Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) Uncategorized

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด แต่สันนิษฐานว่ามีจำนวนไม่มากนัก ตามบันทึกของหมอสมิธ กล่าวไว้ว่าเนื้อทองแดง ซึ่งคงเป็นรางวัลที่3 มีการตีพิมพ์เพียง 20 อันเท่านั้น อนึ่งคำว่า ส พ ป ม จ ๕ นั้นหมายถึง “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่๕” ทางด้านหน้าเหรียญ เป็นลายดุนนูนรูปพระเกี้ยว ประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า กระหนาบด้วยฉัตรห้าชั้นทั้งสองข้าง

 

อนึ่ง เหรียญนี้เป็นเหรียญที่ค่อนข้างหายากเนื่องจากมีจำนวนไม่มาก จึงต้องใช้ความระมัดระวัง ถ้าจะหามาสะสม เนื่องจากมีของปลอมในตลาดค่อนข้างมาก ลักษณะที่เป็นธรรมชาติอย่างหนี่งของเหรียญนี้ก็คือ บริเวณตัวอักษร สพปมจ๕ ที่แกะเป็นตัวยกนี้ จะมีลักษณะเป็นเสี้ยน อยู่ทั้งด้านบนและด้านข้าง บางท่านเรียกว่า Fine Line และขอบเหรียญเป็นลักษณะปั๊มกระบอก

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ภาพด้านล่างเป็นภาพวาดในพระที่นั่งทรงผนวช วัดเบญจมบพิตร แสดงถึง การแต่งประทีปซุ้มไฟประกวดวันเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่๕ ในช่วงต้นรัชกาล


ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นลายดุนนูนรูปพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า กระหนาบด้วยฉัตรห้าชั้นตอนล่างเป็นรูปแถบแพรจารึกปี จุลศักราชที่สร้าง “๑๒๓๒”
ด้านหลัง : เป็นพระปรมาภิไธยย่อตัวนูน “ส พ ป ม จ” ไขว้ขัดกันเหนือ “๕” หมายถึงพระปรมาภิไธย “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕”
ชนิด : เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 45 มิลลิเมตร

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกที่ตีพิมพ์พระบรมรูปของกษัตริย์ไทย

พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกที่ตีพิมพ์พระบรมรูปของกษัตริย์ไทย

 พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกที่ตีพิมพ์พระบรมรูปของกษัตริย์ไทย

เป็นคติความเชื่อของมนุษย์ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า การจำลองรูปภาพของตนลงบนสิ่งใดก็ตาม จะเป็นการบั่นทอนชีวิตของผู้นั้น คตินี้ยังคงเชื่อกันอยู่ในสังคมของผู้เฒ่าผู้แก่ของเราในรอบร้อยปีที่แล้วว่า การฉายรูปจะมีผลทำให้ทำอายุสั้น


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชเจ้า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในพระราชกิจทั้งปวง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อัจฉริยะโดยแท้ รัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓) เรียกได้ว่า “เป็นยุคของการปฏิรูป ( Age of Reform ) หรือยุคของการทำประเทศให้ทันสมัย ( Age of Modernization ) อย่างแท้จริง”

พระองค์ทรงสลัดคติความเชื่อถือเก่าแก่นี้อย่างสิ้นเชิง หลังจากได้ทรงริเริ่มโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกพระปรมาภิไธยย่อ “ส.พ.ป.ม.จ. ๕” เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์แห่งการเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ อันเป็นปีที่ ๒ ของการเสวยราชย์ซึ่งถือว่าเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกแล้วนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔

คราวงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๑๘ พรรษาอันเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หมอบรัดเล ได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๔ ความว่า “เฉลิมพระชันษา ๑๘ ตามประทีป และมีมหรสพเป็นการใหญ่” ในคราวนี้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นอีกเป็นเหรียญที่ ๒ ครั้งนี้ได้ปรากฏพระบรมรูปของพระองค์ท่านเป็นครั้งแรกในประวัติของการสร้างเหรียญที่สมบูรณ์แบบในปีนั้น

อันจะเป็นผลให้ประเทศไทยได้มีเหรียญกษาปณ์ตีพิมพ์พระบรมรูปบนด้านหน้าของเหรียญขึ้นเป็นครั้งแรกในอีก ๕ ปีถัดมา คือเหรียญตราพระบรมรูปในปี พ.ศ ๒๔๑๙

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญหลักแจวเนื้อทองแดง จัดเป็นเหรียญรัชกาลที่๕ที่พบเห็นได้ยากมาก และของปลอมทำได้ใกล้เคียงมาก จึงควรพิจารณาเลือกเหรียญที่ดูง่ายเท่านั้น
พระบรมฉายาลักษณ์ที่ใช้เป็นแบบแกะเหรียญหลักแจว สันนิษฐานว่ารูปนี้น่าจะทรงฉายตอนที่พระชนมายุประมาณ ๑๗ ถึง ๑๘ พรรษา

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักต์ทางด้านซ้ายของเหรียญ เส้นพระเจ้า “ทรงมหาดไทย” หรือ “ทรงหลักแจว” ทรงฉลองพระองค์เสื้อยันต์ และทรงเคร่องราชอิสริยาภรณ์ รอบขอบเหรียญมีตัวอักษรว่า “สมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์บดินทร เทพยมหามงกุฎ พระเจ้ากรุงสยามที่๕”
ด้านหลัง : มีตัวอักษรรอบวงในเหรียญว่า “การเฉลิมพระชนม์พรรษาปีมแมตรีศก ๓ จุลศักราช ๑๒๓๓ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัตจุบันนี้”
ชนิด : ทองคำ เงิน ทองแดง ดีบุก(เหรียญต้นแบบ และเหรียญลองพิมพ์)
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 53 มิลลิเมตร

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว ต้นแบบ เนื้อดีบุก คันพบเพียงสองเหรียญเท่านั้น!

พ.ศ.๒๔๑๔ (จ.ศ.๑๒๓๓) เหรียญหลักแจว ต้นแบบ เนื้อดีบุก คันพบเพียงสองเหรียญเท่านั้น!

เป็นคติความเชื่อของมนุษย์ตั้งแต่โบราณมาแล้วว่า การจำลองรูปภาพของตนลงบนสิ่งใดก็ตาม จะเป็นการบั่นทอนชีวิตของผู้นั้น คตินี้ยังคงเชื่อกันอยู่ในสังคมของผู้เฒ่าผู้แก่ของเราในรอบร้อยปีที่แล้วว่า การฉายรูปจะมีผลทำให้ทำอายุสั้น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชเจ้า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในพระราชกิจทั้งปวง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อัจฉริยะโดยแท้ รัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓) เรียกได้ว่า “เป็นยุคของการปฏิรูป ( Age of Reform ) หรือยุคของการทำประเทศให้ทันสมัย ( Age of Modernization ) อย่างแท้จริง”

พระองค์ทรงสลัดคติความเชื่อถือเก่าแก่นี้อย่างสิ้นเชิง หลังจากได้ทรงริเริ่มโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกพระปรมาภิไธยย่อ “ส.พ.ป.ม.จ. ๕” เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์แห่งการเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ อันเป็นปีที่ ๒ ของการเสวยราชย์ซึ่งถือว่าเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกแล้วนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔

คราวงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๑๘ พรรษาอันเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หมอบรัดเล ได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๔ ความว่า “เฉลิมพระชันษา ๑๘ ตามประทีป และมีมหรสพเป็นการใหญ่” ในคราวนี้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นอีกเป็นเหรียญที่ ๒ ครั้งนี้ได้ปรากฏพระบรมรูปของพระองค์ท่านเป็นครั้งแรกในประวัติของการสร้างเหรียญที่สมบูรณ์แบบในปีนั้น อันจะเป็นผลให้ประเทศไทยได้มีเหรียญกษาปณ์ตีพิมพ์พระบรมรูปบนด้านหน้าของเหรียญขึ้นเป็นครั้งแรกในอีก ๕ ปีถัดมา คือเหรียญตราพระบรมรูปในปี พ.ศ ๒๔๑๙

เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้เป็นเหรียญต้นแบบเนื้อดีบุก มีความแตกต่างจากเหรียญทั่วไปตรงที่ด้านหลังของเหรียญไม่มีคำว่า “การเฉลิมพระชนม์พรรษาปีมแมตรีศก๓ จุลศักราช๑๒๓๓ เปนปีที่๓ ในรัชกาลปัตจุบันนี้” สันนิษฐานว่าเป็นการสั่งทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯเสนอให้ทรงพิจารณา และเมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆแล้ว จึงผลิตขึ้นเพื่อพระราชทานในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

ด้านหน้า : มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักต์ทางด้านซ้ายของเหรียญ เส้นพระเจ้า “ทรงมหาดไทย” หรือ “ทรงหลักแจว” ทรงฉลองพระองค์เสื้อยันต์ และทรงเคร่องราชอิสริยาภรณ์ รอบขอบเหรียญมีตัวอักษรว่า “สมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์บดินทร เทพยมหามงกุฎ พระเจ้ากรุงสยามที่๕”

ด้านหลัง : มีตัวอักษรรอบวงในเหรียญว่า “การเฉลิมพระชนม์พรรษาปีีมแมตรีีศก ๓ จุลศักราช ๑๒๓๓ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัตจุบันนี้”

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ

ชนิด : ดีบุก(เหรียญต้นแบบ)

ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 53 มิลลิเมตร

อนึ่งเหรียญชนิดนี้ที่เป็นเนื้อดีบุก และมีคำจารึกด้านหลังด้วย ก็ถูกพบเห็นบ้าง แต่รายละเอียดการขึ้นรูปมักจะไม่สู้ชัดเจนนัก
สันนิษฐานว่าเป็นเหรียญที่ใช้ทดลองปรับตั้งแม่พิมพ์ก่อนการผลิตจริง

พระบรมฉายาลักษณ์ที่ใช้เป็นแบบแกะเหรียญหลักแจว สันนิษฐานว่ารูปนี้น่าจะทรงฉายตอนที่พระชนมายุประมาณ ๑๗ ถึง ๑๘ พรรษา

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๖ (จ.ศ.๑๒๓๕) เหรียญที่ระลึกพระราซพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่๒

พ.ศ.๒๔๑๖ (จ.ศ.๑๒๓๕) เหรียญที่ระลึกพระราซพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่๒

พ.ศ.๒๔๑๖ (จ.ศ.๑๒๓๕) เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒

เนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเศก อย่างเป็นทางการเมื่อทรงบรรลุนิติภาวะ มีพระชน มายุ ครบ 20 พรรษา งานพระราชพิธีนี้จัดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พศ 2416 เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ ด้านหน้ามีพระปรมาภิไธยย่อ “จจจ” ส่วนด้านหลังเป็นตราแผ่นดิน ซึ่งมีความหมายเป็นนัยว่าเป็นวาระที่พระองค์ทรงขึ้นปกครองแผ่นดินอย่างเป็นทางการ ตัวเหรียญมีขนาด 66 มม มีชนิดเนื้อเงิน และทองแดงในรูปที่เห็นเป็นเนื้อเงินครับ ด้านหน้าเป็นพระปรมาภิไธยย่อ “จจจ” เหรียญนี้นักสะสมจึงเรียกว่าเหรียญ จจจ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ด้านล่างของตราอาร์มแผ่นดิน มีคาถาซึ่งผูกโดยสมเด็จพระสังฆราช (สา) ซึ่งแปลว่า “ความพร้อมเพรียงของชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ” อนึ่ง ตราอาร์มแผ่นดินนี้ ก็คือแบบเดียวกันกับที่อยู่หลังเหรียญหนึ่งบาท ในรัชสมัยของพระองค์ท่าน

ตัวอย่างเหรียญเพิ่มใหม่

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ภาพถ่ายระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเศกครั้งที่ ๒ ช่วงเดือนพฤศจิกายน ปีระกา พศ ๒๔๑๖
ร.๕ ทรงพระเครื่องต้นพระมหาพิชัยมงกุฎ

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระปรมาภิไธยย่อ “จจจ” อยู่ในวงกรอบ นอกวงกรอบมีข้อความว่า “การบรมราชภิเศก” ในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีรกาเบญจศกศักราช ๑๒๓๕”
ด้านหลัง : เป็นตราแผ่นดิน
ชนิด : เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 66 มิลลิเมตร

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๑๙ (จ.ศ.๑๒๓๘) เหรียญที่ระลึก พระที่นั่งอัยสวรรย์ทิพยอาสน์ปราสาท

พ.ศ.๒๔๑๙ (จ.ศ.๑๒๓๘) เหรียญที่ระลึก พระที่นั่งอัยสวรรย์ทิพยอาสน์ปราสาท

พ.ศ.๒๔๑๙ (จ.ศ.๑๒๓๘) เหรียญที่ระลึก พระที่นั่งอัยสวรรย์ทิพยอาสน์ปราสาท และพระที่นั่งวโรภาษพิมาน

เหรียญที่ระลึก พระที่นั่งอัยสวรรย์ทิพยอาสน์ปราสาท และพระที่นั่งวโรภาษพิมาน พศ๒๔๑๙ ทรงพระราชทานเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองพระที่นั่งทั้งสองแห่ง


เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พศ๒๔๑๙ เหรียญที่นำมาลงนี้เป็นเนื้อเงิน เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๖ มม ครับ พระที่นั่งอัยสวรรย์ทิพยอาสน์ปราสาท ในปัจจุบันได้กลายเป็นจุดเด่นที่สำคัญของพระราชวังบางปะอิน

เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมไทยเพียงหลังเดียว ที่ตั้งอยู่โดดเด่นท่ามกลามสถาปัตยกรรมตะวันตก ถ้าจำไม่ได้ว่าเป็นตึกใด ให้นึกถึงภาพศาลาทรงไทยที่ตั้งอยู่กลางน้ำ ที่เราเห็นในรูปถ่ายวังบางปะอินบ่อยๆน่ะครับ


ส่วนพระที่นั่งวโรภาษพิมานเป็นพระที่นั่งศิลปกรีกแบบคอรินเธียน มีความสำคัญคือ ร๕ ทรงเคยใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับว่าราชการยามที่เสด็จหัวเมือง และงานพระราชพิธีต่างๆ ด้านหน้า เป็นตรา จปร ด้านหลังเป็นรูปพระที่นั่งฯ

ตัวอย่างเหรียญที่ ๑

ตัวอย่างเหรียญที่ ๒

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
รูปขยายแสดงรายละเอียดในจุดต่างๆ

รูปนี้ถ่ายเปรียบเทียบกับเหรียญงานโสกันต์ที่มีผิวสีเงิน ด้านหลังที่เป็นตรา จปร จะเป็นสีดำคล้ำรอบๆ แต่ตรงกลางยังคงเป็นสีเงินอยู่ ด้านนี้น่าจะเป็นด้านที่ถูกวางคว่ำไว้
ภาพพระที่นั่งวโรภาษพิมาน ถ่ายสมัย ร.๕ สังเกตุว่าพระที่นั่งมีการต่อเติม ต่างจากรูปที่ปรากฏอยู่หน้าเหรียญเล็กน้อย

ข้อมูลจำเพาะ
ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : มีรูปพระที่นั่งวโรภาษพิมาน ริมขอบมีข้อความว่า “การเฉลิมพระที่นั่งอัยสวรรย์ทิพยอาสน์ปราสาท พระที่นั่งวโรภาษพิมาน ณ เกาะบางปอิน แขวงกรุงทวาราวดีศรีอยุธยาโปราณ ปีชวด อัฐศกศักราช ๑๒๓๘”
ด้านหลัง : พระปรมาภิไธยย่อ “จปร”
ชนิด : เงิน ทองแดง ดีบุก (เหรียญลองพิมพ์)
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 66 มิลลิเมตร

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๒๓ เหรียญที่ระลึก เปิดเหมือง

พ.ศ.๒๔๒๓ เหรียญที่ระลึก เปิดเหมือง

พ.ศ.๒๔๒๓* (ร.ศ. ๙๙) เหรียญที่ระลึก เปิดเหมือง

เหรียญที่ระลึกเปิดเหมือง จัดเป็นหนึ่งในเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่๕ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในบรรดานักสะสม เนื่องจากเป็นเหรียญที่มีรูปลักษณ์สวยงาม และแปลกตา กล่าวคือ ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คล้ายกับเหรียญกษาปณ์ “บาทหนึ่ง” ที่ประกาศใช้ในปีพ.ศ. ๒๔๑๙ (ร.ศ.๙๕) ส่วนด้านหลัง เป็นข้อความภาษาฝรั่งเศส ว่า “MINES DE KHAOTREE, GetT” นอกจากนี้ ตัวเหรียญยังมีลักษณะที่ผ่านการผลิตขึ้นรูปอย่างปราณีตสวยงาม คาดว่าน่าจะเป็นเหรียญที่ผลิตจากต่างประเทศ เพื่อเป็นที่ระลึกในการเปิดเหมืองแร่แห่งหนึ่งในประเทศสยาม ในยุคนั้น

อย่างไรก็ดี เหรียญเปิดเหมืองนี้ เป็นเหรียญที่สืบค้นประวัติความเป็นมาได้ยากยิ่ง การอ้างอิงปี พ.ศ.๒๔๒๓ เป็นเพียงการอ้างอิงข้อมูลตามบริษัทประมูลระดับโลก Heritage Coin เท่านั้น แต่ยังไม่สามารถค้นคว้าข้อมูลลงลึกในระดับปฐมภูมิ เช่นพระราชกิจจานุเบกษามายืนยันได้ และยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเหมืองแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ใดกันแน่ หากแต่ภาษาฝรั่งเศสที่ปรากฎอยู่ด้านหลังเหรียญน่าจะพอทำให้เชื่อได้ว่าเป็นกิจการเหมืองแร่ที่ลงทุนโดยนักลงทุนชาวฝรั่งเศส นอกจากนี้ จากการค้นคว้าจากประทานบัตรเหมืองแร่ ในสมัยรัชกาลที่๕ พบว่าการลงทุนทำเหมืองแร่ในยุคนั้นส่วนมากเป็นเหมืองแร่ดีบุกทางภาคใต้ รวมถึงแร่วุลแฟรม และมีประทานบัตรเหมืองทองคำเพียงบางส่วนเช่น ในเขตหล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ และบางส่วนทางภาคตะวันออก

ด้านหน้าเหรียญ

ด้านหลังเหรียญ

คำบรรยายภาพ : เหรียญเปิดเหมืองเนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง
คำบรรยายภาพ: เหรียญเปิดเหมืองเนื้อบรอนซ์กะไหล่ทอง

ข้อมูลจำเพาะ

ด้านหน้า : พระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศพลเรือน มีอักษรรอบขอบเหรียญว่า สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่า ด้านหน้าเหรียญนี้ ทำลักษณะเดียวกับเหรียญเงิน บาทหนึ่ง ที่ประกาศใช้ในปีร.ศ.๙๕ แต่พระบรมรูปมีความคมลึก สวยงามกว่ามาก หากแต่ ตัวอักษรรอบขอบเหรียญกลับมีการแกะตัวอักษรที่ไม่สมบูรณ์ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะช่างผู้แกะพิมพ์เป็นชาวต่างประเทศ และไม่รู้ภาษาไทย และขาดขั้นตอนการพิสูจน์ตัวอักษร อาจเพียงใช้เหรียญเงิน บาทหนึ่ง เป็นตัวอย่างในการออกแบบ
ด้านหลัง : มีอักษรรอบขอบเหรียญว่า MINES DE KHAOTREE, GetT
ขอบเหรียญ: มีเฟืองโดยรอบ
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๒ มิลลิเมตร
ชนิด : เนื้อบรอนซ์ , เนื้อบรอนซ์กะไหล่ทอง, เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง ด้านหลังมีทั้งชนิดดาวดวงใหญ่ และดาวดวงเล็ก

หมายเหตุ : เนื้อบรอนซ์ หมายถึงโลหะผสมทองแดงกับดีบุก ซึ่งส่วนประกอบหลักจะเป็นโลหะทองแดง โดยมีดีบุก และโลหะชนิดอื่นเป็นส่วนประกอบรอง สามารถแยกย่อยได้หลายประเภทขึ้นกับสัดส่วนผสมของดีบุกและโลหะผสมอื่นๆในเนื้อทองแดง เช่นเนื้อบรอนซ์บางชนิดที่นำมาผลิตเป็นภาชนะในสมัยโบราณเป็นที่รู้จักและเรียกกันในเมืองไทยว่า สำริด เนื้อทองเหลือง หมายถึงโลหะผสมทองแดงประเภทหนึ่ง ที่มีส่วนประกอบหลัก รองจากทองแดงเป็นสังกะสี

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๒๔ (จ.ศ.๑๒๔๓) เหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค

พ.ศ.๒๔๒๔ (จ.ศ.๑๒๔๓) เหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค

พ.ศ.๒๔๒๔ (จ.ศ.๑๒๔๓) เหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค

พระราชทานแก่ผู้ที่ช่วยเหลือพยาบาลผู้ป่วยอหิวาต์ ซึ่งระบาดหนัก ในเดือนสาม ปีระกา พศ 2424 ในเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯให้มีการรักษาพยาบาลแบบสมัยใหม่แทนการทำพิธีกรรมทางศาสนาเหมือนที่เคยปฏิบัติกันมาในอดีต โดยเริ่มด้วยการจัดตั้งสถานพยาบาลและบำบัดโรคชั่วคราวขึ้นที่ตำบลวังหลัง ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี (ภายหลังกลายมาเป็นโรงพยาบาลศิริราช) และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ อธิบดีกรมหมอในขณะนั้น คิดวิธีปรุงยารักษาโรคคล้ายแบบฝรั่งขึ้น เหรียญชนิดนี้ที่พบเห็นมีสองเนื้อ คือทองแดง ซึ่งพบมากกว่า ส่วนในรูปเป็นเหรียญเงิน ซึ่งพบเห็นน้อยกว่า เนื้อเงินพระราชทานผู้ที่ช่วยในการนี้ มีจารึกชื่อลงในพวงมาลัย มีรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญจารึกชื่อนี้ ๔๘ คน พระราชทานตั้งแต่วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๒๔

อนึ่งทรงพระราชดำริห์ว่า พระบรมวงษานุวงษ์ ข้าทูลอองธุลีพระบาทได้มีใจสวามิภักดิจัดการโรงรักษาไข้ ให้สำเร็จทันโดยพระราชประสงค์ เป็นความชอบความดีในพระองค์เป็นอันมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญเงินเป็นรางวัลที่ระฦก มีดิปลัมมากำกับด้วย ข้อความในดิปลัมนั้นมีความดังที่ได้คัดลงมาดังนี้

สมเด็จ

พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์

พระจุลจอมเกล้า เจ้ากรุงสยาม


ทรงพระราชดำริห์ว่า (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมีกรมหลวงจักรพรรดิพงษ์) ได้รับฉลองพระเดชพระคุณจัดการตั้งโรงรักษาคนเจ็บอหิวาตกโรค ณ กรุงเทพฯ ในเดือนแปด เดือนเก้า ปีมเสงตรีศกโดยมีน้ำใจจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท แลมีความเมตตาเพื่อนชาติมนุษย์ด้วยกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญเงินมีรูปเทพยดาถือพวงมาไลย จาฤกชื่อแลบอกเหตุการ ให้เป็นที่ระฦกในการที่ได้ตั้งทำครั้งนี้ ขอจงมีความสุขสวัสดิเจริญเทอญ

พระราชทานตั้งแต่ ณ วันพฤหัสบดี เดือนสิบ แรมสิบสี่ค่ำ ปีมเสงตรีศกศักราช ๑๒๔๓ เป็นปีที่ ๑๔ ฤๅวันที่ ๔ ๗๐๐ ในรัชกาลปัจจุบันนี้
(ทรงเซ็นพระราชหัตถเลขา)

สยามินทร์

ในดิปลัมมานั้นมีความดังนี้เหมือนกันทุกฉบับ เปลี่ยนแต่ชื่อผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเท่านั้น จำนวนผู้ซึ่งได้รับพระราชทานนั้น คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมหลวงจักพรรดิพงษ์ ๑ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมหลวงภาณุพันธุ์วงษ์วรเดช ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงค์ศักดิ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษศิลปาคม ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาศนเลอสรร ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงษวโรประการ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรรณาการ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบันฑิตย์ ๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ๑ พระองค์เจ้าสายสินิทวงษ ๑ พระองค์เจ้าขจรจรัศวงษ ๑ เจ้าพระยายมราช ๑ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงค์ ๑ พระยาภาศกรวงษ ๑ เปลี่ยนภรรยาพระยาภาศกรวงษ ๑ พระยาเทพประชุม ๑ พระยาอนุชิตชาญไชย ๑ พระยานรรัตนราชมานิต ๑ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ๑ พระยารัตนโกษา ๑ พระยาไชยสุรินทร์ ๑ พระยามหามนตรี ๑ พระยาสมุทบุราณุรักษ ๑ พระยาสมุทสาครานุรักษ ๑ พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ ๑ พระอินทรเทพ ๑ เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ๑ เจ้าหมื่นเสมอใจราช ๑ พระพิเทศสันตรพานิช ๑ พระสยามนนทเขตรขยันปลัดเมืองนนทบุรี ๑ หลวงสิทธินายเวร ๑ หลวงเดชนายเวร ๑ หลวงนฤศรราชกิจ ๑ หลวงรัฐยาธิบาลบัญชา ๑ ขุนศรีสุพรรณ ๑ หมื่นสฐานไพรชน ๑ หมื่นสวัสดิภักดี ๑ สมิงชำนาญบาญชี ๑ ดอกเตอปีเตอกาแวน ๑ มิศเตอเฟรตริกซอลอมอน ๑ นายสุ้นน้องพระชลธาร ๑ มิศเตอเบอนหาศกริม ๑ บาบูรัมซามิพราหมณ์ ๑ รวม ๔๘ คน

ตัวอย่างเหรียญ ชนิด ต่างๆ

  • เหรียญอหิวาตกโรค เนื้อเงิน
  • เหรียญอหิวาตกโรค เนื้อทองแดง

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นรูปเทวดาเหาะ พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ พระหัตถ์ขวาถือพวงมาลาด้านซ้าย มีข้อความว่า “ปีมแสงตรีศก ๑๔” ด้านขวามีข้อความว่า “จุลศักราช ๑๒๔๓”
ด้านหลัง มีข้อความว่าอยู่ในพวงมาลาว่า


“พระราชทานรางวัล
เปนที่รฦก
ในการรักษา
คนเจบอหิวาตกโรค”


ชนิด เงิน และ ทองแดง
ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 62 มิลลิเมตร

Ref ๑.ราชกิจจานุเบกษา จ.ศ. ๑๒๔๓ หน้า ๕๐-๕๒
๒. ปฎิทินโหราศาสตร์ ๒๔๑๗-๒๔๗๙ หน้า ๒๖๔

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๒๕ (จ.ศ.๑๒๔๔) เหรียญที่ระลึกหอพระสมุดวชิรญาณ

พ.ศ.๒๔๒๕ (จ.ศ.๑๒๔๔) เหรียญที่ระลึกหอพระสมุดวชิรญาณ

พ.ศ.๒๔๒๕ เหรียญที่ระลึกหอพระสมุดวชิรญาณ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างเหรียญวชิรญาณ เพื่อพระราชทานเป็นที่ระลึกในคราวพระราชพิธีเปิดหอพระสมุดวชิรญาณ ที่ทรงคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พศ2425 แต่เกิดมีอุปสรรคในการก่อสร้าง จึงเลื่อนกำหนดออกไปเกือบสองปี จึงได้มีพิธีเปิดชั่วคราวที่ห้องชั้นต่ำพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 13 เมษายน พศ2427 อย่างไรก็ดีไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจนว่า ได้พระราชทานเหรียญวชิรญาณ ในพระราชพิธีการเปิดหอพระสมุดชั่วคราว ครั้งนี้หรือไม่
เหรียญที่นำมาลงให้ดูเป็นชนิดทองแดง มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คู่กับพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีชื่อ เบนซอน ปรากฎอยู่ใต้พระรูป(ผู้ผลิตเหรียญ) ตัวเหรียญจริง สภาพผิวเดิมยังปรากฎอยู่ให้เห็นบริเวณตัวอักษรรอบขอบเหรียญ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ด้านหลังจารึกปีจุลศักราช1244 ซึ่งเท่ากับปีพศ2425 อนึ่ง พระหอสมุดฯ แล้วเสร็จ และเปิดเป็นทางการในปีพศ 2432
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระดับพระอุระ ผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญ ใต้พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอักษรจารึกว่า “เบนซอน”
ริมขอบเป็นพระปรมาภิไธย “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
ด้านหลัง : มีพระมหาพิชัยมงกุฎพิมพ์นูนอยู่เบื้องบน ให้พระมหาพิชัยมงกุฎเป็นรูปโบว์เล็กทอดชายคลี่ออกทั้งสองข้าง
กลางเหรียญเป็นแพรแถบม้วนหัวท้าย จารึกอักษร “หอพระสมุดวชิรญาณ” ใต้แพรแถบมีเลขศักราช “๑๒๔๔” ทางด้านซ้าย และขวาประดับด้วยพวงมาลา 2 ช่อ ผูกติดกันด้วยโบว์
ชนิด : เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 48 มิลลิเมตร

Categories
King Rama V เหรียญพระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮิบิชัน - เหรียญที่ ระลึกเหยญแรก ที่มีพระรูปของ พระ บรมราชเทวี

พ.ศ.๒๔๒๕เหรียญพระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮิบิชัน – เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกที่มีพระรูปของพระบรมราชเทวี

พ.ศ.๒๔๒๕ (จ.ศ.๑๒๔๔) เหรียญพระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮิบิชัน – เหรียญที่ระลึกเหรียญแรก ที่มีพระรูปของพระบรมราชเทวี

นปี พ.ศ. ๒๔๒๕ อันเป็นปีที่ครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์โปรกเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีสมโภชพระนครและมีกิจกรรมหลายอย่าง กิจกรรมอย่างหนึ่งซึ่งนับเป็นสีสันของงาน คือ จัดให้มีงานพิพิธภัณฑ์เป็นการนำสินค้าพื้นเมืองของสยามมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการให้ประชาชนชม ที่เรียกว่า “เอ็กซ์ฮิบิเชน” (Exhibition) ที่ท้องสนามหลวงซึ่งคล้ายกับการแสดงสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันนี้โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช๒๔ ทรงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจัดงาน


ทั้งนี้ให้มีการเตรียมการล่วงหน้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นเวลา ๑ ปี โปรดเกล้าฯ ให้ชักชวนประชาชนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ดดยนำสิ่งของมาร่วมจัดแสดงอีครั้งหนึ่งเพื่อต้องการให้ประชาชนได้ระลึกถึงของต่างๆ ที่ผลิตได้ในสมัยนั้นเป็นของหายากใน ๑๐๐ ปี ที่ผ่านมา ประชาชนควรยินดีที่บ้านเมืองเจริญขึ้น งานนี้เริ่มในวันที่ ๒๖ เมษายน จนถึงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๒๕ เป็นเวลา ๕๒ วัน ในวันเปิดงาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินด้วยขบวนรถ ประทับพลับพลาจตุรมุข ณ ท้องสนามหลวงทรงประกาศเปิดงานและพระราชดำเนินทอดพระเนตรสิ่งของต่างๆ ที่นำมาจัดแสดง


เรื่อง ราวเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ คาร์ล บ็อค ได้บันทึกรายละเอียดไว้ในหนังสือ ทำให้เราทราบว่าในงานนี้มีการสร้างประรำด้วยไม้ไผ่หลายหลัง มีรั้วไม้ไผ่กั้นโดยรอบและแบ่งเป็นห้องๆ ของที่นำมาแสดงมีประมาณ ๔๐ ชนิด มีของน่าชมอยู่หลายห้อง เช่น เครื่องเพชร พลอย เครื่องเงิน การแสดงหุ่นในเครื่องแต่งกายแบบต่างๆ ภาพเขียน เครื่องมุข เครื่องจักสาน งาช้าง เครื่องมือประมง แร่ธาตุต่างๆ อาวุธ เหรียญและเงินโบราณ ตลอกจนพืชพันธุ์ ของป่า

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ในการฉลองพระราชพิธีสมโภชพระนครครั้งนั้น โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกหลายประเภทในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการนี้ ได้สร้างเหรียญที่ระลึกอย่างหนึ่งเรียกว่า เหรียญที่ระลึก พระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮิบิชัน (National Exhibition) สำหรับพระราชทานแก่ผู้ช่วยงาน เป็นเหรียญขนาดใหญ่ นอกจากนี้ เหรียญนี้ยังมีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรก ที่มีพระรูปของพระบรมราชเทวี

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญที่นำมาให้ดู เป็นทั้งชนิดเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

ข้อมูลจำเพาะ
ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปครึ่งพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาบรมราชเทวีผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่อง “มหาสวามิศราบดี” แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงสายสร้อยมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสายสร้อยจุฬจอมเกล้า ซึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจักรีบรมราชวงศ์นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนั้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพะบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ในวาระที่ทรงสถาปนากรุงเทพฯ ครบ ๑๐๐ ปี ส่วนพระบรมรูปของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พะรบรมราชเทวีทรงเครื่อง “มหาสวามินี” ประดับดารา ช้างเผือกหรือมงกุฏไทยริมขอบ เป็นพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยจุฬาลงกรณ์บรมราชาธิราชสว่างวัฒนาบรมราชเทวี
ด้านหลัง ตอนบนของเหรียญเป็นรูปมหาจักรีประกอบด้วยจักร ๑๐ กลีบ กลีบจักรเวียนซ้าย เปล่งรัศมีโดยรอบมีรูปตรีศูลระหว่างกลีบจักรกลางวงจักรเป็นรูปปทุมอุณาโลมอันเป็น พระราชสัญลักษณ์พะบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตอนกลางของเหรียญเป็นรูปเทวดาสององค์ยืนบนแท่นถือพระขรรค์ และยึดชายผ้าองค์ละมุม ตอนกลางผ้าเว้นว่างเพื่อจารึกชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลผ้านี้อยู่เหนือช้างไอราพตยืนบนแท่นเดียวกันอันหมายถึงพระราชอาณาจักร ริมขอบมีข้อความว่า “การแนชั่นนาลเอกษฮิบิชัน” ณ. ท้องสนามหลวงกรุงเทพฯ ๑๒๔๔ ตอนล่างมีข้อความว่า “สำหรับพระราชทานผู้ช่วยในการ” และมีลายดอกไม้อยู่ล่างสุด
ชนิด เงิน – ทองแดง
ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 59 มิลลิเมตร

Categories
King Rama V พ.ศ.๒๔๒๕ (จ.ศ.๑๒๔๔) เหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พ.ศ.๒๔๒๕ (จ.ศ.๑๒๔๔) เหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พ.ศ.๒๔๒๕ (จ.ศ.๑๒๔๔) เหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือนักสะสมหลายท่านเรียกเหรียญฉลองวัดพระแก้วครบร้อยปี เป็นเหรียญที่ระลึกสร้างในวโรกาสที่ฉลองพระนครครบร้อยปี


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโปรดฯให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้น และจัดให้มีงานฉลองไปพร้อมกับการสมโภชน์พระนคร จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างเหรียญนี้ขึ้นเพื่อพระราชทานให้แก่ผู้มาช่วยเหลือในงาน อนึ่ง เหรียญนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 71 มม ซึ่งจัดเป็นเหรียญขนาดใหญ่ที่สุด ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕

หมายเหตุ เหรียญนี้มีปลอมเยอะมาก บล็อคปลอมมีการแต่งแม่พิมพ์จนกระทั่งตัวหนังสือ และพระรูป มีลายเส้นลึกกว่าของจริง จนดูแข็งกระด้าง ของจริงจะดูพริ้วเป็นธรรมชาติกว่า
และเนื้อทองแดงของแท้ มักจะมีรอยร้าว แยกตามขอบเหรียญ คงเป็นมาตั้งแต่ตอนผลิตแล้ว รวมถึงขอบเหรียญก็แตกต่างกัน ลองสังเกตุจากภาพขยาย

ตัวอย่างเหรียญ ชนิด ต่างๆ

  • เนื้อเงิน
  • เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
  • เนื้อทองแดงกะไหล่เงิน
  • เนื้อทองแดงในกล่องไม้

ข้อมูลจำเพาะ
ลักษณะ 
: กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้ายของเหรียญ ฉลองพระองค์พลเรือน
(แบบที่เรียกว่า “เสื้อยันต์”) ทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พระมหาสังวาล์ยนพรัตน์ราชวราภรณ์ ทรงสายสร้อยมหาจักรีบรมรชาวงศ์ (สายบน) ถัดลงมาเป็นสายสร้อยจุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ริมขอบเป็นพระปรมาธิไธย
“สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชวิวงษ์ วรุตมพงษ์บริบัตร วรขัติราชบิโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
ด้านหลัง : เป็นภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้านทิศตะวันออกเบื้องล่างมีข้อความว่า “ การฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จุลศักราช ๑๒๔๔ ” ริมขอบมีข้อความว่า “เป็นที่รฤกในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ” ซึ่งชำรุดปฏิสังขรณ์มาช้านาน ตั้งแต่วันที่ ๓ฯ๑ ๒ ค่ำปีเถาะ เอกศก ๑๒ ถึงวัน ๓ฯ๑๖ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก๑๕ แล้วเสร็จบริบูรณ์
ชนิด : ทองคำ – เงิน – ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 71 มิลลิเมตร