Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึกในงานยืนชิงช้า

พ.ศ. ๒๔๗๐ – พ.ศ. ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึกในงานยืนชิงช้า

พ.ศ. ๒๔๗๐ – พ.ศ. ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึกในงานยืนชิงช้า

ราชพิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีปีใหม่ของพราหมณ์ โดยเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาเยี่ยมโลก โดยสมมติให้ “พระยายืนชิงช้า” เป็นพระอิศวรผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นพระยายืนชิงช้า จะเป็นข้าราชการจากกรมพระกลาโหม พิธีนี้มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มาเลิกเสียในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2477 พระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายคือ “พระยาชลมารควิจารณ์”

ลักษณะ  (เฉพาะปีพ.ศ.๒๔๗๑) กลมแบน ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า มีลายช่อดอกไม้อยู่รอบๆ เหรียญ
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“ที่ระลึก
ในงานยืนชิงช้า
นายพลโท
พระยากลาโหมราชเสนา
พ.ศ. ๒๔๗๑”

ชนิด  เงิน
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 23 มิลลิเมตร

Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๗๑ เหรียญที่ระลึกในงานพ ระเมรุพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

พ.ศ. ๒๔๗๑ เหรียญที่ระลึกในงานพระเมรุพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

พ.ศ. ๒๔๗๑ เหรียญที่ระลึกในงานพระเมรุพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

เนื้อเงินกะไหล่ทอง

สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ ๕๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ ๓ ซึ่งประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาสำลี แห่งสกุลบุนนาค เมื่อแรกเสด็จพระราชสมภพ ในฐานะพระราชธิดาที่ประสูติจากเจ้าจอมมารดา จึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี” พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดา “รุ่นกลาง” เช่นเดียวกันกับ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งต่อมา ได้ทรงรับราชการฝ่ายในเป็นพระมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยกัน

     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบมา พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ในฐานะพระขนิษฐภคินี ทรงเปลี่ยนพระฐานะจาก พระเจ้าลูกเธอ เป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

     เมื่อมีพระชนมายุได้ประมาณ ๑๗ พรรษา จากหลักฐานที่ปรากฏพระองค์ทรงเป็นเจ้านายชั้น “ลูกหลวง” พระองค์ที่สองที่ได้ถวายตัวเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และภายหลังพระองค์เจ้าสุขุมาลฯทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรในปี ๒๔๒๐ ซึ่งทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก (ชั้นทูลกระหม่อม) พระองค์แรกที่มีพระชนม์ พระองค์จึงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ทรงรับพระราชทานเครื่องอิสริยยศราชูปโภคลงยาราชาวดี นับว่าเป็นพระมเหสีพระองค์แรกที่มีการเฉลิมพระนามและพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์มีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระองค์ทรงได้รับการเลื่อนพระยศเป็น “พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี” และทรงดำรงฐานันดรศักดิ์นี้จนสิ้นรัชกาลโดยพระองค์มีพระฐานะเป็นพระมเหสีลำดับสาม รองจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

พระรูปทรงฉายเมื่อทรงพระเยาว์

เมื่อผลัดแผ่นดิน พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีฯ ก็ทรงเป็นเช่นเดียวกันกับกับพระมเหสีเทวีพระองค์อื่นๆ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ โศกสลด และปลีกพระองค์ออกจากพระบรมมหาราชวังมานับตั้งแต่นั้น โดยพระองค์พร้อมด้วย สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ได้เสด็จออกมาประทับที่วังบางขุนพรหมซึ่งรัชกาลที่ ๕ พระราชทานให้เป็นวังที่ประทับของพระราชโอรส คือ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ และยังทรงดำรงพระยศเป็นพระนางเจ้าฯ พระราชเทวีจนตลอดรัชกาลที่ ๖

     ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรำลึกถึงพระคุณอันประเสริฐที่สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีมีต่อพระองค์จึงทรงเฉลิมพระนามาภิไธยถวายเป็น “สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า” และด้วยเหตุผลเดียวกันนั้น ทรงเลื่อนพระอิสริยยศพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในรัชกาลที่ ๕ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี”

     ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยมีพระบรมราชโองการให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรีฯ ในรัชกาลที่ ๗ มิได้ทรงเป็นพระปิตุจฉาฯ ในรัชกาลนั้นอีก ดังนั้น เพื่อป้องกันความสับสนจึงมีประกาศให้ออกพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ทั้งนี้ ประกาศนี้มิใช่พระบรมราชโองการ และมิใช่พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และยังควรออกพระนามว่า สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในรัชกาลที่ ๗ มากกว่า เนื่องจากเป็นพระราชอิสริยยศสุดท้าย และสูงกว่าพระราชอิสริยยศเดิม

     สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคพระปับผาสะ (ปอด) พิการในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันเสาร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะนพศก จ.ศ. ๑๒๘๙ (๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐) ณ ตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหม พระชนมายุ ๖๖ พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี พร้อมด้วยพระนัดดา และพระนัดดาทรงเลี้ยง ทรงหมอบเฝ้าฯ อยู่ข้างพระที่ พระศพอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระเกียรติยศถวายไว้อาลัย ๑๐๐ วันเป็นกรณีพิเศษ พระเมรุ นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงหนังสือ “สามก๊ก” แจกเป็นของที่ระลึก และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์โคลงถวายหน้าพระศพทุกสัตมวาร

     งานพระราชทานเพลิงพระศพจัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธาน ณ พระเมรุท้องสนามหลวง

ข้อมูลจาก วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี

ลักษณะ  รูปไข่ ขอบหยัก ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า พระรูปของพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ฉายพระพักต์ด้านข้าง ครึ่งพระองค์
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“ที่รฤก
งานพระเมรุ
ท้องสนามหลวง
พ.ศ. ๒๔๗๑”

ชนิด  เงินกะไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด สูง ๓.๕ ซม กว้าง ๒.๕ ซม
สร้าง  พ.ศ. ๒๔๗๑

Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎ ฯ

พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏฯ

พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ฯ

สร้างเป็นที่ระลึกในงานพระเมรุพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ฯ พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระนามเดิมหม่อมเจ้าหญิงสาย เป็นธิดาของ กรมหมื่นภูมินทรภักดี พระราชโอรสองค์ที่ 15 ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มารดาชื่อ เจ้าจอมมารดาจีน

หม่อมเจ้าหญิงสาย ได้รับสถาปนาเป็นพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ พ.ศ. 2431 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็น พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา สมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์นี้ ทรงเป็นผู้ริเริ่มตั้งโรงเลี้ยงเด็กขึ้นเป็นแห่งแรกด้วยทุนทรัพย์ของพระองค์เอง ทรงเป็นผู้ส่งเสริมการศึกษา โดยเปิดสถานศึกษาขึ้นที่ในพระบรมมหาราชวัง ณ ตำหนักของพระองค์เอง

ลักษณะ  เป็นรูปไข่ ขอบเรียบมีห่วงอยู่ด้านบน
ด้านหน้า เป็นพระรูปพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏปิยมหาราชปดิวรัดา ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้ายของเหรียญ
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“พระ
วิมาดาเธอ
กรมพระ
สุทธาสินีนาฏ
ปิยมมหาราช
ปดิวรัดา
๒๔๗๒”

ชนิด  เงิน
ขนาด กว้าง 25 มิลลิเมตร ยาว 30 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2472

Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญกรมพระนราธิป พระชนมายุครบ ๖๘ พรรษา

พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญกรมพระนราธิป พระชนมายุครบ ๖๘ พรรษา

พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญที่ระลึกกรมพระนราธิปฯ พระชนมายุครบ ๖๘ พรรษา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าวรวรรณากร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 56 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียน ประสูติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404

     พระองค์เจ้าวรวรรณากร ทรงเริ่มรับราชการที่หอรัษฏากรพิพัฒ เป็นพนักงานการเงินที่ฝากแบงค์ต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2432 ดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนกรมขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า


“พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มกุฏวงศ์นฤบดี มหากวีนิพันธนวิจิตร ราชโกษาธิกิจจิรุปการ บรมนฤบาลมหาสวามิภักดิ์ ขัตติยศักดิ์อดุลพหุลกัลยาณวัตร ศรีรัตนไตรย์คุณาลงกรณ์ นรินทรบพิตร”


     พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประชวรพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชันษา 70 ปี

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

พ.ศ.๒๔๗๕ เหรียญพระยาพหลพลพยุหเสนา แบบที่ ๑

Categories
Constitution Commemorative Medal Group

พ.ศ.๒๔๗๕ เหรียญที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗ มิถุนายน

Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๗๕ เหรียญที่ ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า

พ.ศ. ๒๔๗๕ เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า

พ.ศ. ๒๔๗๕ เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า

เมื่อ พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า เมื่อถึง พ.ศ.2475 กรุงเทพฯ จะมีอายุครบ 150 ปี สมควรจะมีการสมโภชพระนคร และสร้างสิ่งสำคัญไว้เป็นอนุสรณ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทำทางถนนเชื่อมพระนครกับจังหวัดธนบุรี โดยมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประดิษฐานอยู่ที่เชิงสะพานฝั่งพระนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำสัญญากับบริษัท ดอร์แมนลอง จำกัด แห่งประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2472

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นรูปสะพานพระพุทธยอดฟ้าอยู่ในวงกรอบ นอกวงกรอบเบื้องบนมีอักษรภาษาอังกฤษจารึกว่า “PHRABUDDHA YOD FA” เบื้องล่างว่า “MEMORIAL BRIDGE BANGKOK”
ด้านหลัง  มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า

“COMMENCED NOVEMBER 20TH 1929
COMPLETED JUNE 4TH 1931
TOTAL LENGTH 754 FT.
DOUBLE LEAF BASCULE SPAN 260 FT.
TWO FIXED SPANS OF 247 FT.EACH
DESIGNED AND BUILT BY
DORMAN,LONG & CO.LTD.,ENGLAND
UNDER THE SUPERVISION OF
H.R.H.PRINCE PURACHATRA
OPENED APRIL 6TH 1932
BY
H.H.KING PRAJADHIPOK”

ชนิด  เงิน
ขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง 57 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2475

Categories
King Rama VII พ.ศ. ๒๔๘๐ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๔๘๐ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๔๘๐ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ

สร้างเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า  เป็นรูปอาคารด้านทิศเหนือหันหน้าออกถนนพระรามที่ 1 เหนืออาคาร ด้านหน้าเป็นรูปเอราวัณ
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“ที่ระลึก
พระราชพิธีกิ่ฤกษ์
สนามกีฬาแห่งชาติ
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์
พุทธศักราช ๒๔๘๐”

ชนิด  ทองแดง
ขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2480

Categories
King Rama VIII พ.ศ. ๒๔๘๑ เหรียญที่ระลึกเสด็จนิวัตน์พระมหานคร

พ.ศ. ๒๔๘๑ เหรียญที่ระลึกเสด็จนิวัตน์พระมหานคร

พ.ศ. ๒๔๘๑ เหรียญที่ระลึกเสด็จนิวัตน์พระมหานคร

สร้างเป็นที่ระลึกในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัฒน์ประเทศไทย พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระอนุชาธิราช เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์ในคราวปิดภาคเรียน เมื่อพฤศจิกายน พ.ศ. 2481

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล) พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมันนี เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะพระชนมพรรษาได้ 10 พรรษา เสด็จสวรรคตเมิ่วันที่ 9 มิถุนายยน พ.ศ. 2489 ขณะพระชนมพรรษา 21 พรรษา รวมเวลาที่ทรงดำรงในสิริราชสมบัตื 13 ปี

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ มีวงเส้นเป็นชั้นๆ บนขอบเหรียญ
ด้านหน้า  เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระดับพระอุระผินพระพักตร์ทางเบื้องขวาของเหรียญ ริมขอบมีพระปรมาภิไธย “สยามินทร์” และ “อานันทมหิดล” มีจุดไข่ปลาอยู่โดยรอบริมขอบ
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“นิวัฒน์
พระมหานคร
๒๔๘๑”

ชนิด  เงิน
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2481


      

Categories
King Rama VIII พ.ศ. ๒๔๙๐ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

พ.ศ. ๒๔๙๐ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

พ.ศ. ๒๔๙๐ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

สร้างเนื่องในงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2490

สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระราชโอรสอันดับที่ 62 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณรายประสูติเมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 เมื่อ พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงศ์” ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองหลายต่อหลายตำแหน่ง ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการพระองค์แรก เมื่อพ.ศ. 2432 และเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงวัง และอธิบดีคลังทหารบก ทหารเรือ ทรงเป็นนายพลเอก กรรมการสภาการคลัง เมื่อพ.ศ. 2456 ขณะดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์” ครั้งสุดท้ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นอภิรัฐมนตรี อุปนายกราชบัณฑิตสภาแผนกศิลปากร ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 จนถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระอิศริยยศครั้งสุดท้ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลคือ “สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์” สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 83 พรรษาเศษ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2490 ทรงเป็นต้นราชสกุล “จิตรพงศ์”

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า เป็นพระรูปสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ครึ่งพระองค์
ด้านหลัง  มีพระตรา “น เทียนสิน” อันเป็นตราประจำพระองค์และมีเลขศักราช “พ.ศ. ๒๔๐๖” “พ.ศ. ๒๔๙๐”

ชนิด  ทองแดง
ขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2490