พ.ศ.๒๔๕๒ (ร.ศ.๑๒๘) เหรียญสามัคยาจารย์สมาคม

พ.ศ.๒๔๕๒ เหรียญสามัคยาจารย์สมาคม

พ.ศ.๒๔๕๒ ( รศ. ๑๒๘ ) เหรียญสามัคยาจารย์สมาคม

สามัคยาจารย์สมาคมตั้งอยู่ ณ บริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบ เริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 15 กันยายน ร.ศ. 121 แต่ได้จัดเป็นสมาคมอย่างแท้จริง มีการตั้งกรรมการและรับสมัครสมาชิก เมื่อวันที่ 6 มกราคม ร.ศ. 123 วัตถุประสงค์ของสมาคมมี 3 ประการ คือเพื่อเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปวิทยา เป็นที่ประชุมข้าราชการและเพื่อนข้าราชการทั่วประเทศ และเป็นที่ประชุมจัดกิจกรรมสันทนาการ สมาชิกของสามัคยาจารย์สมาคมในปีแรกมีจำนวน 213 คน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการให้แก่สมาชิกเป็นประจำ สำหรับสมาชิกในต่างจังหวัดจะได้รับความรู้โดยทางหนังสือพิมพ์วิทยาจารย์ ซึ่งเป็นหนังสือนิตยสารของสมาคม อาคารสามัคยาจารย์ชั้นล่างใช้เป็นที่ประชุมแสดงปาฐกถาและบรรยายงานวิชาการ ชั้นบนเป็นห้องสมุดและที่ทำงานของคุรุสภาระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2502

อนึ่ง เหรียญสามัคยาจารย์สมาคมนี้ ได้ถูกใช้เป็นรางวัลหมั่นเรียนด้วย โดยมอบให้นักเรียนที่มาเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีทั้งชนิดเหรียญเงิน และทองแดง ขึ้นกับระดับความหมั่นเรียน ด้านหลังมักจะจารึกชื่อนักเรียน ซึ่งเป็นเด็กชาย หรือเด็กหญิงไว้

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด