พ.ศ.๒๔๒๕ (ร.ศ.๑๐๐) เหรียญสตพรรษมาลา หรือ เหรียญ ๕ รัชกาล

พ.ศ. ๒๔๒๔ เหรียญสตพรรษมาลา หรือ เหรียญ ๕ รัชกาล

พ.ศ. ๒๔๒๔ (ร.ศ.๑๐๐) เหรียญสตพรรษมาลา หรือ เหรียญ ๕ รัชกาล

จัดเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก (เรียกกันง่ายๆว่าเหรียญแพรแถบ) ใช้อักษรย่อ ส.ม. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ ร.ศ.๑๐๐ (พ.ศ.๒๔๒๔) สำหรับเพื่อพระราชทานเป็นที่ระลึกในการสมโภชครบร้อยปี ของการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี โดยถือวันฝังหลักพระนครในวันที่ ๒๑ เมษายน พศ ๒๓๒๕ มาครบร้อยปีแรก

เหรียญสตพรรษมาลาที่พบเห็นมีหลายเนื้อโลหะคือ เหรียญทอง เงิน เหรียญทองแดง เหรียญเงินกะไหล่ทอง เหรียญทองแดงกะไหล่เงิน (กะไหล่ หมายถึงวิธีการแบบหนึ่งในการเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะ ด้วยเงิน หรือทอง ) พระราชทาน ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ชนิดทองพระราชทานตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า และชั้นเจ้าพระยาขึ้นไป ส่วนชนิดเงินและทองแดงพระราชทานแต่ผู้ที่รองแต่ชั้นนั้นลงมา เหรียญสตพรรษมาลาเป็นเหรียญรูปกลมแบนขนาดเขื่อง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖.๓ ซม ที่ขอบมีรัศมีโดยรอบ ๒๐ แฉก เหรียญนี้ใช้ห้อยกับแพรแถบสีแดงกับขาว กว้าง ๓.๕ ซม ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้ เป็นเนื้อเงินกะไหล่ทอง ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ซ้อนกัน

ส่วนด้านหลัง มีข้อความบ่งบอกวัตถุประสงค์การจัดงานพิธี อนึ่ง จากหนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย จัดทำโดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

เหรียญสตพรรษมาลา เนื้อเงิน

เหรียญสตพรรษมาลา เนื้อบรอนซ์

มีข้อสังเกตุบางประการเกี่ยวกับเหรียญนี้
๑) ลักษณะชื่อ เบนซอน ใต้พระรูปต้องคมชัด ตามรูป
๒) เหรียญแท้ ที่เป็นเนื้อเงินหายากมากครับ ที่พบ มักจะเป็นทองแดง กะไหล่เงิน หรือเปียกเงินหนา ชนิดแยกแทบไม่ออก ระวังซื้อผิดราคาครับ
๒) เท่าที่สังเกตุดู พบว่า เหรียญนี้ (ชนิดแพรแถบ) มีอย่างน้อย 2 บล็อค คล้ายกันมาก แต่ต่างตรงปลายรัศมีแฉกขอบเหรียญ น้ำหนักก็ต่างกันพอสมควร

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด