การจำแนกประเภทของเหรียญ

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน, เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก, เหรียญที่ระลึก และ เหรียญราชอิสริยาภรณ์
  1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน

    ผลิตออกใช้ สำหรับประชาชนได้มีไว้จับจ่ายใช้สอยเป็นเงินปลีกย่อยผลิตออกมาใช้ตามระบบเศรษฐกิจ สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมี 8 ชนิดราคา คือ 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 5 บาท 10 บาท เปลี่ยนศักราชบนหน้าเหรียญตามปีที่ผลิต

  2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก

    ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตขึ้นเป็นครั้งคราวในโอกาสพิเศษที่สำคัญที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง  และองค์การระหว่างประเทศเพื่อเป็นเกียรติยศชื่อเสียง และศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ผลิตเป็นครั้งคราวและมีจำนวนจำกัด มักจะผลิตด้วยโลหะที่มีค่าสูง เช่น ทองคำ เงิน กษาปณ์ที่ระลึกใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เช่นเดียวกับกษาปณ์หมุนเวียน แต่ประชาชนมักจะนิยมเก็บไว้เป็นที่ระลึกอย่างของมีค่า หรือเพื่อการสะสม

  3. เหรียญที่ระลึก

    ตามความหมายสากลหมายถึงเหรียญที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกหรือเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ที่สำคัญของบ้านเมืองในระยะเวลานั้นๆ โดยมีสัญญลักษณ์หรือการจำลองภาพของเหตุการณ์สำคัญนั้นๆ ลงไว้พร้อมกับคำจารึกและเวลาที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นสำหรับเหรียญที่ระลึกของไทยนั้นสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์และประวัติศาสตร์ของประเทศ

  4. เหรียญราชอิสริยาภรณ์

    ที่นับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เรียกอย่างลำลอง ว่า เหรียญแพรแถบ) หมายถึง เหรียญต่างๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ได้แก่ ข้าราชบริพาร ข้าราชการ ทหารที่ออกศึกสงคราม และสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่ทางราชการกำหนด

    เหรียญราชอิสริยาภรณ์นี้แบ่งได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้

    – เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการสงคราม หรือพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในความกล้าหาญ
    – เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน
    – เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหากษัตริย์
    – เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก



เหรียญที่ระลึกเท่าที่ปรากฎ พอจะแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆ ตามความมุ่งหมายของผู้สร้างดังนี้:

  • เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
    1. งานบรมราชาภิเศก
    2. งานเฉลิมพระชนม์พรรษา
    3. พระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีลงสรงสนาน เฉลิมพระสุพรรณบัฐ งานเฉลิมพระที่นั่งสำคัญ
    4. งานพระบรมศพ
  • เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญ
    – คงอนุโลมตามข้อ 1. เช่น วันประสูติ พิธีสถาปนาพระอิสริยยศ วันสิ้นพระชนม์ ฯลฯ
  • ที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ
    1. การสมโภชพระนครครบรอบ 100 ปี 150 ปี 200 ปี
    2. การเปิดหอพระสมุด อนุสาวรีย์ ฯลฯ
    3. การแสดงนิทรรศการ การเกษตร อุตสาหกรรม ฯลฯ
    4. รางวัล

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด