พ.ศ.๒๔๔๐ (ร.ศ.๑๑๖) เหรียญเสด็จฯประพาสยุโรป ครั้งที่๑

พ.ศ.๒๔๔๐ เหรียญเสด็จฯประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑

พ.ศ.๒๔๔๐ เหรียญเสด็จฯประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑

“…คือพระมหากษัตราธิราชเจ้า ผู้สยบเหล่ามหาอำนาจ ….ด้วยกุศโลบายอันสะท้านโลกที่มีชื่อว่า เสด็จประพาสยุโรป ”

คำบรรยายภาพ : เหรียญประพาสยุโรปชนิดเนื้อเงินกะไหล่ทอง เป็นชนิดที่พบเห็นยากมาก รองจากเนื้อทองคำ และเป็นกะไหล่ที่ทำเดิม มาจากโรงกษาปณ์แห่งปารีส อนึ่ง เหรียญประพาสยุโรป จะมีผิวพ่นทรายละเอียด (Sand Blast) ที่บางครั้งเรียกกันว่าผิวแบบเปลือกส้ม

ในสมัยนั้น ลัทธิจักวรรดินิยมกำลังระบาดอยู่ทั่วไปในอาฟริกาและประเทศทางภาคตะวันออก ประเทศมหาอำนาจทางตะวันตก อาทิอังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา และเสปน กำลังนิยมการล่าเมืองขึ้น เพื่อแสวงหาทรัพยากร และความมั่งคั่งจากประเทศอื่นๆที่ตกเป็นอาณานิคม ดังนั้นโดยพระปรีชาสามารถของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเล็งเห็นการณ์ภายหน้า หากเมืองไทยไม่ก้าวหน้าและตามไม่ทันประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น เมืองไทยจะต้องตกไปเป็นเมืองขึ้น ไม่ของประเทศอังกฤษก็ประเทศฝรั่งเศส เพราะเป็นที่รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้วว่า อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคิดจะแบ่งเอาเมืองไทยมาเป็นเมืองขึ้น โดยเอาแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นเขตแดนเมืองไทย จึงมีความจำเป็นอย่างรีบด่วนที่จะต้องจัดการบ้านเมืองให้ก้าวหน้าและทันกับเหตุการณ์ พระองค์ท่าน จึงได้ตกลงพระทัยอย่างแน่วแน่ว่า จะเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป เพื่อทรงเยี่ยมเป็นทางการ ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งแรกนี้ พระองค์ทรงมุ่งไปประเทศเยอรมนี ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศมหาอำนาจ ซึ่งไม่เคยรุกรานดินแดนไทยเลย ต่อจากนั้นก็เสด็จไปประเทศอิตาลีประเทศรัสเซียซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจเหมือนกันต่างก็มีพระมหากษัตริย์ปกครอง นอกจากนั้นพระองค์ยังได้เสด็จไปประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสด้วย การเสด็จประพาสของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงครั้งนั้นได้ผลดีเหลือหลายอย่างไม่คาดหมาย พระมหากษัตริย์แห่งประเทศเยอรมนีและประเทศรัสเซียทรงให้การรับรองพระเจ้าแผ่นดินของไทยอย่างประเทศมหาอำนาจ นอกจากนั้นพระองค์ยังได้ฝากฝังพระราชโอรสให้ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในประเทศเยอรมนีและประเทศรัสเซีย การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนี้เป็นเหตุให้ประเทศมหาอำนาจที่ชอบล่าเมืองขึ้นสมัยนั้นเพลามือและยอมให้เกียรติประเทศไทยขึ้นมาก นับว่าพระองค์ท่านได้ดำเนินงานทางการเมืองได้อย่างสุขุมคัมภีรภาพ

เหรียญประพาสยุโรปชนิดเนื้อเงิน ๑

หรียญประพาสยุโรปชนิดเนื้อเงิน ๒
ขอบเหรียญ

ในการเสด็จประพาสยุโรปของพระองค์ในครั้งนี้กินเวลานานถึง ๒๕๔ วัน ระหว่างวันที่ ๗ เมษายน – ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ระยะทางที่ต้องเสด็จฝ่าคลื่นลมประมาณ ๓๔,๔๑๖ ไมล์ ด้วยพระบรมราโชบายหลักที่สำคัญ๒ ประการคือ เพื่อศึกษาเรียนรู้ความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ของประเทศในยุโรปแล้วนำมาปรับปรุงใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย มั่นคง และเจริญทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ และการประชาสัมพันธ์แนะนำประเทศให้เป็นที่รู้จักและนิยมนับถือในฐานะประเทศเอกราชประเทศหนึ่ง ซึ่งก็นับได้ว่าสัมฤทธิผลดังลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฏ์ เมื่อครั้งดำรงพระยศพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิวัดโสภณ ราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๙ ความว่า “…The King of Siam comes on his own hook, he depends on no body and no country… ” และด้วยพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ ในฐานะผู้นำประเทศ ทุกอย่างก็เป็นไปดังพระประสงค์ สยามประเทศในขณะนั้น ได้รับการยอมรับจากมหาชนชาวยุโรป และบรรดาราชวงศ์ต่างๆ ในยุโรปว่าเป็นประเทศที่มีอารยธรรม มิใช่บ้านป่าเมืองเถื่อนที่จะให้ใครมายึดครองได้โดยง่าย นับได้ว่า นโยบายการต่างประเทศระดับโลก ของพระองค์ในครั้งกระนั้น ส่งผลให้ประเทศไทย คงความเป็นไท มาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้

เหรียญประพาสยุโรปชนิดเนื้อบอรนซ์ ๑

เหรียญประพาสยุโรปชนิดเนื้อบอรนซ์ ๒

เหรียญประพาสยุโรป เนื้อบอรนซ์ ๒ พร้อมตลับ

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกในการเสด็จประพาสทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก นับเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย และทวีปเอเชียที่ได้เสด็จประพาสประเทศต่างๆในยุโรป เหรียญนี้ผลิตโดย Monnaie De Paris ( โรงกษาปณ์แห่งกรุงปารีส ) ในกระทรวงการคลังฝรั่งเศส ก่อตั้งในปี คศ ๑๗๙๖ และนายช่างผู้ปั้นแบบและแกะพิมพ์ ชื่อ August Patey เป็นผู้ลงลายเซนต์กำกับบนเหรียญนี้ด้วยตัวเอง สัญลักษณ์ของโรงกษาปณ์ (Mint Mark) มีประทับไว้ตรงขอบเหรียญ ซึ่งเมื่อขยายออกมาจะเป็นรูปรวงธัญพืช ( ดูคล้ายถุงเงินปลายเปิด ) มีเงินไหลทะลักออกมา ซึ่งเรียกว่า “Corn Of Abundance” ซึ่งหมายความถึง “ รวงแห่งความอุดมสมบูรณ์ ” ต้องใช้แว่นขยายส่องดูจึงจะเห็น เพราะมีขนาดเล็กมาก Mint Mark ที่เป็นรูปถุงเงินนี้ ถูกใช้ประทับบนเหรียญที่ผลิตขึ้นตั้งแต่หลังวันที่ 1 มกราคม คศ 1880 และหลัง วันที่ 1 กรกฎาคม คศ 2003 เป็นต้นมา ทางโรงกษาปณ์แห่งกรุงปารีสก็ได้เปลี่ยนไปใช้สัญลักษณ์ใหม่แบบอื่นแล้ว

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน มีอักษรภาษาฝรั่งเศสที่ขอบเหรียญเงินว่า “ MONNAIE DE PARIS ARGENT ” และที่ขอบเหรียญทองแดงว่า “ MONNAIE DE PARIS BRONZE”
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางขวาของเหรียญริมขอบมีพระปรมาภิไธย “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ” และที่ด้านซ้ายของพระบรมรูปเป็นชื่อผู้ออกแบบ “Aug Patey”
ด้านหลัง : ข้อความว่า

“ ที่รลึก

ในการเสด็จพระราชดำเนิน

ประพาสยุโรป

ตั้งแต่วันที่ ๗ เดือนเมษายน

ถึงวันที่ ๑๖ เดือนธันวาคม

รัตนโกสินทร ๓๐ ศก

๑๑๖ ”
ชนิด : ทองคำ เงินกะไหล่ทอง เงิน และบรอนซ์
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด