พ.ศ.๒๔๕๑ (ร.ศ.๑๒๗) เหรียญที่ระลึกงานพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายศิริวงษ์วัฒนเดช และหม่อมแม้น

พ.ศ.๒๔๕๑ เหรียญที่ระลึกงานพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายศิริวงษ์วัฒนดชและหม่อมแม้น

พ.ศ.๒๔๕๑ (รศ.๑๒๗) เหรียญที่ระลึกงานพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายศิริวงษ์วัฒนดชและหม่อมแม้น

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงอภิเษกสมรสกับคุณแม้น กุลสตรีจากสกุล บุนนาค มีพระโอรส ธิดา ๒พระองค์ คือพระองค์เจ้าชายศิริวงศ์วัฒนเดช กับพระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล (ที่เป็นพระชนนีของพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ) พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช ทรงสิ้นพระชนม์ที่เยอรมนีในวันที่ ๖ กรกฎาคม พศ ๒๔๕๑ ต่อมาในวันที่ ๓๐ มกราคม ปีพศ ๒๔๕๒ พระองค์เจ้าภาณุรังษีฯ จึงโปรดให้เริ่มงานพระศพพระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช และหม่อมแม้น ซึ่งถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๘ ที่วังบูรพาภิรมย์ แล้วชักศพไปตั้งที่เมรุที่วัดเทพศิรินทราวาส จากงานครั้งนั้นเองที่กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดชได้ทรงสร้าง “สะพานดำ” หรือ “สะพานแม้นศรี” ขึ้นที่สี่แยกสะพานดำ เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่ศพทั้งสอง ซึ่งสถานที่แห่งนี้ยังคงเหลือนามมาจนถึงทุกวันนี้ (ตัวสะพานไม่มีแล้ว)-* เดือนมกราคม พศ ๒๔๕๒ ยังนับเป็น รศ๑๒๗ อยู่

พระองค์เจ้าภาณุรังษีฯ กับหม่อมแม้น

ข้อมูลจำเพาะ

ด้านหน้า ด้านบนเป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ รูปพระอาทิตย์ขึ้น กำลังทอแสง เปล่ง รัศมี บนผิวน้ำ และมีห่วงเชื่อมติดด้านบน ด้านล่างเป็นรูปหัวใจคู่ มีข้อความจารึกบนหัวใจทั้งสองดวงดังนี้
หัวใจดวงซ้าย : ไว้อาลัยใน พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ศิริวงษ์วัฒนเดช และคุณแม้น
หัวใจดวงขวา : งานพระศพ และศพ ณ วัดเทพศิรินทรวาศ รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๗ 
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีข้อความ และลวดลายใดๆ
ชนิด เงิน และเงินกะไหล่ทอง
ขนาด กว้างประมาณ ๑.๙ ซม

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด