พ.ศ.๒๔๒๕เหรียญพระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮิบิชัน – เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกที่มีพระรูปของพระบรมราชเทวี

พ.ศ.๒๔๒๕ เหรียญพระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮิบิชัน

พ.ศ.๒๔๒๕ (จ.ศ.๑๒๔๔) เหรียญพระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮิบิชัน – เหรียญที่ระลึกเหรียญแรก ที่มีพระรูปของพระบรมราชเทวี

นปี พ.ศ. ๒๔๒๕ อันเป็นปีที่ครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์โปรกเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีสมโภชพระนครและมีกิจกรรมหลายอย่าง กิจกรรมอย่างหนึ่งซึ่งนับเป็นสีสันของงาน คือ จัดให้มีงานพิพิธภัณฑ์เป็นการนำสินค้าพื้นเมืองของสยามมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการให้ประชาชนชม ที่เรียกว่า “เอ็กซ์ฮิบิเชน” (Exhibition) ที่ท้องสนามหลวงซึ่งคล้ายกับการแสดงสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันนี้โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช๒๔ ทรงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจัดงาน


ทั้งนี้ให้มีการเตรียมการล่วงหน้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นเวลา ๑ ปี โปรดเกล้าฯ ให้ชักชวนประชาชนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ดดยนำสิ่งของมาร่วมจัดแสดงอีครั้งหนึ่งเพื่อต้องการให้ประชาชนได้ระลึกถึงของต่างๆ ที่ผลิตได้ในสมัยนั้นเป็นของหายากใน ๑๐๐ ปี ที่ผ่านมา ประชาชนควรยินดีที่บ้านเมืองเจริญขึ้น งานนี้เริ่มในวันที่ ๒๖ เมษายน จนถึงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๒๕ เป็นเวลา ๕๒ วัน ในวันเปิดงาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินด้วยขบวนรถ ประทับพลับพลาจตุรมุข ณ ท้องสนามหลวงทรงประกาศเปิดงานและพระราชดำเนินทอดพระเนตรสิ่งของต่างๆ ที่นำมาจัดแสดง


เรื่อง ราวเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ คาร์ล บ็อค ได้บันทึกรายละเอียดไว้ในหนังสือ ทำให้เราทราบว่าในงานนี้มีการสร้างประรำด้วยไม้ไผ่หลายหลัง มีรั้วไม้ไผ่กั้นโดยรอบและแบ่งเป็นห้องๆ ของที่นำมาแสดงมีประมาณ ๔๐ ชนิด มีของน่าชมอยู่หลายห้อง เช่น เครื่องเพชร พลอย เครื่องเงิน การแสดงหุ่นในเครื่องแต่งกายแบบต่างๆ ภาพเขียน เครื่องมุข เครื่องจักสาน งาช้าง เครื่องมือประมง แร่ธาตุต่างๆ อาวุธ เหรียญและเงินโบราณ ตลอกจนพืชพันธุ์ ของป่า

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ในการฉลองพระราชพิธีสมโภชพระนครครั้งนั้น โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกหลายประเภทในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการนี้ ได้สร้างเหรียญที่ระลึกอย่างหนึ่งเรียกว่า เหรียญที่ระลึก พระราชทานผู้ช่วยในการแนชันนาลเอกษฮิบิชัน (National Exhibition) สำหรับพระราชทานแก่ผู้ช่วยงาน เป็นเหรียญขนาดใหญ่ นอกจากนี้ เหรียญนี้ยังมีความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรก ที่มีพระรูปของพระบรมราชเทวี

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญที่นำมาให้ดู เป็นทั้งชนิดเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

ข้อมูลจำเพาะ
ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปครึ่งพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาบรมราชเทวีผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่อง “มหาสวามิศราบดี” แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงสายสร้อยมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสายสร้อยจุฬจอมเกล้า ซึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจักรีบรมราชวงศ์นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนั้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพะบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ในวาระที่ทรงสถาปนากรุงเทพฯ ครบ ๑๐๐ ปี ส่วนพระบรมรูปของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พะรบรมราชเทวีทรงเครื่อง “มหาสวามินี” ประดับดารา ช้างเผือกหรือมงกุฏไทยริมขอบ เป็นพระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยจุฬาลงกรณ์บรมราชาธิราชสว่างวัฒนาบรมราชเทวี
ด้านหลัง ตอนบนของเหรียญเป็นรูปมหาจักรีประกอบด้วยจักร ๑๐ กลีบ กลีบจักรเวียนซ้าย เปล่งรัศมีโดยรอบมีรูปตรีศูลระหว่างกลีบจักรกลางวงจักรเป็นรูปปทุมอุณาโลมอันเป็น พระราชสัญลักษณ์พะบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตอนกลางของเหรียญเป็นรูปเทวดาสององค์ยืนบนแท่นถือพระขรรค์ และยึดชายผ้าองค์ละมุม ตอนกลางผ้าเว้นว่างเพื่อจารึกชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลผ้านี้อยู่เหนือช้างไอราพตยืนบนแท่นเดียวกันอันหมายถึงพระราชอาณาจักร ริมขอบมีข้อความว่า “การแนชั่นนาลเอกษฮิบิชัน” ณ. ท้องสนามหลวงกรุงเทพฯ ๑๒๔๔ ตอนล่างมีข้อความว่า “สำหรับพระราชทานผู้ช่วยในการ” และมีลายดอกไม้อยู่ล่างสุด
ชนิด เงิน – ทองแดง
ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 59 มิลลิเมตร

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด