สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕

จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
ได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมาก
และเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้น
และในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”
.
เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของ
เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕
มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกัน
เพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

EP2 | เหรียญที่ระลึก การแสดงรูปฉาย วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.๒๔๕๖ (เหรียญวิจิตรฉายา)

ถ้าพูดถึงเรื่องประเทศไทยกับการถ่ายภาพ
นับได้ว่าอยู่คู่กับคนไทยมาร้อยกว่าปีแล้ว
และได้มีการบันทึกเหตุการณ์ บุคคลสำคัญ
ไว้เป็นบันทึกภาพถ่ายมากมาย
.
#เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ตอนที่ 2 ได้นำเสนอความเป็นมาของ
การถ่ายภาพกับประเทศสยามเมื่อครั้นเข้ามาสู่ไทยในยุคแรก
รวมไปถึงบอกเล่าความเป็นมาของการได้รับเหรียญรางวัล
จากการประกวดภาพถ่ายหรือที่รู้จักในนาม
เหรียญที่ระลึก การแสดงรูปฉาย วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.๒๔๕๖
หรือเหรียญวิจิตรฉายา ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง

EP3 | เหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๔๒๔

จากความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและความสูญเสีย จากโรคระบาดในอดีต

จากเหตุการณ์ไหนที่ทำให้มีการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย

และกว่าจะมาเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่เราเห็นกันนั้น
ต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนมามากมายขนาดไหน
ทำไมการมอบเหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๔๒๔
จึงมีความสำคัญทางบันทึกทางประวัติศาสตร์
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบกันผ่านคลิปนี้ด้วยกัน

 EP4 | เหรียญที่ระลึก การเปิดสถานเสาวภา พ.ศ.๒๔๖๕

ในอดีตทีมแพทย์ต้องผ่านการคิดค้น ทุ่มเท และใช้ระยะเวลาในการวิจัยเป็นอย่างมาก
.
เล่าเรื่องผ่านเหรียญในตอน
เหรียญที่ระลึกการเปิดสถานเสาวภา พ.ศ. ๒๔๖๕
จึงอยากนำเสนอบันทึกที่สำคัญทางหน้าประวัติศาสตร์สภากาชาดไทย
กับความก้าวหน้าทางการแพทย์
.
และทำไมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จึงเปรียบเสมือนแสงสว่างในพื้นที่ห่างไกล
มาร่วมรับชมไปพร้อมกันได้ในคลิปนี้

ทำไมการมอบเหรียญที่ระลึกรางวัลการรักษาอหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๔๒๔
จึงมีความสำคัญทางบันทึกทางประวัติศาสตร์
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบกันผ่านคลิปนี้ด้วยกัน

EP5 | เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า พ.ศ. ๒๔๗๕

กว่าจะมาเป็นสะพานพุทธที่เราได้ใช้งานกัน
ในสมัยก่อนนั้นการคมนาคมอาจจะยังไม่ได้มีหลากหลายนัก
การที่ผู้คนสองฝั่งจะไปมาหาสู่กันก็ค่อนข้างยากลำบาก
การสร้างสะพานพุทธในช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 นั้น
นอกจากจะเป็นการเชื่อมการคมนาคมระหว่าง
คนฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีเข้าไว้ด้วยกันแล้ว
ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางการค้าขายของผู้คนสองฝั่งอีกด้วย
.
เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ตอน เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า พ.ศ. ๒๔๗๕
จึงอยากนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ที่หาชมได้ยาก
และที่มาก่อนจะมาเป็นสะพาะพุทธให้ทุกท่านได้รับชมกัน

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด