ชุดเหรียญราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วน รัชกาลที่ ๕ (เหรียญย่อ)

ชุดเหรียญราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วน รัชกาลที่ ๕ (เหรียญย่อ)

ชุดเหรียญราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วน รัชกาลที่๕ (เหรียญย่อ)

เหรียญราชอิสริยาภรณ์ชนิดย่อส่วน ใช้ประดับในการแต่งเครื่องแบบเพื่อร่วมงานราตรีสโมสร ซึ่งเป็นประเพณีนิยมมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ จวบจนรัชกาลปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากงานราตรีสโมสรในสมัยก่อนมักจะมีการลีลาศ ซึ่งการประดับเหรียญและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปกติอาจเกิดความไม่สะดวก จึงนิยมประดับเหรียญชนิดย่อส่วนแทน

คำบรรยายภาพ: เหรียญราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วน จากซ้ายไปขวา เหรียญรัตนาภรณ์ วปร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว), เหรียญรัชฎาภิเษกมาลา (เหรียญเปลือย), เหรียญประพาสยุโรปครั้งที่๑, เหรียญทวีธาภิเศก, เหรียญรัชมงคล, เหรียญรัชมังคลาภิเศก, และเหรียญบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
คำบรรยายภาพ: เหรียญรัชฎาภิเศกมาลาย่อส่วน 
คำบรรยายภาพ: เหรียญรัชมังคลาภิเศกย่อส่วน

สำหรับระเบียบการประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ชนิดย่อส่วน ขอทำการคัดย่อ และเรียบเรียงจาก เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และ Website Thai Royal Navy ดังนี้

วิธีประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องแบบสโมสร 
ชึ่งเป็นเครื่องแต่งกายแบบเต็มยศ สำหรับเวลาค่ำที่เรียกว่า Full Dress Tuxedo หรือ White Tie ให้ปฏิบัติดังนี้

  • ๑. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดประดับหน้าอกเสื้อ สำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วน ขนาด ๑ ใน ๓ ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน ที่ปกเสื้อเบื้องซ้ายของเสื้อชั้นนอก ใต้เครื่องหมายสังกัดพองาม หากไม่มีเครื่องหมายสังกัด ให้ประดับที่ปกเสื้อพองาม
  • ๒. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอมีดารา สำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน โดยไม่ย่อส่วนหากได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดคล้องคอ หรือชนิดคล้องคอมีดาราหลายดวง ให้ประดับเฉพาะเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่มีลำดับเกียรติสูงสุดเท่านั้น โดยคล้องดวงตราให้แพรแถบ อยู่ใต้ผ้าผูกคอ ส่วนดาราให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายด้านนอก
  • ๓. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดสายสะพาย สำหรับเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน โดยให้สวมสายสะพายทับเสื้อตัวใน โดยไม่สวมสายสร้อย
  • ๔. การแต่งกายเครื่องแบบสโมสรที่มีหมายกำหนดการระบุ ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับพระราชทาน โดยไม่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ย่อส่วน ทหารหญิงประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญในโอกาสที่แต่งเครื่องแบบทหาร ให้ใช้ห้อยทับแพรแถบ และประดับเช่นเดียวกับ ทหารชาย ในโอกาสที่นัดหมาย ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประเภทเหรียญ ให้ประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ เท่านั้น เช่น เหรียญชัยสมรภูมิ เหรียญพิทักษ์เสรีชน เหรียญจักรมาลา เหรียญที่ระลึกต่าง ๆ ห้ามนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกประเภทมาประดับ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด