พ.ศ. ๒๔๘๔ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน

พ.ศ. ๒๔๘๔ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน

พ.ศ. ๒๔๘๔ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน

The medal for Service Rendered in the Interior
ใช้อักษรย่อ ช.ร.

     เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ในรัชสมัยของสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ตามพระราชกำหนดเหรียญช่วยราชการเขตภายใน พุทธศักราช ๒๔๘๔ สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับมอบหน้าที่ให้ช่วยเหลือราชการทหารหรือตำรวจเกี่ยวกับการรบตามคำสั่งของทางราชการ หรือองค์การซึ่งทางราชการรับรอง มี ๒ ชนิด เป็นเหรียญโลหะกลม ต่างกันที่สีของแพรแถบตามสมัยของการรบ ได้แก่ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา เหรียญช่วยราชการเขตภายในการรบสงครามอินโดจีน

ผู้ออกแบบ : กรมศิลปากร

     เหรียญช่วยราชการเขตภายในเป็นเหรียญโลหะกลม ด้านหน้า ตรงกลางมีรูปมหามงกุฎอยู่เหนือจักร ซ้ายขวาเป็นรูปปีกนก มีสมอขัดในวงจักร ด้านหลัง มีจารึกอักษรว่า “ช่วยราชการเขตภายใน” เหรียญห้อยกับแพรแถบสีต่างๆ ตามสมัยของการรบ ซึ่งกำหนดโดยพระราชกฤษฏีกาดังนี้

แพรแถบ การรบสงครามอินโดจีน แพรแถบสีแดงกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร มีริ้วสีขาว ตอนกลางของแถบกว้าง ๕ มิลลิเมตร ข้างบนมีเข็มโลหะรูปช่อชัยพฤกษ์

แพรแถบ การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา แพรแถบสีเขียวกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร มีริ้วสีแดง ตอนกลางของขอบกว้าง ๕ มิลลิเมตร ข้างบนมีเข็มโลหะรูปช่อชัยพฤกษ์

สำหรับพระราชทานบุรุษ ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
สำหรับพระราชทานสตรี ใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย

การพระราชทาน และการส่งคืน / การเรียกคืน

๑. พระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับมอบหน้าที่ให้ช่วยเหลือราชการทหารหรือตำรวจเกี่ยวกับการรบตามคำสั่งของทางราชการหรือองค์การซึ่งทางราชการรับรอง
๒. พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับ เมื่อผู้ได้พระราชทานวายชนม์ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก
๓. ถ้าผู้ได้รับพระราชทานก็ดี ทายาทโดยธรรมก็ดีกระทำความผิดร้ายแรงหรือประพฤติตนไม่สมเกียรติอาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใดๆ ต้องใช้ราคาเหรียญนี้แก่ทางราชการ ตามราคาที่กำหนด
๔. เหรียญนี้ไม่มีประกาศนียบัตร เป็นแต่ประกาศนามในราชกิจจานุเบกษา
๕. ผู้สมควรที่จะได้รับพระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายในประกอบด้วย
๑. ได้กระทำการช่วยเหลือเป็นประโยชน์แก่ราชการทหารหรือตำรวจเกี่ยวกับการรบ
๒. ทางราชการหรือองค์การ ซึ่งทางราชการรับรองได้มีคำสั่งมอบหมายหน้าที่ให้กระทำการช่วยเหลือ
๓. การช่วยเหลือนั้น สำหรับข้าราชการต้องกระทำนอกเหนือหน้าที่ราชการตามปกติ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด