พ.ศ.๒๔๔๑ (ร.ศ.๑๑๗) เหรียญที่ ระลึกการพระราชพิธีเฉลิมพระสุพรรณบัตร รศ ๑๑๗ (เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดซาวุธ)

พ.ศ.๒๔๔๑ เหรียญที่ระลึกการพระราชพิธีเฉลิมพระสุพรรณบัตร

พ.ศ.๒๔๔๑ เหรียญที่ระลึกการพระราชพิธีเฉลิมพระสุพรรณบัตร รศ ๑๑๗
( เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ )

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานเป็นที่ระลึกในพระราช พิธีเฉลิมพระสุพรรบัตร เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ พ.ศ. ๒๔๔๑ เหรียญที่แสดงไว้เป็นชนิดเนื้อทองแดง

พลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก ทรงรับการศึกษาขั้นต้น จาก โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ทรงบวชสามเณร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก และ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ทรงศึกษาวิชาทหารเป็นระยะเวลาสั้นๆ และเสด็จกลับประเทศไทยมาศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ทรงรับราชการตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล ยศพลตรี แล้วไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ยศพลเรือเอก


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ทรงมีพระกรณียกิจที่สำคัญในกองทัพเรือ คือทรงดำรงตำแหน่งผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ต่อจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงเปลี่ยนระเบียบการปกครองบังคับบัญชาเรือหลวงใหม่ แต่เดิมนั้นการบังคับบัญชาในเรือหลวง แบ่งออกเป็น ๒ กระบวนเรือ แต่ละกระบวนเรือต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เหมาะสม ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไม่เป็นแบบฉบับเดียวกัน จึงให้รวมกระบวนเรือทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า กองทัพเรือ มีผู้บังคับบัญชากองทัพเรือเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ และให้แบ่งแยกกองทัพเรือออกเป็น ๓ กองเรือ คือ กองเรือปืน กองเรือใช้ตอร์ปิโด และกองเรือช่วยรบ


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ทรงอภิเษกสมรสกับ แผ้ว สุทธิบูรณ์ ไม่ทรงมีพระโอรสและพระธิดา (ต่อมาหม่อมแผ้ว ได้สมรสใหม่กับ หม่อมราชวงศ์ตัน สนิทวงศ์ ภายหลังได้เป็น ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นาฏศิลป์ พ.ศ. ๒๕๒๘)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ประชวรด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบ ( โรคไต ) สิ้นพระชนม์ที่ พระตำหนักวังสวนกุหลาบ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ สิริพระชนมายุได้ ๓๖ พรรษา พระองค์มีพระนามอย่างเต็มว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายอัษฎางค์เดชาวุธ วิสิฏฐวิสุทธิลักษณโสภณ อุบัติดลกาลนิยม ปฐมปริวัตรรัตนโกสินทรศก ศตสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนาถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภโตปักษ์วิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ เป็นเหรียญรูปกลมแบน วงขอบนอกเรียบลักษณะ:
ด้านหน้า กลางเหรียญเป็นรูปตราแผ่นดิน รอบวงขอบเหรียญมีข้อความว่า ” ที่ระลึกการพระราชพิธีเฉลิมพระสุพรรบัตร รัตนโกสินทรศก ๑๑๗
ด้านหลัง กลางเหรียญมีข้อความว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ วิสิฐวิสุทธลักษณโสภณ อุบัติดลกาลนิยม ประถมบริวัตร รัตนโกสินทรศก สตสธภอัษโฎดดร *************สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนารถ จุฬาลงกรณราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐ์ศักดิ์ อุภโตปักษ์วิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร ”
ชนิด เงิน และทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๕ มิลลิเมตร

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด