พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญงานพระราชพิธีรัชมงคล

พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญงานพระราชพิธีรัชมงคล

พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญงานพระราชพิธีรัชมงคล

ใช้อักษรย่อ ร.ร.ม. เหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานเป็นที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้ขึ้นเมื่อ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ในวโรกาสที่เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติเป็นปีที่ ๔๐ เสมอด้วยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นรัชกาลที่ยืนยาวกว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารโดยมีการตรา “พระราชบัญญัติเหรียญรัชมงคล รัตนโกสินทรศก ๑๒๖” ขึ้นให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐ เป็นต้นไปสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเข้าทูลละอองธุลีพระบาท ในการพระรสชกุศลรัชมงคล รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) โอกาสเดียว ผู้ใดสมควรจะได้รับพระราชทานชนิดใด แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ความปรากฎใน “พระราชบัญญัติเหรียญรัชมงคลรัตนโกสินทรศก ๑๒๖” ตอนหนึ่งว่า “…(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า จำเดิมแต่เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ในปีมะโรง สัมฤทศก จุลศักราช ๑๒๓๐ นับเรียงปีมาถึงรัตนโกสินทรศก ๑๒๖ นี้ รัชพรรษาพอบรรจบสี่สิบปี เสมอด้วยรัชกาลแห่งสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ที่ ๒ ซึ่งได้ครอบครองราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา ผู้มีรัชกาลยืนยาวกว่าพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ อันมีปรากฏในพระราชพงศาวดาร เป็นเหตุให้ทรงพระปีติเบิกบานพระราชหฤทัย จึงจะได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในกรุงศรีอยุธยาทรงพระราชอุทิศส่วยพระราชกุศล ถวายสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์นั้น ตามรัชสมัยได้เท่าทันเสมอภาค ยากที่จะเทียมถึง จึงจัดว่าเป็นพระราชกุศลรัชมงคลอันอุดม สมควรจะมีสิ่งซึ่งเป็นที่รฦกถึงบญญาภินิหาร แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ ให้อยู่ชั่วกาลนานจึงทรงพระราชดำริห์ ให้สร้างเหรียญที่รฦก”

ด้านหน้า เป็นรูปพระครุฑพ่าห์ มีพระจุลมงกุฎซ้อนบนอก
ด้านหลัง มีอักษรว่า “ที่รฦกรัชกาลที่ ๕ กรุงรัตนโกสิมทร เสมอรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ กรุงศรีอยุธยา ร.ศ. ๑๒๖” และมีห่วงร้อยด้วยแพรแถบนพรัตนราชวราภรณ์ คือ เป็นแพรแถบสีเหลืองขอบเขียว มีริ้วแดงและน้ำเงินคั่นในระหว่างสีเหลือง และขอบเขียวนั้น แพรแถบขนาดกว้าง ๓ เซนติเมตร ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย สำหรับพระราชทานฝ่ายใน แพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย
เหรียญรัชมงคลเนื้อทองคำ

เหรียญรัชมงคล มี ๓ ชนิด คือ เหรียญทองคำ เหรียญเงินกะไหล่ทอง และเหรียญเงิน สำหรับพระราชทานทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เป็นเหรียญรูปกลมรี

ผู้ออกแบบ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด