พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึก ปปร. (เสมา ปปร.)

พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึก ปปร. (เสมา ปปร.)

พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึก ปปร. (เสมา ปปร.)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ทำขึ้นตั้งแต่ต้นรัชกาลเพื่อพระราชทานแก่ผู้ที่ทรงคุ้นเคย ตั้งแต่ผู้ใหญ่ลงไปจนถึงเด็ก โดยมีหลายลำดับชั้น ฯลฯ

ชั้นพิเศษ เป็นลงยาสีเขียวแก่ พระปรมาภิไธยย่อ ปปร. และขอบฝังเพชรพระราชทานแก่พระประยูรญาติชั้นผู้ใหญ่

ชั้นหนึ่ง เป็นพื้นสีเขียวอ่อน ปปร. และขอบเป็นทอง พระราชทานแก่เจ้านายและขุนนาง

ชั้นรอง เป็นทองล้วน พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร

ชั้นสาม พื้นเงิน ปปร. และขอบเป็นทอง พระราชทานแก่ผู้น้อยตามลำดับลงไป

ชั้นสี่ เป็นเงินล้วน พระราชทานแก่ผู้น้อยเป็นลำดับลงไป

ลักษณะ   เป็นรูปเสมา มีห่วงอยู่ด้านบน
ด้านหน้า เป็นพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” ไขว้กันอยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
ด้านหลัง ไม่มีรูปหรือข้อความ
ชนิด  ดูรายละเอียดด้านล่าง
ขนาด กว้าง 24 มิลลิเมตร ยาว 38 มิลลิเมตร
สร้าง  พ.ศ. 2468 – 2477

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด