พ.ศ. ๒๔๙๐ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

พ.ศ. ๒๔๙๐ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

พ.ศ. ๒๔๙๐ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

สร้างเนื่องในงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2490

สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระราชโอรสอันดับที่ 62 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณรายประสูติเมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 เมื่อ พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงศ์” ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองหลายต่อหลายตำแหน่ง ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการพระองค์แรก เมื่อพ.ศ. 2432 และเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงวัง และอธิบดีคลังทหารบก ทหารเรือ ทรงเป็นนายพลเอก กรรมการสภาการคลัง เมื่อพ.ศ. 2456 ขณะดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์” ครั้งสุดท้ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นอภิรัฐมนตรี อุปนายกราชบัณฑิตสภาแผนกศิลปากร ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 จนถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระอิศริยยศครั้งสุดท้ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลคือ “สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์” สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 83 พรรษาเศษ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2490 ทรงเป็นต้นราชสกุล “จิตรพงศ์”

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า เป็นพระรูปสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ครึ่งพระองค์
ด้านหลัง  มีพระตรา “น เทียนสิน” อันเป็นตราประจำพระองค์และมีเลขศักราช “พ.ศ. ๒๔๐๖” “พ.ศ. ๒๔๙๐”

ชนิด  ทองแดง
ขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2490

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด