พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต

พ.ศ.๒๔๔๙ เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต

คำบรรยายภาพ: เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาทฯ ชนิดเนื้อทองแดง และเนื้ออลูมิเนียม ด้านหน้าและด้านหลัง

เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต (วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร เขาสุวรรณบรรพต จังหวัดสระบุรี) มีบันทึกเป็นหลักฐานในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่๒
ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๕ ในวันที่ ๒ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) ความว่า

” …วันที่ ๒ สามโมงเช้าขึ้นรถไฟกรมนราไปพระบาท ทางเรียบร้อยดีกว่าแต่ก่อน ถมบาลัศเต็มไป จวนถึงฝนตกเรื่อยไปจนกระทั่งเดินขึ้นพระบาททั้งฝน มีเหตุสำหรับเป็นสวัสดิมงคล(๓) ((๓)ตั้งแต่เสด็จโดยรถรางพระพุทธบาท

เผอิญมีเหตุขัดข้องมาทุกคราว จึงดำรัสว่าเป็นสวัสดิมงคล) ในการต้องขลึก(๔) ((๔)ขลึก – ขัดข้อง) ๒ อย่างคือม่านที่กั้นกลางรถราวหลุดประการหนึ่งอีกสักเส้นหนึ่งจะถึงรถหลังตกรางเลยต้องลงไม่ถึงสเตชั่นมณฑปพระบาทรื้อเครื่องบนลงหมดมุงสังกะสีไว้ เหมือนสวมหมวกแฮลเม็ดน่าเกลียด ข้อที่แปลกนั้น

คือเห็นต้นไม้ที่พระบาทใบเขียวแลต้นเล็กน้อยขึ้นรกผิดกับเทศกาลที่เคยโกร๋นเกร๋น มีศาลาเมรุหลวงธุรการ(๑)
ปลูกอยู่ต้นทางเข้าไปหน้าหมู่กุฏิ ซึ่งเขาจัดเป็นที่พักกินข้าวแปลกขึ้นใหม่หลังเดียว นอกนั้นคงเดิม ถ่ายรูปออกจะทั้งฝนเกือบทั้งนั้น แล้วกลับมากินข้าวที่ศาลาที่ว่าแล้ว
กรมนราแจกแพรแถบพม่ากับตีน(๒) ((๒) บริษัทรถรางพระพุทธบาท ทำเป็นรูปพระพุทธบาทด้วยอลูมิเนียม สำหรับขายคนขึ้นพระบาทซื้อไปแขวนนาฬิกาเป็นที่ระลึก มักเรียกกันแต่ว่า “ตีน”) ชายมีมีดเงี้ยว ผู้หญิงมีอับเงี้ยว…”

บันทึกข้างต้น พร้อมคำอธิบายหมายเลข มีปรากฎอยู่ในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่๒ ที่จัดพิมพ์ขึ้นตามพระปรารภของพระอรรคชายาเธอฯ กรมขุนสุทธาสินีนาฎ เพื่อประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์ พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยมีรับสั่งว่า

หนังสือเรื่องนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ถึง ๑๗ ปีแล้ว ผู้ซึ่งยังไม่ทราบเรื่องเสด็จครั้งนั้นมีมากด้วยกัน
ถ้าแห่งใดควรจะทำคำอธิบายหมายเลขให้เข้าใจความยิ่งขึ้นได้ ก็ให้ทำคำอธิบายหมายเลขด้วย อนึ่ง พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุนี้ พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์

โดยดำรัสให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดลทรงเขียนไว้ ในเวลาสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นตำแหน่งราชเลขาธิการฝ่ายใน อยู่ในเวลาเมื่อเสด็จประพาสคราวนั้น

คำบรรยายภาพ: รูปถ่ายฝีพระหัตถ์ และลายพระหัตถ์ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๕

ในส่วนของบริษัทรถรางพระพุทธบาท ท.จ.ก. (ทุนจำกัด) นี้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างทางรถไฟเล็กเดินระหว่างท่าเรือกับพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี
(ตามหลักฐานปรากฎในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๘ หน้า ๔๑๐) เรื่องประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถรางพระพุทธบาท ทุนจำกัด ณ วันที่ ๒๕ กันยายน ร.ศ.๑๒๐

และเริ่มเปิดให้บริการในปีถัดมา คือปีร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) และรัชกาลที่๕ ทรงเสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาท แลพระราชทานพระกะฐิน โดยประทับรถรางพระพุทธบาท
ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๑ (ตามหลักฐานปรากฎในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๙ หน้า ๖๗๒) จากช่วงเวลาดังกล่าว จึงสามารถคะเนได้ว่าเหรียญที่ระลึกพระพุทธบาทนี้

น่าจะมีการจัดสร้างครั้งแรกอยู่ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๕ ที่เริ่มให้บริการรถรางพระพุทธบาท ถึงราวปีพ.ศ.๒๔๔๙ ที่ทรงบันทึกถึงเหรียญพระพุทธบาทนี้ไว้ อนึ่ง บริษัทรถรางพระพุทธบาท
ในการต่อมาได้หยุดดำเนินกิจการและถูกถอนพระบรมราชานุญาตพิเศษ ในปีพ.ศ.๒๔๗๒ (รัชสมัย รัชกาลที่๗)
ลักษณะจำเพาะ

ด้านหน้า: เป็นรูปพระพุทธบาทจำลอง ตามลักษณะมงคล ๑๐๘ ประการ มีหูคล้องในตัวทางด้านปลายพระบาท
ด้านหลัง: มีคำจารึกเป็นอักษรมงคล ๖แถวว่าที่รลึก
กุศลศุภคุณ
ที่ได้ไปนมัสการ
พระพุทธบาท
วลัญชนเจดีย์ ถึง
สัจพันธ์บรรพต

อนึ่ง คำจารึกนี้ เป็นการสะท้อนถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทตามแบบชาวลังกาทวีป

ชนิด: อลูมิเนียม และทองแดง
ขนาด: สูง ๔.๘ ซม. รวมหูคล้อง กว้าง ๑.๘ ซม.

ข้อมูลอ้างอิง:
๑) พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้น ร.ศ.๑๒๕, ฉบับโปรดเกล้าให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ นายภาวาส บุนนาค วันเสาร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗
๒) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๘ หน้า ๔๑๐ และ เล่ม๑๙ หน้า ๖๗๒ (รัชกาลที่๕), เล่ม ๔๖ หน้า ๓๖๗ (รัชกาลที่๗)

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด