Categories
King Rama VI พ.ศ.๒๔๖๖ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการฯ

พ.ศ.๒๔๖๖ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการฯ

พ.ศ.๒๔๖๖ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการฯ

สร้างเป็นที่ระลึกในงานพระเมรุพระศพ สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการฯ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2466
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ พระนามเดิม พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระปิยมาวดี ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2402

พ.ศ.2424 – เป็นกรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ
พ.ศ.2429 – เป็นกรมหลวงเทววงศ์วโรปการ ทรงดำรงตำแหน่งราชเลขานุการ แล้วเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศและได้ทรงเป็นอัครราชทูตพิเศษเสด็จไปยุโรป ในรัชกาลที่ 6 ได้เลื่อนเป็น กรมพระเทววงศ์วโรปการ
พ.ศ.2459 – ทรงได้เลื่อนเป็นที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธฮ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการทรงดำรงตำแหน่งมหาอำมาตย์นายกตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงเป็นสภานายกแห่งสภาการคลังจนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2466 ทรงเป็นต้นสกุล “เทวกุล”

ลักษณะ เป็นรูปไข่ ขอบเรียบ มีห่วงอยู่ด้านบน
ด้านหน้า เป็นพระรูปสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการครึ่งพระองค์พระพักตร์ตรงทรงเครื่องเต็มยศ
ด้านหลัง มีข้อความว่า


“ประสูติ
วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๒
สิ้นพระชนม์
วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖
งานพระเมรุท้องสนามหลวง
ธ.ค.๖๖”


ขนาด กว้าง 26 มิลลิเมตร ยาว 32 มิลลิเมตร
ชนิด เงินกาไหล่ทอง
สร้าง พ.ศ.2466

Categories
King Rama VI พ.ศ.๒๔๖๖ เหริยญที่ระลึกสมเด็จพระสังมราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์

พ.ศ.๒๔๖๖ เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์

พ.ศ.๒๔๖๖ เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 11 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระนามเดิม “หม่อมเจ้าภุชงค์” พระนามฉายา “สิริวฑ.ฒโน” ทรงเป็นหม่อมเจ้าชายใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 3 กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ และหม่อมปุ่น ชมพูนุท ประสูติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2402 ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ.2416 โดยมีสมเด็จกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ครั้งยังทรงดำรงพระยศ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาใน พ.ศ.2422 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระวันรัต (ทัย พุทธสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ประทับอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

พ.ศ.2429 ได้เป็นเปรียญ 5 ประโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระราชคณะว่า “หม่อมเจ้าสถาพรปิริยพรต” ในปี พ.ศ.2469 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนา ดำรงพระอิสริยยศ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2480

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ลักษณะ เป็นรูปเสมา ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า มีอักษรประดิษฐ์ “ชส” ไขว้กัน อยู่ใต้อุณาโลมเปล่งรัศมีกระหนาบด้วยลายกระหนก ริมขอบมีจุดกลมอยู่โดยรอบ
ด้านหลัง มีอักษรเป็นคาถาพระว่า


“สม.พุทธาท.ยานุภาเวน
สพ.พสน.ตาปวช.ชิโต
สพ.พเวรมติก.กน.โต
สีติภูโตสทาภว”


แปลว่า


“ด้วยอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น
ขอท่านจงห่างจากความเดือดร้อนทุกอย่าง
ก้าวล่วงเวรทั้งปวง
เป็นผู้มีความเย็นในกาลทุกเมื่อ”


เบื้องล่างมีเลขบอกศักราช”๒๔๐๒-๒๔๖๖”

ชนิด เงิน ทองแดง
ขนาด กว้าง 26 มิลลิเมตร ยาว 33 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2466

Categories
King Rama VI พ.ศ.๒๔๖๗ เหริยญที่ระลึกสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงรับราชการทหารดรบ ๒๘ ปี

พ.ศ.๒๔๖๗ เหรียญที่ระลึกสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงรับราชการทหารครบ 28 ปี

พ.ศ.๒๔๖๗ เหรียญที่ระลึกสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงรับราชการทหารครบ 25 ปี

สร้างเป็นที่ระลึกในโอกาสที่จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงรับราชการทหารมาเป็นเวลา 25 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2442-2467

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระนามเดิม “สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์” เป็นพระราชโอรสอันดับที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ประสูติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2424 ทรงศึกษาวิชาทหารที่ประเทศอังกฤษและเยอรมัน ทรงเป็นเสนาธิการทหารบก และเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ภายหลังทรงดำรงตำแหน่งจอมพลเรือราชองครักษ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต” ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งในการมหาร ประวัติศาสตร์ วรรณคดี และการดนตรี สิ้นพระชนม์ที่เมืองบันดงชะวา ประเทศอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2487 ทรงเป็นต้นราชสกุล “บริพัตร”

ลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัดมุม ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า เป็นพระรูปจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญทรงเครื่องแบบเต็มยศทหารบก เบื้องล่างมีลายเซ็นพระนาม “บริพัตร”
ด้านหลัง มีข้อความว่า


“รับสัญญาบัตร
เป็นนายทหารบก
พ.ศ.๒๔๔๒
ถึงพ.ศ.๒๔๖๗
ฉลอง
ครบ ๒๕ ปี”


ชนิด เงิน
ขนาด กว้าง 20 มิลลิเมตร ยาว 28 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2467

Categories
King Rama VI พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญรางวัลสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ แบบ ๑

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญรางวัลสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ แบบ 1

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญรางวัลสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ แบบ ๑

สร้างเพื่อเป็นรางวัลในงาน “สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” ในปี พ.ศ.2468 อันเป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติครบ 15 ปีบริบูรณ์ นับว่าเป็นอภิลักขิตมงคลสมัยของบ้านเมือง ประจวบกับในขณะนั้น ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ หลังมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงมีพระราชดำริที่จะให้มีการสมโภช พร้อมทั้งการแสดงศิลปหัตถกรรมของประเทศเรียกว่า “สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” ขึ้น ณ พื้นที่ดินตำบลศาลาแดง ซึ่งพระราชทานให้เป็นที่สาหรับจัดงานครั้ง เมื่อเสร็จงานแล้วก็จะพระราชทานให้เป็นอุทยานของพระนครต่อไป พระราชทานนามว่า “สวนลุมพินี”

งานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ ก็เป็นอันต้องเลิกล้มไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2468

ลักษณะ รูปเสมา ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า มีรูปช้างยืนแท่น หันหน้าไปทางซ้ายของเหรียญ ริมขอบเป็นลายกระหนก
ด้านหลัง มีข้อความว่า


“สยามรัฐ
พิพิธภัณฑ์
พ.ศ.๒๔๖๘”


ชนิด กาไหล่ทอง กาไหล่เงิน ทองแดงกาไหล่นาก
ขนาด กว้าง 25 มิลลิเมตร ยาว 35 มิลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2468

Categories
King Rama VI พ.ศ.๒๔๖๘ เหริยญรางวัลสยามรัฐพิพิชภัณฑ์* แบบ ๒

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญรางวัลสยามรัฐพิพิธภัณฑ์* แบบ 2

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญรางวัลสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ แบบ ๒

สร้างขึ้นในคราวเดียวกันกับเหรียญรางวัลสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ แบบ ๑

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า มีรูปช้างยืนแท่น หันหน้าไปทางซ้ายของเหรียญ
ด้านหลัง มีข้อความว่า


“สยามรัฐ
พิพิธภัณฑ์
พ.ศ.๒๔๖๘”


ชนิด
 กาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 23 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2468

Categories
King Rama VI พ.ศ.๒๔๖๘ เหริยญที่ระลึกงานพระเมรุกรมพระนรศวรฤทธิ์

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุกรมพระนเรศวรฤทธิ์

พ.ศ.๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุกรมพระนเรศวรฤทธิ์

สร้างในงานพระเมรุกรมพระนเรศวรฤทธิ์ กรมพระนเรศวรฤทธิ์พระนามเดิม “พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร” พระราชโอรสองค์ที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ เจ้าจอมมารดากลิ่น ประสูติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2398 ในรัชการที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ.2418 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯเมื่อพ.ศ.2442 เป็นราชทูตประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระนเรศวรวรฤทธิ์ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมูรธาธร เมื่อพ.ศ.2454 สิ้นพระชนม์วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2468

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า เป็นพระรูปกรมพระนเรศวรฤทธิ์
ด้านหลัง มีเลข

“พ.ศ.๒๓๙๘
พ.ศ.๒๔๖๘”


ชนิด ทองคำ เงิน
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 23 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2468

Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๗

พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๗

พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๗

สร้างเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีบรมราชาภิเศก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498

ทรงเป็นพระราชโอรส อันดับที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถฯ พระราชสมภพ เมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระนามเดิม “สมเด็จเจ้าฟ้าชายประธิปกศักดิเดชน์” ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เมื่อ พ.ศ. 2454

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ลักษณะ  เป็นรูปเสมา ขอบเรียบ ด้านบนเจาะรูใส่ห่วง
ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระดับพระอุระ ผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญมีพระปรมาภิไธยที่ด้านบน “ประชาธิปก” และด้านล่าง “บรมราชาธิราช”
ด้านหลัง มีอักษรจารึก

“ที่ระลึก
งานพระราชพิธี
บรมราชาภิเศก
พ.ศ. ๒๔๖๘”


ชนิด เงิน ทองแดงชุบทอง
ขนาด กว้าง 26 มิลลิเมตร ยาว 33 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2468

Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการพระราชพิธีทำบุญ 50 วัน บรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2468 ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 50 วัน นับจากวันสวรรคต

บล็อคพระกรใหญ่

ลักษณะ เหรียญรูปไข่ มีห่วง
ด้านหน้า รูปในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีเครื่องหมายสวัสดิกะอยู่กลางพระอุระ
ด้านหลัง มีอักษรจารึก


“ปัณณาสมวาร
พระบรมศพพระบาท
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖
วันที่ ๑๔ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๖๘”


ชนิด เงิน
ขนาด กว้าง 25 มิลลิเมตร ยาว 29 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2468

Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึก ปปร. (เสมา ปปร.)

พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึก ปปร. (เสมา ปปร.)

พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึก ปปร. (เสมา ปปร.)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ทำขึ้นตั้งแต่ต้นรัชกาลเพื่อพระราชทานแก่ผู้ที่ทรงคุ้นเคย ตั้งแต่ผู้ใหญ่ลงไปจนถึงเด็ก โดยมีหลายลำดับชั้น ฯลฯ

ชั้นพิเศษ เป็นลงยาสีเขียวแก่ พระปรมาภิไธยย่อ ปปร. และขอบฝังเพชรพระราชทานแก่พระประยูรญาติชั้นผู้ใหญ่

ชั้นหนึ่ง เป็นพื้นสีเขียวอ่อน ปปร. และขอบเป็นทอง พระราชทานแก่เจ้านายและขุนนาง

ชั้นรอง เป็นทองล้วน พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร

ชั้นสาม พื้นเงิน ปปร. และขอบเป็นทอง พระราชทานแก่ผู้น้อยตามลำดับลงไป

ชั้นสี่ เป็นเงินล้วน พระราชทานแก่ผู้น้อยเป็นลำดับลงไป

ลักษณะ   เป็นรูปเสมา มีห่วงอยู่ด้านบน
ด้านหน้า เป็นพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” ไขว้กันอยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
ด้านหลัง ไม่มีรูปหรือข้อความ
ชนิด  ดูรายละเอียดด้านล่าง
ขนาด กว้าง 24 มิลลิเมตร ยาว 38 มิลลิเมตร
สร้าง  พ.ศ. 2468 – 2477

Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๕ เหรียญพระแก้วมรกต ๑๕๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๕ เหรียญพระแก้วมรกต ๑๕๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๕ เหรียญพระแก้วมรกต ๑๕๐ ปี

ในพ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้ทันกับการสมโภชกรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 150 ปี ใน พ.ศ. 2475 โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานคณะกรรมการ

คณะกรรมการประมาณเงินที่จะต้องใช้ในการปฏิสังขรณ์ไว้ 6 แสนเศษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธา อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 2 แสนบาท รัฐบาลอนุญาตเงินแผ่นดินอุดหนุนอีก 2 แสนบาท ส่วนที่ยังขาดอยู่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรรมการจัดดำเนินการเรี่ยไรพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลร่วมกัน* โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จและเหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึกตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้

1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ
2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน
3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล)
4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง
และผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป กรรมการจะได้รวบรวมรายนามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นคราวๆ

ต่อมาปรากฏในใบแจ้งความของสำนักผู้อำนวยการวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้ความว่าเหรียญที่ระลึกชุดนี้ได้สร้างก่อนการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่และเนื่องจากประชาชนมีความศรัทธามาก จึงได้ให้หลายบริษัทช่วยกันผลิตเพื่อให้ทันความต้องการคือ บริษัทเดอลารู เพาะช่าง นาถาจารุประกร สุวรรณประดิษฐ์ ฮั่งเตียนเซ้ง โดยผู้บริจาคเงินบำรุง จะได้รับเหรียญสมนาคุณตามลำดับดังนี้

1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญทองคำ
2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญเงิน
3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญนิเกิล
4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญทองแดง

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เนื้อเงินบล็อคเจนีวา

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
บล็อคหลังตัวหนังสือ

เนื้อทองแดงบล็อคทำในประเทศ

ลักษณะ  กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า ภายในเรือนแก้วเป็นรูปพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต ปางสมาธิประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย และมีดอกไม้อยู่โดยรอบ
ด้านหลัง  เป็นรูปยันต์กงจักร มีอักษรจารึก มรรค 8

อ่านว่า ทิ คือ สัมมาทิฐิ
อ่านว่า สํ คือ สัมมาสังกัปโป
อ่านว่า วา คือ สัมมาวาจา
อ่านว่า กํ คือ สัมมากัมมันโต
อ่านว่า อา คือ สัมมา อาชิโว
อ่านว่า วา คือ สัมมา วายาโม
อ่านว่า ส คือ สัมมา สติ
อ่านว่า สํ คือ สัมมาสมาธิ

ที่ริมขอบเหรียญบางเหรียญ จะมีชื่อบริษัทผู้ผลิตดังนี้ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร ฮั่งเตียนเซ้ง และ Georges Hantz Geneve U.G.D.

ชนิด  ทองคำ เงิน นิเกิล ทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร
สร้าง  พ.ศ. 2470 – 2475