พ.ศ.๒๔๕๐ (ร.ศ.๑๒๖) เหรียญงานพระราชพิธีรัชมงคล
ใช้อักษรย่อ ร.ร.ม. เหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานเป็นที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้ขึ้นเมื่อ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ในวโรกาสที่เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติเป็นปีที่ ๔๐ เสมอด้วยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นรัชกาลที่ยืนยาวกว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารโดยมีการตรา “พระราชบัญญัติเหรียญรัชมงคล รัตนโกสินทรศก ๑๒๖” ขึ้นให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐ เป็นต้นไปสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเข้าทูลละอองธุลีพระบาท ในการพระรสชกุศลรัชมงคล รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) โอกาสเดียว ผู้ใดสมควรจะได้รับพระราชทานชนิดใด แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ความปรากฎใน “พระราชบัญญัติเหรียญรัชมงคลรัตนโกสินทรศก ๑๒๖” ตอนหนึ่งว่า “…(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า จำเดิมแต่เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ในปีมะโรง สัมฤทศก จุลศักราช ๑๒๓๐ นับเรียงปีมาถึงรัตนโกสินทรศก ๑๒๖ นี้ รัชพรรษาพอบรรจบสี่สิบปี เสมอด้วยรัชกาลแห่งสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ที่ ๒ ซึ่งได้ครอบครองราชสมบัติในกรุงศรีอยุธยา ผู้มีรัชกาลยืนยาวกว่าพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ อันมีปรากฏในพระราชพงศาวดาร เป็นเหตุให้ทรงพระปีติเบิกบานพระราชหฤทัย จึงจะได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในกรุงศรีอยุธยาทรงพระราชอุทิศส่วยพระราชกุศล ถวายสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์นั้น ตามรัชสมัยได้เท่าทันเสมอภาค ยากที่จะเทียมถึง จึงจัดว่าเป็นพระราชกุศลรัชมงคลอันอุดม สมควรจะมีสิ่งซึ่งเป็นที่รฦกถึงบญญาภินิหาร แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ ให้อยู่ชั่วกาลนานจึงทรงพระราชดำริห์ ให้สร้างเหรียญที่รฦก”
เหรียญรัชมงคล มี ๓ ชนิด คือ เหรียญทองคำ เหรียญเงินกะไหล่ทอง และเหรียญเงิน สำหรับพระราชทานทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เป็นเหรียญรูปกลมรี
ผู้ออกแบบ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน