พ.ศ.๒๔๔๑ (ร.ศ.๑๑๗) เหรียญที่ ระลึกการพระราชพิธีเฉลิมพระสุพรรณบัตร รศ ๑๑๗ (เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดซาวุธ)

พ.ศ.๒๔๔๑ เหรียญที่ระลึกการพระราชพิธีเฉลิมพระสุพรรณบัตร

พ.ศ.๒๔๔๑ เหรียญที่ระลึกการพระราชพิธีเฉลิมพระสุพรรณบัตร รศ ๑๑๗
( เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ )

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานเป็นที่ระลึกในพระราช พิธีเฉลิมพระสุพรรบัตร เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ พ.ศ. ๒๔๔๑ เหรียญที่แสดงไว้เป็นชนิดเนื้อทองแดง

พลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก ทรงรับการศึกษาขั้นต้น จาก โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ทรงบวชสามเณร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก และ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ทรงศึกษาวิชาทหารเป็นระยะเวลาสั้นๆ และเสด็จกลับประเทศไทยมาศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ทรงรับราชการตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล ยศพลตรี แล้วไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ยศพลเรือเอก


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ทรงมีพระกรณียกิจที่สำคัญในกองทัพเรือ คือทรงดำรงตำแหน่งผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ต่อจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงเปลี่ยนระเบียบการปกครองบังคับบัญชาเรือหลวงใหม่ แต่เดิมนั้นการบังคับบัญชาในเรือหลวง แบ่งออกเป็น ๒ กระบวนเรือ แต่ละกระบวนเรือต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เหมาะสม ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไม่เป็นแบบฉบับเดียวกัน จึงให้รวมกระบวนเรือทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า กองทัพเรือ มีผู้บังคับบัญชากองทัพเรือเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ และให้แบ่งแยกกองทัพเรือออกเป็น ๓ กองเรือ คือ กองเรือปืน กองเรือใช้ตอร์ปิโด และกองเรือช่วยรบ


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ทรงอภิเษกสมรสกับ แผ้ว สุทธิบูรณ์ ไม่ทรงมีพระโอรสและพระธิดา (ต่อมาหม่อมแผ้ว ได้สมรสใหม่กับ หม่อมราชวงศ์ตัน สนิทวงศ์ ภายหลังได้เป็น ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นาฏศิลป์ พ.ศ. ๒๕๒๘)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ประชวรด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบ ( โรคไต ) สิ้นพระชนม์ที่ พระตำหนักวังสวนกุหลาบ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ สิริพระชนมายุได้ ๓๖ พรรษา พระองค์มีพระนามอย่างเต็มว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายอัษฎางค์เดชาวุธ วิสิฏฐวิสุทธิลักษณโสภณ อุบัติดลกาลนิยม ปฐมปริวัตรรัตนโกสินทรศก ศตสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนาถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภโตปักษ์วิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ เป็นเหรียญรูปกลมแบน วงขอบนอกเรียบลักษณะ:
ด้านหน้า กลางเหรียญเป็นรูปตราแผ่นดิน รอบวงขอบเหรียญมีข้อความว่า ” ที่ระลึกการพระราชพิธีเฉลิมพระสุพรรบัตร รัตนโกสินทรศก ๑๑๗
ด้านหลัง กลางเหรียญมีข้อความว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ วิสิฐวิสุทธลักษณโสภณ อุบัติดลกาลนิยม ประถมบริวัตร รัตนโกสินทรศก สตสธภอัษโฎดดร *************สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนารถ จุฬาลงกรณราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐ์ศักดิ์ อุภโตปักษ์วิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร ”
ชนิด เงิน และทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๕ มิลลิเมตร

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
On Key

Related Posts

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด