พ.ศ.๒๔๐๗ เหรียญแต้เม้งทงป้อ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเหรียญแรกของไทย

พ.ศ.๒๔๐๗ เหรียญแต้เม้งทงป้อ เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของไทย

พ.ศ.๒๔๐๗ เหรียญแต้เม้งทงป้อ เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของไทย

ในปีพุทธศักราช ๒๔๐๗ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญเฉลิมพระชันสา เป็นชนิดทองคำอย่างหนึ่ง เงินอย่างหนึ่ง มีน้ำหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัมเท่ากับจำนวนพระชนมายุของพระองค์ เพื่อพระราชทานเป็นที่ระลึก และโปรดเกล้าฯ ให้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเนื่องจากเหรียญนี้มีอักษรจีนอยู่ด้านหลัง อ่นออกเสียงสำเนียงแต้จิ๋วว่า “ แต้ เม้ง ทง ป้อ ” ซึ่งแปลว่าเงินตราของแต้เม้ง ซึ่งเป็นพระนามภาษาจีนของรัชกาลที่ ๔ ทำให้เหรียญนี้ นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าเหรียญแต้ เม้ง ซึ่งเหรียญนี้นับได้ว่า นอกจากจะเป็นทั้งเหรียญกษาปณ์ (คือมีราคาหน้าเหรียญ ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ) แล้วก็ยังถือว่าเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของไทยอีกด้วย นอกจากนี้เหรียญนี้ยังมีความพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ทรงโปรดฯ ให้มีพระบรมราชานุญาต นำไปใช้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้อีกด้วย

อนึ่ง พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษานี้ เพิ่งเริ่มมีเป็นทางการครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ เนื่องด้วยผู้คนแต่เก่าก่อน มีคติความเชื่อว่าหากผู้ใดรู้วัน เดือน ปีเกิดของตนแล้ว อาจนำไปประกอบเวทมนต์ ไสยศาสตร์ต่างๆได้ ดังนั้นพระมหากษัตริย์ในยุคก่อนหน้านี้ จึงมิได้ให้ปรากฏว่าได้มีการเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา แต่อย่างใด

เหรียญที่นำรูปมาลงให้ดูนี้เป็นชนิดเนื้อเงิน มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ และผิวออกสีเงินตามธรรมชาติ

ทางด้านหลัง มีอักษรจีนแสดงไว้ ๔ ทิศ มีลายแก้วชิงดวง และคำว่า “ กรุงสยาม ” อยู่ตรงกลาง

ภาพล่าง เมื่อนำมาเรียงเข้าชุด กับเหรียญกษาปณ์ชนิด ๒บาท ๑บาท ๒สลึง ๑สลึง ๑เฟื้อง และ ๒ไพ นับว่ามีความสวยงามเป็นอย่างมาก อันที่จริงแล้วเหรียญกษาปณ์รัชกาลที่ ๔ ชุดนี้ ถูกออกแบบได้อย่างงดงาม อ่อนช้อย และเรียงเป็นใบเถา ในยุคปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์ชุดนี้ จัดเป็น World Class Collection ที่นักสะสมจากทั่วโลกนิยม และเสาะแสวงหา

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว
ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ ปีพ.ศ.๒๔๐๗ ซึ่งเป็นปีที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ: กลม แบน ขอบเรียบ

ชนิด: ทองคำ และ เงิน

ขนาด: เส้นผ่าศูนย์กลาง 45 มิลลิเมตร น้ำหนัก 60.77 กรัม

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด