พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญศารทูลมาลา

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญศารทูลมาลา

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญศารทูลมาลา

The Saratul Mala Medal

ใช้อักษรย่อ ร.ศ.ท.

เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ มีชนิดเดียว เป็นเหรียญเงิน

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
พ.ศ. ๒๔๖๘ ในการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรรจบรอบปีที่ ๑๕ ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ ซึ่งกองเสือป่าอาสาสมัครได้ดำเนินตามกระแสพระบรมราโชบายมั่นคงเป็นปึกแผ่นแผ่ไปทั่วพระราชอาณาจักร จนประสบผลแล้วซึ่งความยั่งยืน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะสถาปนาเหรียญศารทูลมาลาสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ปฏิบัติราชการเสือป่า ด้วยความอุตสาหะ ที่รับราชการมาครบกำหนด ๑๕ ปีบริบูรณ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติเหรียญศารทูลมาลา พระพุทธศักราช ๒๔๖๘” ขึ้น ประกาศไว้ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๘ โดยให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอำนวยการการฝึกและทอดพระเนตรการประลองยุทธของกองเสือป่าที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปณาขึ้น โดยประกาศเป็นพระราชปรารภ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ ว่าทรงมุ่งหมายที่จะเปิดโอกาสให้พลเรือน ทั้งที่เป็นข้าราชการและพ่อค้าคหบดี

ที่มีความปรารถนาจะได้รับการฝึกหัดอย่างทหาร ได้ฝึกหัดตามความประสงค์อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง คือ ทำให้บุคคลที่ได้รับการฝึกเช่นนั้นเป็นราษฎรที่ดี มีกำลังกายและความคิดแก่กล้าในทางที่เป็นประโยชน์ มีความรักชาติบ้านเมือง มีความสามัคคี และให้เป็นนักรบได้เมื่อถึงคราวที่ประเทศชาติต้องการ
เหรียญศารทูลมาลาเป็นเหรียญเงิน มีสัณฐานเป็นรูปจักรหมายยศเสือป่า

ด้านหน้า เป็นรูปหน้าเสือทรงมงกุฎอยู่กลางในวงจักร

ด้านหลัง ตรงกลางมีอักษรพระนามาภิไธย ร.ร.๖ มีอักษรจารึกวงรอบข้างบนว่า
“บำเหน็จแห่งความยั่งยืน” และจารึกอักษรที่วงรอบข้างล่างว่า “ในราชการเสือป่า ๑๕ ปี” ที่ร้อยแพรแถบ สีดำ เหลือง สลับกันเป็นลายรุ้ง เป็นรูปวชิระสองคมมีเข็มกลัดเงิน เบื้องบนแพรแถบจารึกอักษรว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์” ใช้สำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด