พ.ศ.๒๔๒๓ เหรียญที่ระลึก เปิดเหมือง

พ.ศ.๒๔๒๓ เหรียญที่ระลึก เปิดเหมือง

พ.ศ.๒๔๒๓* (ร.ศ. ๙๙) เหรียญที่ระลึก เปิดเหมือง

เหรียญที่ระลึกเปิดเหมือง จัดเป็นหนึ่งในเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่๕ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในบรรดานักสะสม เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีรูปลักษณ์สวยงาม และแปลกตา กล่าวคือ ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คล้ายกับเหรียญกษาปณ์ “บาทหนึ่ง” ที่ประกาศใช้ในปีพ.ศ. ๒๔๑๙ (ร.ศ.๙๕) ส่วนด้านหลัง เป็นข้อความภาษาฝรั่งเศส ว่า “MINES DE KHAOTREE, GetT” นอกจากนี้ ตัวเหรียญยังมีลักษณะที่ผ่านการผลิตขึ้นรูปอย่างปราณีตสวยงาม คาดว่าน่าจะเป็นเหรียญที่ผลิตจากต่างประเทศ เพื่อเป็นที่ระลึกในการเปิดเหมืองแร่แห่งหนึ่งในประเทศสยาม ในยุคนั้น

อย่างไรก็ดี เหรียญเปิดเหมืองนี้ เป็นเหรียญที่สืบค้นประวัติความเป็นมาได้ยากยิ่ง การอ้างอิงปี พ.ศ.๒๔๒๓ เป็นเพียงการอ้างอิงข้อมูลตามบริษัทประมูลระดับโลก Heritage Coin เท่านั้น แต่ยังไม่สามารถค้นคว้าข้อมูลลงลึกในระดับปฐมภูมิ เช่นพระราชกิจจานุเบกษามายืนยันได้ และยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเหมืองแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ใดกันแน่ หากแต่ภาษาฝรั่งเศสที่ปรากฎอยู่ด้านหลังเหรียญน่าจะพอทำให้เชื่อได้ว่าเป็นกิจการเหมืองแร่ที่ลงทุนโดยนักลงทุนชาวฝรั่งเศส นอกจากนี้ จากการค้นคว้าจากประทานบัตรเหมืองแร่ ในสมัยรัชกาลที่๕ พบว่าการลงทุนทำเหมืองแร่ในยุคนั้นส่วนมากเป็นเหมืองแร่ดีบุกทางภาคใต้ รวมถึงแร่วุลแฟรม และมีประทานบัตรเหมืองทองคำเพียงบางส่วนเช่น ในเขตหล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ และบางส่วนทางภาคตะวันออก

ด้านหน้าเหรียญ

ด้านหลังเหรียญ

คำบรรยายภาพ : เหรียญเปิดเหมืองเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง
คำบรรยายภาพ: เหรียญเปิดเหมืองเนื้อบรอนซ์กะไหล่ทอง

ข้อมูลจำเพาะ

ด้านหน้า : พระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศพลเรือน มีอักษรรอบขอบเหรียญว่า สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่า ด้านหน้าเหรียญนี้ ทำลักษณะเดียวกับเหรียญเงิน บาทหนึ่ง ที่ประกาศใช้ในปีร.ศ.๙๕ แต่พระบรมรูปมีความคมลึก สวยงามกว่ามาก หากแต่ ตัวอักษรรอบขอบเหรียญกลับมีการแกะตัวอักษรที่ไม่สมบูรณ์ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะช่างผู้แกะพิมพ์เป็นชาวต่างประเทศ และไม่รู้ภาษาไทย และขาดขั้นตอนการพิสูจน์ตัวอักษร อาจเพียงใช้เหรียญเงิน บาทหนึ่ง เป็นตัวอย่างในการออกแบบ
ด้านหลัง : มีอักษรรอบขอบเหรียญว่า MINES DE KHAOTREE, GetT
ขอบเหรียญ: มีเฟืองโดยรอบ
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๒ มิลลิเมตร
ชนิด : เนื้อบรอนซ์ , เนื้อบรอนซ์กะไหล่ทอง, เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง ด้านหลังมีทั้งชนิดดาวดวงใหญ่ และดาวดวงเล็ก

หมายเหตุ : เนื้อบรอนซ์ หมายถึงโลหะผสมทองแดงกับดีบุก ซึ่งส่วนประกอบหลักจะเป็นโลหะทองแดง โดยมีดีบุก และโลหะชนิดอื่นเป็นส่วนประกอบรอง สามารถแยกย่อยได้หลายประเภทขึ้นกับสัดส่วนผสมของดีบุกและโลหะผสมอื่นๆในเนื้อทองแดง เช่นเนื้อบรอนซ์บางชนิดที่นำมาผลิตเป็นภาชนะในสมัยโบราณเป็นที่รู้จักและเรียกกันในเมืองไทยว่า สำริด เนื้อทองเหลือง หมายถึงโลหะผสมทองแดงประเภทหนึ่ง ที่มีส่วนประกอบหลัก รองจากทองแดงเป็นสังกะสี

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด