พ.ศ.๒๔๕๑ (ร.ศ.๑๒๗) เหรียญที่ระลึกชมสวน

พ.ศ.๒๔๕๑ เหรียญที่ระลึกชมสวน

พ.ศ.๒๔๕๑ เหรียญที่ระลึกชมสวน

บ้านหิมพานต์ หรือปาร์คสามเสน มีพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี) เป็นเจ้าของ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๖๗๗ ถนนสามเสน อำเภอดุสิต มีขนาดที่ดินประมาณ ๑๖,๐๐๐ ตรว สิ่งปลูกสร้างเป็นตึกแบบฝรั่งขนาดใหญ่ถึง ๒ หลัง กับเรือนนอนไม้ ๑ หลัง และมีกระโจม ๑ หลัง มีโรงละคร สระน้ำ และอื่นๆ การปลูกสร้างก็ล้วนด้วยช่างฝีมืออย่างวิจิตร มีลวดลายสลักงดงามตามแบบคฤหาสน์ของชาวตะวันตก บริเวณทั่วไปตกแต่งเป็นเนินดิน มีอุโมงค์ มีภูเขาจำลอง ประดับด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ต่างๆ มากมาย ดูร่มรื่นน่าอยู่อาศัยเป็นที่พักผ่อนได้ดี ปาร์คแห่งนี้ (ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพระสรรพการฯด้วย) ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้เข้าชมในปีพศ ๒๔๕๑ หรือ รศ๑๒๗

ต่อมา หลังจากเปิดได้ราว ๒ ถึง ๓ ปี ได้ตกทอดมาเป็นกรรมสิทธิ์ของแบงค์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยมาก ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อทั้งที่ดินและสิ่งก่อสร้างคือที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๔๕/๓๓๕๔ อ เลขที่ ๑๙ ในราคา ๓๐,๐๐๐ ชั่ง (๒๔๐,๐๐๐ บาท) โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองคุมงานจัดดัดแปลงให้เป็นสถานพยาบาล ซึ่งก็คือโรงพยาบาลวชิรพยาบาลนั่นเอง ได้ทรงออกค่าปรับปรุงซ่อมแซมสถานที่ จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในการแพทย์และการพยาบาล ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆ สั้นพระราชทรัพย์อีก ๓๗,๕๗๖.๐๐ บาท จึงเสร็จเรียบร้อย พร้อมที่จะเปิดใช้สถานพยาบาลได้


พระสรรพการหิรัญกิจ เป็นบุตรชายคนที่ ๓ ของพรหมาภิบาลและเป็นราชองครักษ์ผู้ได้รับความนับหน้าถือตาอย่างสูงในสยาม หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้เข้ารับราชการอยู่ราว ๑๐ ปี ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงคลัง อย่างไรก็ตามการตั้งธนาคารสยามกัมมาจล (ธนาคารไทยพาณิชย์ในสมัยต่อมา) และการแต่งตั้งพระสรรพการหิรัญกิจให้เป็นผู้จัดการของธนาคารแห่งนี้ทำให้ท่านต้องเกษียณจากราชการ นับแต่นั้นมาท่านก็ได้อุทิศเวลาทั้งหมดในการประกอบกิจการธนาคาร และความสำเร็จตลอดจนความมั่นคงของธนาคารเป็นเครื่องแสดงถึงความสามารถในการจัดการและการได้รับการฝึกฝนทางการเงินมาเป็นอย่างดี

อนึ่ง จาก โฆษณาจำหน่ายเหรียญหิมพานต์ป๊าก จากหนังสือพิมพ์ไทย ฉบับวันศุกร์ที่ ๑๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๗ พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้กล่าวไว้ว่า“จำหน่ายเหรียญ หิมพานต์ป๊าก ด้วยเจ้าของหิมพานต์ป๊าก ให้สร้างเหรียญทองคำและเหรียญเงิน สำหรับหิมพานต์ป๊ากขึ้นแล้วอย่างงดงามสำหรับจำหน่ายแก่ผู้ต้องการ

๑. ผู้ที่มีเหรียญนี้มีอำนาจเที่ยวในป๊ากได้ตลอดเวลามีกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร ศก ๑๒๗ เป็นต้น ไปถึง รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐

๒. ผู้ที่ถือเหรียญนี้มีอำนาจจะพาเพื่อนฝูง หรือบุตร ภรรยาไปได้คราวหนึ่งไม่เกิน ๒ คน

๓. ผู้ที่ถือเหรียญนี้ ต้องมีหนังสือสำคัญฉบับหนึ่ง แสดงว่าได้ถือเหรียญนี้ไว้อย่างถูกต้อง และได้ส่งเงินค่าเหรียญตามอัตราแล้ว

๔. ผู้ที่จะขอรับเหรียญอนุณาตนี้ ต้องเสียเงินค่าบำรุง แก่หิมพานต์ป๊ากจะเป็นจำนวนเงินคราวเดียวตลอดเวลา ๑ ปี เหรียญทองคำ ๒๐๐ บาท เหรียญเงิน ๑๐๐ บาท เพราะฉนั้นถ้าท่านผู้หนึ่งผู้ใดมีความประสงค์จะใคร่รับเหรียญชนิดใด เพื่อเป็นการบำรุงอุดหนุนหิมพานต์ป๊าก ซึ่งเป็นที่สำหรับเที่ยวและพบปะสนทนากันกับเพื่อนฝูง และเพื่อพักผ่อนการงานสำหรับความรื่นเริง ซึ่งพึ่งเกิดมีชื่อเสียงต่อชาติแล้ว โปรดนำเงินไปรับที่ประสารทรัพย์บริษัทบาง ขุนพรม ตั้งแต่เช้า ๓ โมง ถึงบ่าย ๓ โมง ทุกวันเสาร์เพียงเที่ยง เว้นแต่วันอาทิตย์ปิด”

วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๗
หลวงประสาร อักษร พรรณ
ผู้อำนวยการ

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ เป็นรูปไข่ ขอบเรียบ
ด้านหน้า กลางเหรียญเป็นรูปโลห์มีตัวเลขจารึก “ ร.ศ.๙๙ ” ทั้งสองข้างมีเทวดาถือพระขรรค์ เหนือโลห์มีพญานาค 3 เศียร ด้านล่าง ชิดวงขอบมีแถบจารึก ปีจุลศักราช “ ๑๒๔๒ ”
ด้านหลัง มีข้อความว่า “ อนุญาตชมสวน๑๒๗ ” อยู่ภายในวงพวงมาลา
ชนิด เงิน
ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 28 มิลลิเมตร

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด