พ.ศ.๒๔๒๕ (ร.ศ.๑๐๑) เหรียญดุษฎีมาลา หรือเหรียญทรงยินดี และเข็มศิลปวิทยา

พ.ศ.๒๔๒๕ เหรียญดุษฎีมาลา หรือเหรียญทรงยินดี และเข็มศิลปวิทยา

พ.ศ.๒๔๒๕ (ร.ศ.๑๐๑) เหรียญดุษฎีมาลา หรือเหรียญทรงยินดี และเข็มศิลปวิทยา

จัดเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก (เรียกกันง่ายๆว่าเหรียญแพรแถบ) ใช้อักษรย่อ ร.ด.ม. (ศ) เป็นเหรียญบำเหน็จความชอบในราชการซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พศ.๒๔๒๕


อันเป็นมหามงคลสมัยซึ่งบรรจบครบรอบร้อยปีที่หนึ่งนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯและทรงเริ่มพระบรมราชจักรีวงศ์สืบรัตนราไชยมไหศวรรย์ยั่งยืนต่อมาจนถึงรัชกาลของพระองค์ท่าน ในครั้งนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยยศ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ คำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีนามว่า “เครื่องราชอิยริยยศอันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์”

สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้ดำรงรักษาราชประเพณี และรักษาความสามัคคีในราชตระกูลยั่งยืนรุ่งเรืองสืบมา พร้อมกันนั้นทรงมีพระราชดำริว่าข้าราชการที่ได้รับราชการมาด้วยดีมีความสามารถทำคุณประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ราชการนั้นควรจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยยศด้วย


จึงทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้สร้างเหรียญเครื่องประดับชื่อ “ดุษฎีมาลา” สำหรับพระราชทานทหาร พลเรือนตามความดีความชอบ

ตามพระราชบัญญัติเหรียญดุษฎีมาลา พศ๒๔๒๕ กำหนดให้มีเข็มพระราชทาน ประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิด สำหรับใช้กลัดติดกับแถบแพร เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงคุณสมบัติพิเศษตามสาขาความชอบแห่งผู้ได้รับพระราชทาน ดังนี้
๑. เข็มราชการในพระองค์,
๒. เข็มราชการแผ่นดิน
๓. เข็มศิลปวิทยา
๔. เข็มความกรุณา
๕. เข็มกล้าหาญ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้ มีเข็มศิลปวิทยากลัดติดมาในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ เหรียญนี้พระราชทานมาพร้อมกล่องตราแผ่นดิน ด้านในระบุผู้จัดทำเหรียญไว้ชัดเจนว่า Wyon แห่ง London แต่เหรียญในยุครัชกาลที่ ๖ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า จะผลิตโดย Benson (เบนซอน)

เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

จากการค้นคว้า ในหนังสือ “เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา” ซึ่งจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร เนื้อหาภายในจะระบุถึงรายนามผู้ได้รับพระราชทาน และวัน เวลา ที่ได้รับพระราชทานด้วย
นับจำนวนเหรียญชนิดทองคำได้ ๑๙ เหรียญ เงิน และเงินกะไหล่ทองได้ ๒๐๐ กว่าเหรียญ

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : ทรงกลมรี
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญ ใต้พระรูปมีอักษรโรมันตัวจิ๋วว่า J.S. & A.B. WYON SC
ด้านหลัง : เป็นรูปพระสยามเทวาธิราช ทรงพระขรรค์ยืนแท่นพิงโล่ตราแผ่นดิน พระหัตถ์ขวาทรงพวงมาลัยจะสวมที่ตรงจารึกชื่อผู้ได้รับพระราชทาน
ชนิด : ทองคำ กะไหล่ทอง และเงิน
ขนาด : ขนาดกว้าง ๔.๑ ซม สูง ๔.๖ ซม

หมายเหตุ ปัจจุบันยังไม่พ้นสมัยพระราชทาน แต่เหรียญในยุคปัจจุบันมีขนาดเล็กลงกว่าเดิม และรายละเอียดบางส่วนต่างไปจากเดิม

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด