พ.ศ.๒๔๒๙ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

พ.ศ.๒๔๒๙ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

พ.ศ.๒๔๒๙ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามกุฎราชกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา ในปี พศ๒๔๒๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้จัดงานพระราชพิธีสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ในขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๙ พรรษา ๖ เดือน และการพระราชพิธีครั้งนั้น ได้จัดขึ้นตามโบราณราชประเพณีทุกประการ

อนึ่ง เกี่ยวกับจำนวนเหรียญที่มีการพระราชทานนั้น จากการค้นข้อมูลใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบบันทึกในวันอังคาร แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ วันที่รัชกาล ๖๖๔๓ (๑๘ มกราคม พศ ๒๔๒๙) ขอคัดย่อข้อความบางส่วนที่เกี่ยวข้องมาดังนี้ “อนึ่ง เมื่อพระบรมวงศานุวงศ์ ท่านเสนาบดี พระยาพระหลวง ข้าราชการในกรุงหัวเมือง เจ้าประเทศราชเข้ามาเฝ้าทูลละอองทุลีพระบาทถวายคำนับหน้าพระที่นั่งนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพนักงานแจกเหรียญที่ระลึกในการพระราชพิธีมงคลนี้ทั่วกัน คือพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์แจกเหรียญสายข้างเหนือคืดฝ่ายพลเรือน พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์แจกสายข้างใต้คือฝ่ายทหาร เหรียญที่แจกคราวนี้เป็นเหรียญ ทอง กะไหล่ เงิน บรอนซ์ โตกว่าเงินบาทหน่อยหนึ่ง หนากว่าสัก ๒ เท่า เหรียญนั้นด้านหนึ่งเป็นพระรูปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงเครื่องอย่างวันฟังสวด ทรงพระเกี้ยวจุฬาลงกรณ์ มีหนังสือรอบว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศรวรมหาจุฬาลงกรณ์ เติมสร้อย วิบูลย์สวัสดิ์ศิริวัฒน์วิสุทธิ์ สยามมกุฎราชกุมาร อีกด้านหนึ่งเป็นรูปแพสรงสนาน มีหนังสือว่า ที่รฦกการพระราชพิธีลงสรง เฉลิมพระปรมาภิไธย ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ มีจำนวนที่ได้พระราชทานในเวลาวันนี้ประมาณ ๑,๐๐๐ เศษหลายร้อย” จากข้อมูลนี้ทำให้ทราบทั้งวันที่พระราชทาน และจำนวนที่ทรงพระราชทานโดยประมาณ

เหรียญที่นำรูปมาลงให้ดูนี้ เป็นชนิดเงิน สภาพผิวเดิมยังคงอยู่ คราบที่เห็นเป็นเพียงคราบความเก่า แต่ผิวเหรียญทั้งสองด้านมิได้เป็นรอยใดๆ และเหรียญนี้ได้พระราชทานมาพร้อมกล่อง

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
สภาพด้านหลัง

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ภาพถ่ายอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้เห็นผิวเดิมของเหรียญซึ่งเป็นลักษณะ proof คือเป็นการขัดเงาผิว แบบหนึ่ง ได้ชัดเจนขึ้น ของจริงจะออกสีปีกแมลงทับ
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

และภาพกล่องที่พระราชทานมาพร้อมกัน มีตราประจำพระองค์บนหน้ากล่อง ภาพถัดไปถ่ายคู่กับหนังสือจดหมายเหตุรายวัน ซึ่งเป็นบันทึกประจำวัน ของท่านเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ น่าทึ่งที่ทรงเริ่มบันทึกตั้งแต่พระชนมายุเพียง ๕ พรรษา! แสดงถึงการได้รับการอบรมอย่างดีเยี่ยมจากพระราชบิดา และกล่องพระราชทานนี้ มีจารึกนามของผู้รับพระราชทานไว้ด้านในฝากล่องด้วย

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ภาพแพลงสรงจำลอง ที่ปรากฏอยู่หลังเหรียญ ชมได้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพ

ภาพ ร๕ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จประทับพลับพลาท้องสนามไชย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรค์ พระราชทานเหรียญที่ระลึก ระหว่างพระราชพิธีสรงสนานเฉลิมพระปรมาภิไธย สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในวันที่ ๑๘ มกราคม พศ ๒๔๒๙

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ผินพระพักตร์เฉียงทางซ้ายของเหรียญทรงเครื่องอย่างขัตติยราชกุมาร ทรงพระเกี้ยวยอดจุฬาลงกรณ์ ริมขอบเป็นพระปรมาภิไธย “ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศรวรมหาจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรย์ ขัตติยสันตติ อุกฤษพงษ์วโรโตสุชาติธัญญลักษณ์ วิลาศวิบูลย์ สวัสดิ์ศิริวัฒน์วิสุทธิ์ สยามมกุฎราชกุมาร ” ริมขอบล่างมีอักษรโรมันตัวจิ๋วว่า “ W .E.J.GAND ”
ด้านหลัง : เป็นรูปหุ่นจำลองแพลงสรง ริมขอบบนมีข้อความว่า “ ที่รฦกการพระราชพิธีลงสรง เฉลิมพระปรมาภิไธย ” ริมขอบล่างมีข้อความว่า “ ปีจออัฐศกศักราช ๑๒๔๘ ” ริมขอบล่างมีอักษรโรมันตัวจิ๋วว่า “ W .KULLRICH F ”
ชนิด : ทองคำ เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 37 มิลลิเมตร

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด