พ.ศ.๒๔๕๓ (ร.ศ.๑๒๙) ตลับเงินที่ระลึกงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๔ และเหรียญหนวด ช้างสามเศียร

พ.ศ.๒๔๕๓ ตลับเงินที่ระลึกงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ และเหรียญหนวด ช้างสามเศียร

พ.ศ.๒๔๕๓ ตลับเงินที่ระลึกงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ และเหรียญหนวด ช้างสามเศียร

ผลิตขึ้นตามพระราชบัญัติมาตราทองคำ ร.ศ.๑๒๗ เพื่อใช้หมุนเวียนแทนเงินตรารุ่นเก่า สั่งผลิตจากโรงกษาปณ์ปารีส ประเทศฝรั่งเศส จำนวน ๑,๐๓๖,๖๙๑ เหรียญ ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตรทางเบื้องขวาฉลองพระองค์เต็มยศทหารมหาดเล็ก มีอักษรพระปรมาภิไธย “ จุฬาลงกรณ์ สยามินทร์ ” ที่รอบขอบเหรียญ เหนือพระอังสาเบื้องซ้ายมีชื่อของผู้แกะสลักแม่แบบ A.PATEY ( AUGUSTE PATEY ) ด้านหลังเป็นรูปช้างสามเศียร มีอักษร “ สยามรัฐ ” “ ร.ศ.๔๑ ๑๒๗ ” และมีตัวอักษรบอกราคา “ หนึ่งบาท ” วงขอบนอกมีเฟือง ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “ เหรียญหนวด ” เพราะพระองค์ทรงไว้พระมัตสุที่งดงามมาก รูปช้าง ๓ เศียร หมายถึง สยามเหนือ สยามกลาง สยามใต้ เลข ๔๑ บน ร . ศ . หมายความว่า ได้ครองราชย์มา ๔๑ ปีแล้ว

ตัวอย่างตลับเงินที่ระลึกงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๕

เหรียญกล่องคู่


คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญกล่องเดี่ยว ชุดที่๑

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญกล่องเดี่ยว ชุดที่ ๒

เหรียญเงินหนึ่งบาทร.ศ.๑๒๗ สั่งเข้ามายังไม่ได้ประกาศใช้ พอดีผลัดแผ่นดินใหม่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเหรียญนี้เป็นที่ระลึกในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี ร . ศ . ๑๒๙ ผู้ที่ได้รับพระราชทานแล้ว โปรดฯให้ไปรับกรอบที่จะใส่เหรียญนั้นที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับฝ่ายในชั้นผู้ใหญ่ ได้รับพระราชทานตลับเงินใหญ่มีเหรียญอยู่ด้านหน้าตลับ ๒ เหรียญ สำหรับฝ่ายในชั้นผู้น้อยได้รับพระราชทานตลับเงินเล็กมีเหรียญบนฝาตลับเหรียญเดียว

ด้านหน้าเหรีญ ด้านหลังเหรีญเป็นรูปช้างสามเศียร

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ขอบเฟือง เหรียญช้างสามเศียร รศ127 ให้สังเกตุขีดตรงร่องกลางเฟือง ซึ่งจะมีให้เห็นแทบทุกเฟืองครับ ผมคิดว่าดีไซน์ของขอบเฟืองช้างสามเศียรรศ127 นี้ ค่อนข้างเหมือน (เหมือนเลยก็ว่าได้) กับเหรียญบาทรัชกาลที่ 6

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่สังเกตเห็นได้ก็คือขอบเฟืองเป็นสันตรงไม่โค้งหรือเป็นขอบกระด้ง กล่าวคือขอบเหรียญจะไม่ถูกลบคมทั้ง 2 ด้านจนโค้งมนนั่นเอง ขอบเหรียญแต่ละด้านมีลักษณะยกตัวเล็กน้อยเป็นเทคนิคของผู้ออกแบบเพื่อรักษาผิวทั้ง 2 ด้านมิให้สึกหรอได้ง่าย

เหรียญที่นำรูปมาลงให้ดูนี้ มีร่องรอยการทำความสะอาดผิวเหรียญมาแต่เดิม แต่โดยรวมก็ถือว่าเป็นเหรียญหนวดที่มีสภาพสมบูรณ์ และสวยงามมากเหรียญหนึ่งครับ

เหรียญอื่นๆ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ เป็นเหรียญกษาปณ์ กลม แบน ขอบมีเฟือง
ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตรทางเบื้องขวาฉลองพระองค์เต็มยศทหารมหาดเล็ก มีอักษรพระปรมาภิไธย “ จุฬาลงกรณ์ สยามินทร์ ” ที่รอบขอบเหรียญ เหนือพระอังสาเบื้องซ้ายมีชื่อของผู้แกะสลักแม่แบบ A.PATEY ( AUGUSTE PATEY )
ด้านหลัง เป็นรูปช้างสามเศียร มีอักษร “ สยามรัฐ ” “ ร . ศ . ๔๑ ๑๒๗ ” และมีตัวอักษรบอกราคา “ หนึ่งบาท ” วงขอบนอกมีเฟือง รูปช้าง ๓ เศียร หมายถึง สยามเหนือ สยามกลาง สยามใต้ เลข ๔๑ บน ร . ศ . หมายความว่า ได้ครองราชย์มา ๔๑ ปีแล้ว
ชนิด เงิน
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตร หนัก ๑๕ กรัม

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด