การจำแนกประเภทของเหรียญ

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน, เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก, เหรียญที่ระลึก และ เหรียญราชอิสริยาภรณ์
  1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน

    ผลิตออกใช้ สำหรับประชาชนได้มีไว้จับจ่ายใช้สอยเป็นเงินปลีกย่อยผลิตออกมาใช้ตามระบบเศรษฐกิจ สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมี 8 ชนิดราคา คือ 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 5 บาท 10 บาท เปลี่ยนศักราชบนหน้าเหรียญตามปีที่ผลิต

  2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก

    ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตขึ้นเป็นครั้งคราวในโอกาสพิเศษที่สำคัญที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง  และองค์การระหว่างประเทศเพื่อเป็นเกียรติยศชื่อเสียง และศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ผลิตเป็นครั้งคราวและมีจำนวนจำกัด มักจะผลิตด้วยโลหะที่มีค่าสูง เช่น ทองคำ เงิน กษาปณ์ที่ระลึกใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เช่นเดียวกับกษาปณ์หมุนเวียน แต่ประชาชนมักจะนิยมเก็บไว้เป็นที่ระลึกอย่างของมีค่า หรือเพื่อการสะสม

  3. เหรียญที่ระลึก

    ตามความหมายสากลหมายถึงเหรียญที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกหรือเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ที่สำคัญของบ้านเมืองในระยะเวลานั้นๆ โดยมีสัญญลักษณ์หรือการจำลองภาพของเหตุการณ์สำคัญนั้นๆ ลงไว้พร้อมกับคำจารึกและเวลาที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นสำหรับเหรียญที่ระลึกของไทยนั้นสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์และประวัติศาสตร์ของประเทศ

  4. เหรียญราชอิสริยาภรณ์

    ที่นับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เรียกอย่างลำลอง ว่า เหรียญแพรแถบ) หมายถึง เหรียญต่างๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ได้แก่ ข้าราชบริพาร ข้าราชการ ทหารที่ออกศึกสงคราม และสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่ทางราชการกำหนด

    เหรียญราชอิสริยาภรณ์นี้แบ่งได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้

    – เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการสงคราม หรือพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในความกล้าหาญ
    – เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน
    – เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหากษัตริย์
    – เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก



เหรียญที่ระลึกเท่าที่ปรากฎ พอจะแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆ ตามความมุ่งหมายของผู้สร้างดังนี้:

  • เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
    1. งานบรมราชาภิเศก
    2. งานเฉลิมพระชนม์พรรษา
    3. พระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีลงสรงสนาน เฉลิมพระสุพรรณบัฐ งานเฉลิมพระที่นั่งสำคัญ
    4. งานพระบรมศพ
  • เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญ
    – คงอนุโลมตามข้อ 1. เช่น วันประสูติ พิธีสถาปนาพระอิสริยยศ วันสิ้นพระชนม์ ฯลฯ
  • ที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ
    1. การสมโภชพระนครครบรอบ 100 ปี 150 ปี 200 ปี
    2. การเปิดหอพระสมุด อนุสาวรีย์ ฯลฯ
    3. การแสดงนิทรรศการ การเกษตร อุตสาหกรรม ฯลฯ
    4. รางวัล

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด