พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญรัชฎาภิเษกมาลา หรือเหรียญเปลือย

พ.ศ.๒๔๓๖ เหรียญรัชฎาภิเษกมาลา หรือเหรียญเปลือย

พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา หรือเหรียญเปลือย

The Silver Jubilee Medal
               
ใช้อักษรย่อ ร.ศ. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานเป็นที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเข้าทูลละอองธุลีพระบาท ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เพื่อเป็นที่ระลึกในมหาพิธีมงคลพิเศษสมัยในการพระราชพิธีฉลองสินิราชสมบัติเจริญมาบรรจบครบ ๒๕ ปี วันที่ ๑ ตุลลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และได้พระราชทานในการพระราชพิธีฉัตรมงคลและฉลองพระไตรปิฎกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ อีกคราวหนึ่ง

เหรียญรัชฎาภิเศกมาลามีชนิดเดียว เป็นเหรียญเงิน ด้านหน้ามีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและมีอักษรที่ริมขอบว่า “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรมราชาธิราช”

ด้านหลัง มีอักษรว่า “ที่รฦกการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี วันที่ ๑ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๒๖ ๑๑๒” อยู่ในวงช่อพุทธรักษาและช่อชัยพฤกษ์ มีห่วงร้อย ใช้ห้อยกับแพรแถบสีชมพู มีริ้วสีขาวทั้งสองข้าง กว้าง ๒.๕ เซนติเมตร


สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย สำหรับพระราชทานฝ่ายใน พระราชทานแต่ตัวเหรียญ ไม่มีห่วงห้อย และไม่มีแพรแถบ แต่ทรงพระราชทานเป็นที่ระลึก หรือจะนำมาทำเป็นเครื่องประดับหรือภาชนะ เช่นเข็มกลัด  กำไล ตลับ เป็นต้น สำหรับพระราชทานพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์พระราชทานเหรียญทองแดง
ผู้ออกแบบ : เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย
ปัจจุบันเป็นเหรียญพ้นสมัยพระราชทาน

การพระราชทาน
๑. สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน โดยพระราชทานให้เป็นสิทธิไม่ต้องส่งคืน และพระราชทานเฉพาะในมหามงคลสมัยพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๒ และพระราชพิธี ฉัตรมงคลและฉลองพระไตรปิฎก ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๒
๒. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญต้องไปลงชื่อในสมุดทะเบียนของกระทรวงมุรธาธร จึงจะประดับเหรียญนี้ได้ หากไม่ลงนามในสมุดทะเบียนฯ จะประดับเหรรียญนี้ไม่ได้ ถือว่าเป็นเหรียญปลอม มิใช่ของพระราชทาน
๓. เมื่อผู้ได้รับพระราชทานสิ้นชีวิตแล้ว ผู้ได้รับมรดกเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกสืบไป แต่ไม่มีสิทธิประดับ

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด