พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๕ เหรียญพระแก้วมรกต ๑๕๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๕ เหรียญพระแก้วมรกต ๑๕๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๕ เหรียญพระแก้วมรกต ๑๕๐ ปี

ในพ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้ทันกับการสมโภชกรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 150 ปี ใน พ.ศ. 2475 โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานคณะกรรมการ

คณะกรรมการประมาณเงินที่จะต้องใช้ในการปฏิสังขรณ์ไว้ 6 แสนเศษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธา อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 2 แสนบาท รัฐบาลอนุญาตเงินแผ่นดินอุดหนุนอีก 2 แสนบาท ส่วนที่ยังขาดอยู่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรรมการจัดดำเนินการเรี่ยไรพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลร่วมกัน* โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จและเหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึกตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้

1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ
2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน
3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล)
4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง
และผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป กรรมการจะได้รวบรวมรายนามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นคราวๆ

ต่อมาปรากฏในใบแจ้งความของสำนักผู้อำนวยการวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้ความว่าเหรียญที่ระลึกชุดนี้ได้สร้างก่อนการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่และเนื่องจากประชาชนมีความศรัทธามาก จึงได้ให้หลายบริษัทช่วยกันผลิตเพื่อให้ทันความต้องการคือ บริษัทเดอลารู เพาะช่าง นาถาจารุประกร สุวรรณประดิษฐ์ ฮั่งเตียนเซ้ง โดยผู้บริจาคเงินบำรุง จะได้รับเหรียญสมนาคุณตามลำดับดังนี้

1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญทองคำ
2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญเงิน
3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญนิเกิล
4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญทองแดง

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เนื้อเงินบล็อคเจนีวา

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
บล็อคหลังตัวหนังสือ

เนื้อทองแดงบล็อคทำในประเทศ

ลักษณะ  กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า ภายในเรือนแก้วเป็นรูปพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต ปางสมาธิประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย และมีดอกไม้อยู่โดยรอบ
ด้านหลัง  เป็นรูปยันต์กงจักร มีอักษรจารึก มรรค 8

อ่านว่า ทิ คือ สัมมาทิฐิ
อ่านว่า สํ คือ สัมมาสังกัปโป
อ่านว่า วา คือ สัมมาวาจา
อ่านว่า กํ คือ สัมมากัมมันโต
อ่านว่า อา คือ สัมมา อาชิโว
อ่านว่า วา คือ สัมมา วายาโม
อ่านว่า ส คือ สัมมา สติ
อ่านว่า สํ คือ สัมมาสมาธิ

ที่ริมขอบเหรียญบางเหรียญ จะมีชื่อบริษัทผู้ผลิตดังนี้ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร ฮั่งเตียนเซ้ง และ Georges Hantz Geneve U.G.D.

ชนิด  ทองคำ เงิน นิเกิล ทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร
สร้าง  พ.ศ. 2470 – 2475

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด