พ.ศ.๒๔๒๕ (จ.ศ.๑๒๔๔) เหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พ.ศ.๒๔๒๕ เหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พ.ศ.๒๔๒๕ (จ.ศ.๑๒๔๔) เหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เหรียญที่ระลึกในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือนักสะสมหลายท่านเรียกเหรียญฉลองวัดพระแก้วครบร้อยปี เป็นเหรียญที่ระลึกสร้างในวโรกาสที่ฉลองพระนครครบร้อยปี


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโปรดฯให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้น และจัดให้มีงานฉลองไปพร้อมกับการสมโภชน์พระนคร จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างเหรียญนี้ขึ้นเพื่อพระราชทานให้แก่ผู้มาช่วยเหลือในงาน อนึ่ง เหรียญนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 71 มม ซึ่งจัดเป็นเหรียญขนาดใหญ่ที่สุด ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕

หมายเหตุ เหรียญนี้มีปลอมเยอะมาก บล็อคปลอมมีการแต่งแม่พิมพ์จนกระทั่งตัวหนังสือ และพระรูป มีลายเส้นลึกกว่าของจริง จนดูแข็งกระด้าง ของจริงจะดูพริ้วเป็นธรรมชาติกว่า
และเนื้อทองแดงของแท้ มักจะมีรอยร้าว แยกตามขอบเหรียญ คงเป็นมาตั้งแต่ตอนผลิตแล้ว รวมถึงขอบเหรียญก็แตกต่างกัน ลองสังเกตุจากภาพขยาย

ตัวอย่างเหรียญ ชนิด ต่างๆ

  • เนื้อเงิน
  • เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
  • เนื้อทองแดงกะไหล่เงิน
  • เนื้อทองแดงในกล่องไม้

ข้อมูลจำเพาะ
ลักษณะ 
: กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้ายของเหรียญ ฉลองพระองค์พลเรือน
(แบบที่เรียกว่า “เสื้อยันต์”) ทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พระมหาสังวาล์ยนพรัตน์ราชวราภรณ์ ทรงสายสร้อยมหาจักรีบรมรชาวงศ์ (สายบน) ถัดลงมาเป็นสายสร้อยจุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ริมขอบเป็นพระปรมาธิไธย
“สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชวิวงษ์ วรุตมพงษ์บริบัตร วรขัติราชบิโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
ด้านหลัง : เป็นภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้านทิศตะวันออกเบื้องล่างมีข้อความว่า “ การฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จุลศักราช ๑๒๔๔ ” ริมขอบมีข้อความว่า “เป็นที่รฤกในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ” ซึ่งชำรุดปฏิสังขรณ์มาช้านาน ตั้งแต่วันที่ ๓ฯ๑ ๒ ค่ำปีเถาะ เอกศก ๑๒ ถึงวัน ๓ฯ๑๖ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก๑๕ แล้วเสร็จบริบูรณ์
ชนิด : ทองคำ – เงิน – ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 71 มิลลิเมตร

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด