พ.ศ.๒๔๒๕ (ร.ศ.๑๐๑) เหรียญดุษฎีมาลา หรือเหรียญทรงยินดี และเข็มศิลปวิทยา

พ.ศ.๒๔๒๕ เหรียญดุษฎีมาลา หรือเหรียญทรงยินดี และเข็มศิลปวิทยา

พ.ศ.๒๔๒๕ (ร.ศ.๑๐๑) เหรียญดุษฎีมาลา หรือเหรียญทรงยินดี และเข็มศิลปวิทยา

จัดเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก (เรียกกันง่ายๆว่าเหรียญแพรแถบ) ใช้อักษรย่อ ร.ด.ม. (ศ) เป็นเหรียญบำเหน็จความชอบในราชการซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พศ.๒๔๒๕


อันเป็นมหามงคลสมัยซึ่งบรรจบครบรอบร้อยปีที่หนึ่งนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯและทรงเริ่มพระบรมราชจักรีวงศ์สืบรัตนราไชยมไหศวรรย์ยั่งยืนต่อมาจนถึงรัชกาลของพระองค์ท่าน ในครั้งนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยยศ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ คำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีนามว่า “เครื่องราชอิยริยยศอันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์”

สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้ดำรงรักษาราชประเพณี และรักษาความสามัคคีในราชตระกูลยั่งยืนรุ่งเรืองสืบมา พร้อมกันนั้นทรงมีพระราชดำริว่าข้าราชการที่ได้รับราชการมาด้วยดีมีความสามารถทำคุณประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ราชการนั้นควรจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยยศด้วย


จึงทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้สร้างเหรียญเครื่องประดับชื่อ “ดุษฎีมาลา” สำหรับพระราชทานทหาร พลเรือนตามความดีความชอบ

ตามพระราชบัญญัติเหรียญดุษฎีมาลา พศ๒๔๒๕ กำหนดให้มีเข็มพระราชทาน ประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิด สำหรับใช้กลัดติดกับแถบแพร เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงคุณสมบัติพิเศษตามสาขาความชอบแห่งผู้ได้รับพระราชทาน ดังนี้
๑. เข็มราชการในพระองค์,
๒. เข็มราชการแผ่นดิน
๓. เข็มศิลปวิทยา
๔. เข็มความกรุณา
๕. เข็มกล้าหาญ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้ มีเข็มศิลปวิทยากลัดติดมาในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ เหรียญนี้พระราชทานมาพร้อมกล่องตราแผ่นดิน ด้านในระบุผู้จัดทำเหรียญไว้ชัดเจนว่า Wyon แห่ง London แต่เหรียญในยุครัชกาลที่ ๖ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า จะผลิตโดย Benson (เบนซอน)

เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

จากการค้นคว้า ในหนังสือ “เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา” ซึ่งจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร เนื้อหาภายในจะระบุถึงรายนามผู้ได้รับพระราชทาน และวัน เวลา ที่ได้รับพระราชทานด้วย
นับจำนวนเหรียญชนิดทองคำได้ ๑๙ เหรียญ เงิน และเงินกะไหล่ทองได้ ๒๐๐ กว่าเหรียญ

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : ทรงกลมรี
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญ ใต้พระรูปมีอักษรโรมันตัวจิ๋วว่า J.S. & A.B. WYON SC
ด้านหลัง : เป็นรูปพระสยามเทวาธิราช ทรงพระขรรค์ยืนแท่นพิงโล่ตราแผ่นดิน พระหัตถ์ขวาทรงพวงมาลัยจะสวมที่ตรงจารึกชื่อผู้ได้รับพระราชทาน
ชนิด : ทองคำ กะไหล่ทอง และเงิน
ขนาด : ขนาดกว้าง ๔.๑ ซม สูง ๔.๖ ซม

หมายเหตุ ปัจจุบันยังไม่พ้นสมัยพระราชทาน แต่เหรียญในยุคปัจจุบันมีขนาดเล็กลงกว่าเดิม และรายละเอียดบางส่วนต่างไปจากเดิม

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด