕

๑) พ.ศ. ๒๔๑๑ พระยาสีหราชเดโชชัย ( พิณ )
๒) พ.ศ. ๒๔๑๒ พระยาสีหราชฤทธิไกร ( บัว รัตโนบล )
๓) พ.ศ.๒๔๑๓ พระยาราชสุภาวดี ( เพ็ง เพ็ญกุล ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง
๔) พ.ศ. ๒๔๑๔ พระยามหาอมาตยาธิบดี ( มั่ง สนธิรัตน์ ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี
๕) พ.ศ. ๒๔๑๕ พระยามหาอำมาตยาธิบดี( ชื่น กัลยาณมิตร )
๖) พ.ศ. ๒๔๑๖ พระยาธรรมสารนิติ ( พลับ อมาตยกุล )
๗) พ.ศ.๒๔๑๗ พระยาราชวรานุกูล ( บุญรอด กัลยาณมิตร ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาพลเทพ และเป็นเจ้าพระยารัตนบดินทร์
๘) พ.ศ. ๒๔๑๘ พระยากระษาปณกิจโกศล ( โหมด อมาตยกุล )
๙) พ.ศ. ๒๔๑๙ พระยาศรีสหเทพ ( หรุ่น ศรีเพ็ญ ) ภายหลังเป็น พระยามหาอำมาตยาธิบดี
๑๐) พ.ศ. ๒๔๒๐ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ( พุก โชติกพุกกณะ )
๑๑) พ.ศ. ๒๔๒๑ พระยาจ่าแสนย์บดี ( เดช )
๑๒) พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร ( เผือก เศวตนันท์ )
๑๓) พ.ศ. ๒๔๒๓ พระยานานาพิพิธภาษี ( โต บุนนาค )
๑๔) พ.ศ. ๒๔๒๔ พระยารัตนโกษา ( จีน จารุจินดา ) ภายหลังเป็นพระยาเพชรพิชัย
๑๕) พ.ศ. ๒๔๒๕ พระยาราชวรานุกูล ( เวก บุณยรัตพันธ์ ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช
๑๖) พ.ศ. ๒๔๒๖ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ( เถียร โชฏิกเสถียร )
๑๗) พ.ศ.๒๔๒๗ พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชื่น บุนนาค )
๑๘) พ.ศ. ๒๔๒๘ พระยาอนุชิตชาญชัย ( พึ่ง สุวรรณทัต )
๑๙) พ.ศ. ๒๔๒๙ พระยามณเฑียรบาล ( คง สโรบล )
๒๐) พ.ศ. ๒๔๓๐ พระยาธรรนสารนิติ ( ตาด อมาตยกุล )
๒๑) พ.ศ. ๒๔๓๑ พระยาเกษตรรักษา ( นิล กมลานนท์ )
๒๒) พ.ศ. ๒๔๓๒ พระยาอิศรานุภาพ ( เอี่ยม บุนนาค )
๒๓) พ.ศ. ๒๔๓๓ พระยามหามนตรี ( เวก ยมาภัย ) ภายหลังเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์
๒๔) พ.ศ. ๒๔๓๔ พระยาพระยาสีหราชเดโชชัย ( โต บุนนาค ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์
๒๕) พ.ศ. ๒๔๓๕ พระยาพิชัยบุรินทรา ( ฉ่ำ บุนนาค ) ภายหลังเป็นพระยากลาโหมราชเสนา
๒๖) พ.ศ. ๒๔๓๖ พระยาไกรโกษา ( เทศ ภูมิรัตน์ )
๒๗) พ.ศ. ๒๔๓๗ พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ( ม.ร.ว. หลาน กุญชร ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์
๒๘) พ.ศ. ๒๔๓๘ พระยาวุฒิการบดี ( ม.ร.ว. คลี่ สุทัศน์ ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร
๒๙) พ.ศ. ๒๔๓๙ พระยาราชวรานุกูล ( อ่วม )
๓๐) พ.ศ. ๒๔๔๐ พระยาศรีพิพัฒน์ ( หงษ์ สุจริตกุล ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาศิริรัตน์มนตรี
๓๑) พ.ศ. ๒๔๔๑ พระยาเพชรพิชัย ( สิงโต )
๓๒) พ.ศ. ๒๔๔๒พระยาอนุชิตชาญชัย ( ทองคำ สีหอุไร ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาสีหราชฤทธิไกร
๓๓) พ.ศ. ๒๔๔๓ พระยาศรีสหเทพ ( เส็ง วิริยสิริ ) ภายหลังเป็นพระยามหาอมาตยาธิบดี
๓๔) พ.ศ. ๒๔๔๔ พระยาทิพยโกษา ( หมาโต โชติกเสถียร )
๓๕) พ.ศ. ๒๔๔๕ พระยาอภัยรณฤทธิ์ ( บุตร บุณยรัตพันธ์ )
๓๖) พ.ศ. ๒๔๔๖ พระยาเทพอรชุน ( เจ๊ก จารุจินดา )
๓๗) พ.ศ. ๒๔๔๗ พระยาอนุชิตชาญชัย ( สาย สิงหเสนี )
๓๘) พ.ศ. ๒๔๔๘ พระยาประสิทธิ์ศัลยการ ( สะอาด สิงหเสนี ) ภายหลังเป็นพระยาสิงหเสนี
๓๙) พ.ศ. ๒๔๔๙ พระยาบำเรอภักดิ์ ( เจิม อมาตยกุล ) ภายหลังเป็นพระยาเพชรพิชัย
๔๐) พ.ศ. ๒๔๕๐ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ( ม.ร.ว. ลบ สุทัศน์ ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร
๔๑) พ.ศ. ๒๔๕๑ พระยาสีหราชเดโชชัย ( ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล )ภายหลังเป็นเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต
๔๒) พ.ศ. ๒๔๕๒ พระยาวิสุทธิ์สุริยศักดิ์ ( ม.ร.ว. เปีย มาลากุล )ภายหลังเป็นเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

สมัยรัชกาลที่ ๖

๑) พ.ศ. ๒๔๕๓ พระยาไพบูลย์สมบัติ ( เดช บุนนาค )
๒) พ.ศ. ๒๔๕๔ พระยารักษ์มหานิเวศน์ ( กระจ่าง บุรณศิริ )
๓) พ.ศ. ๒๔๕๕ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร ( ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี
๔) พ.ศ. ๒๔๕๖ พระยาเวียงในนฤบาล ( เจ๊ก เกตุทัต )
๕) พ.ศ. ๒๔๕๗ พระยาศรีวรุวงศ์ ( ม.ร.ว. จิตร สุทัศน์ )
๖) พ.ศ. ๒๔๕๘ พระยาราชนุกูล ( อวบ เปาโรหิตย์ )
๗) พ.ศ. ๒๔๕๙ พระยาอภัยรณฤทธิ์ ( เชย ยมาภัย ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยายมาภัยพงศ์พิพัฒน์
๘) พ.ศ. ๒๔๖๐ พระยาสีหราชเดโชชัย ( แย้ม ณ นคร ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต
๙) พ.ศ. ๒๔๖๑ พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ( ม.ร.ว. เย็น อิสรเสนา ) ภายหลังเป็นเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์
๑๐) พ.ศ. ๒๔๖๒ พระยาธรรมจรรยานุกูลมนตรี ( ทองดี โชติกเสถียร )
๑๑) พ.ศ. ๒๔๖๓ พระยาศรีธรรมาธิราช ( เจิม บุณยรัตพันธ์ )
๑๒) พ.ศ. ๒๔๖๕ พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร ( ม.ร.ว. สิทธิ์ สุทัศน์ )
๑๓) พ.ศ.๒๔๖๖ พระยานรเนติบัญชากิจ ( ลัด เศรษฐบุตร )
๑๔) พ.ศ.๒๔๖๗ พระยาสุวรรณศิริ ( ทองดี สุวรรณศิริ )

สมัยรัชกาลที่ ๗

๑) พ.ศ. ๒๔๖๘ พระยาบำเรอบริรักษ์ ( สาย ณ มหาชัย )
๒) พ.ศ. ๒๔๖๙ พระยาบุรุษรัตน์ราชพัลลภ ( นพ ไกรฤกษ์ )
๓) พ.ศ. ๒๔๗๐ พระยาอิศรพัลลภ ( สนิท จารุจินดา )
๔) พ.ศ. ๒๔๗๑ พระยากลาโหมราชเสนา ( เล็ก ปาณิกบุตร )
๕) พ.ศ. ๒๔๗๒ พระยามโหส๔ศรีพิพัฒน์ ( เชิญ ปริญญานนท์ )
๖) พ.ศ. ๒๔๗๓ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ( ผ่อง โชติกพุกกณะ )
๗) พ.ศ. ๒๔๗๔ พระยาปฏิพัทธ์ภูบาล ( คอยู่เหล ณ นอง )
๘) พ.ศ. ๒๔๗๕ พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ ( เตี้ยม บุนนาค )
๙) พ.ศ. ๒๔๗๖ พระยาอมเรศสมบัติ ( ต่วน ศุวณิช )
๑๐) พ.ศ. ๒๔๗๗ พระยาชลมาร์คพิจารณ์ ( ม.ร.ว. พงศ์ สนิทวงศ์ )

เอกสารอ้างอิง

๑) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระราชพิธีตรียัมพวาย – ตรีปวาย , พระยาชลมารคพิจารณ์ อธิบดีกรมชลประทาน พิมพ์เป็นอนุสรณ์เมื่อเป็นพระยายืนชิงช้า พ.ศ. ๒๔๗๗
๒) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ , เรื่องตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์ อนุสรณ์หม่อมหลวงชูชาติ กำภู ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๒

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด