สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ
EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕
จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
ได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมาก
และเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้น
และในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”
.
เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของ
เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕
มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกัน
เพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์
EP2 | เหรียญที่ระลึก การแสดงรูปฉาย วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.๒๔๕๖ (เหรียญวิจิตรฉายา)
ถ้าพูดถึงเรื่องประเทศไทยกับการถ่ายภาพ
นับได้ว่าอยู่คู่กับคนไทยมาร้อยกว่าปีแล้ว
และได้มีการบันทึกเหตุการณ์ บุคคลสำคัญ
ไว้เป็นบันทึกภาพถ่ายมากมาย
.
#เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ตอนที่ 2 ได้นำเสนอความเป็นมาของ
การถ่ายภาพกับประเทศสยามเมื่อครั้นเข้ามาสู่ไทยในยุคแรก
รวมไปถึงบอกเล่าความเป็นมาของการได้รับเหรียญรางวัล
จากการประกวดภาพถ่ายหรือที่รู้จักในนาม
เหรียญที่ระลึก การแสดงรูปฉาย วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.๒๔๕๖
หรือเหรียญวิจิตรฉายา ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
EP3 | เหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๔๒๔
จากความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและความสูญเสีย จากโรคระบาดในอดีต
จากเหตุการณ์ไหนที่ทำให้มีการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย
และกว่าจะมาเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่เราเห็นกันนั้น
ต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนมามากมายขนาดไหน
ทำไมการมอบเหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๔๒๔
จึงมีความสำคัญทางบันทึกทางประวัติศาสตร์
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบกันผ่านคลิปนี้ด้วยกัน
EP4 | เหรียญที่ระลึก การเปิดสถานเสาวภา พ.ศ.๒๔๖๕
ในอดีตทีมแพทย์ต้องผ่านการคิดค้น ทุ่มเท และใช้ระยะเวลาในการวิจัยเป็นอย่างมาก
.
เล่าเรื่องผ่านเหรียญในตอน
เหรียญที่ระลึกการเปิดสถานเสาวภา พ.ศ. ๒๔๖๕
จึงอยากนำเสนอบันทึกที่สำคัญทางหน้าประวัติศาสตร์สภากาชาดไทย
กับความก้าวหน้าทางการแพทย์
.
และทำไมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จึงเปรียบเสมือนแสงสว่างในพื้นที่ห่างไกล
มาร่วมรับชมไปพร้อมกันได้ในคลิปนี้
ทำไมการมอบเหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๔๒๔
จึงมีความสำคัญทางบันทึกทางประวัติศาสตร์
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบกันผ่านคลิปนี้ด้วยกัน
EP5 | เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า พ.ศ. ๒๔๗๕
กว่าจะมาเป็นสะพานพุทธที่เราได้ใช้งานกัน
ในสมัยก่อนนั้นการคมนาคมอาจจะยังไม่ได้มีหลากหลายนัก
การที่ผู้คนสองฝั่งจะไปมาหาสู่กันก็ค่อนข้างยากลำบาก
การสร้างสะพานพุทธในช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 นั้น
นอกจากจะเป็นการเชื่อมการคมนาคมระหว่าง
คนฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีเข้าไว้ด้วยกันแล้ว
ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางการค้าขายของผู้คนสองฝั่งอีกด้วย
.
เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ตอน เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า พ.ศ. ๒๔๗๕
จึงอยากนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ที่หาชมได้ยาก
และที่มาก่อนจะมาเป็นสะพาะพุทธให้ทุกท่านได้รับชมกัน