พ.ศ.๒๔๕๓ (ร.ศ.๑๒๙) ตลับเงินที่ระลึกงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๔ และเหรียญหนวด ช้างสามเศียร

พ.ศ.๒๔๕๓ ตลับเงินที่ระลึกงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ และเหรียญหนวด ช้างสามเศียร

พ.ศ.๒๔๕๓ ตลับเงินที่ระลึกงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ และเหรียญหนวด ช้างสามเศียร

ผลิตขึ้นตามพระราชบัญัติมาตราทองคำ ร.ศ.๑๒๗ เพื่อใช้หมุนเวียนแทนเงินตรารุ่นเก่า สั่งผลิตจากโรงกษาปณ์ปารีส ประเทศฝรั่งเศส จำนวน ๑,๐๓๖,๖๙๑ เหรียญ ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตรทางเบื้องขวาฉลองพระองค์เต็มยศทหารมหาดเล็ก มีอักษรพระปรมาภิไธย “ จุฬาลงกรณ์ สยามินทร์ ” ที่รอบขอบเหรียญ เหนือพระอังสาเบื้องซ้ายมีชื่อของผู้แกะสลักแม่แบบ A.PATEY ( AUGUSTE PATEY ) ด้านหลังเป็นรูปช้างสามเศียร มีอักษร “ สยามรัฐ ” “ ร.ศ.๔๑ ๑๒๗ ” และมีตัวอักษรบอกราคา “ หนึ่งบาท ” วงขอบนอกมีเฟือง ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “ เหรียญหนวด ” เพราะพระองค์ทรงไว้พระมัตสุที่งดงามมาก รูปช้าง ๓ เศียร หมายถึง สยามเหนือ สยามกลาง สยามใต้ เลข ๔๑ บน ร . ศ . หมายความว่า ได้ครองราชย์มา ๔๑ ปีแล้ว

ตัวอย่างตลับเงินที่ระลึกงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๕

เหรียญกล่องคู่


คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญกล่องเดี่ยว ชุดที่๑

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญกล่องเดี่ยว ชุดที่ ๒

เหรียญเงินหนึ่งบาทร.ศ.๑๒๗ สั่งเข้ามายังไม่ได้ประกาศใช้ พอดีผลัดแผ่นดินใหม่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเหรียญนี้เป็นที่ระลึกในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี ร . ศ . ๑๒๙ ผู้ที่ได้รับพระราชทานแล้ว โปรดฯให้ไปรับกรอบที่จะใส่เหรียญนั้นที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับฝ่ายในชั้นผู้ใหญ่ ได้รับพระราชทานตลับเงินใหญ่มีเหรียญอยู่ด้านหน้าตลับ ๒ เหรียญ สำหรับฝ่ายในชั้นผู้น้อยได้รับพระราชทานตลับเงินเล็กมีเหรียญบนฝาตลับเหรียญเดียว

ด้านหน้าเหรีญ ด้านหลังเหรีญเป็นรูปช้างสามเศียร

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ขอบเฟือง เหรียญช้างสามเศียร รศ127 ให้สังเกตุขีดตรงร่องกลางเฟือง ซึ่งจะมีให้เห็นแทบทุกเฟืองครับ ผมคิดว่าดีไซน์ของขอบเฟืองช้างสามเศียรรศ127 นี้ ค่อนข้างเหมือน (เหมือนเลยก็ว่าได้) กับเหรียญบาทรัชกาลที่ 6

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่สังเกตเห็นได้ก็คือขอบเฟืองเป็นสันตรงไม่โค้งหรือเป็นขอบกระด้ง กล่าวคือขอบเหรียญจะไม่ถูกลบคมทั้ง 2 ด้านจนโค้งมนนั่นเอง ขอบเหรียญแต่ละด้านมีลักษณะยกตัวเล็กน้อยเป็นเทคนิคของผู้ออกแบบเพื่อรักษาผิวทั้ง 2 ด้านมิให้สึกหรอได้ง่าย

เหรียญที่นำรูปมาลงให้ดูนี้ มีร่องรอยการทำความสะอาดผิวเหรียญมาแต่เดิม แต่โดยรวมก็ถือว่าเป็นเหรียญหนวดที่มีสภาพสมบูรณ์ และสวยงามมากเหรียญหนึ่งครับ

เหรียญอื่นๆ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ เป็นเหรียญกษาปณ์ กลม แบน ขอบมีเฟือง
ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตรทางเบื้องขวาฉลองพระองค์เต็มยศทหารมหาดเล็ก มีอักษรพระปรมาภิไธย “ จุฬาลงกรณ์ สยามินทร์ ” ที่รอบขอบเหรียญ เหนือพระอังสาเบื้องซ้ายมีชื่อของผู้แกะสลักแม่แบบ A.PATEY ( AUGUSTE PATEY )
ด้านหลัง เป็นรูปช้างสามเศียร มีอักษร “ สยามรัฐ ” “ ร . ศ . ๔๑ ๑๒๗ ” และมีตัวอักษรบอกราคา “ หนึ่งบาท ” วงขอบนอกมีเฟือง รูปช้าง ๓ เศียร หมายถึง สยามเหนือ สยามกลาง สยามใต้ เลข ๔๑ บน ร . ศ . หมายความว่า ได้ครองราชย์มา ๔๑ ปีแล้ว
ชนิด เงิน
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตร หนัก ๑๕ กรัม

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด