พ.ศ. ๒๕๒๘ เหรียญที่ระลึก ๓๐๐ ปี ความสัมพันธ์ ไทย-ฝรั่งเศส

พ.ศ. ๒๕๒๘ เหรียญที่ระลึก ๓๐๐ ปี ความสัมพันธ์ ไทย-ฝรั่งเศส

พ.ศ.๒๕๒๘ เป็นปีที่ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้ตกลงกันที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศที่ได้มีต่อกันมาเป็นเวลาอันยาวนานถึง ๓๐๐ ปี คือ นับตั้งแต่วันที่เชวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ เอาอัครราชทูตวิสามัญ ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กับคณะได้เข้าเฝ้าฯ จำทูลพระราชสาส์นต่อพระหัตถ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ กรุงศรีอยุธยา ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๒๒๘เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศทั้งสองรัฐบาลไทยและฝรั่งเศสได้เห็นพ้องที่จะให้มีการฉลองเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ครั้งนั้นอย่างมโหฬาร โดยกำหนดให้ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตกิจกรรมในการฉลองนั้นทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับสูงของตนขึ้นเรียกว่า COMMITTEE FOR THE TRICENTENNIAL CELEBRATION OF FRANCE – THAI RELATION (คณะกรรมการงานฉลอง สามร้อยปีแห่งความสัมพันธ์ฝรั่งเศส – ไทย)     

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

 ฝ่ายไทย กระทรวงการต่างประเทศได้มอบให้ ฯพณฯ พันเอกพิเศษถนัด คอมันตร์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการระหว่างประเทศ เป็นประทานคณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสก็มี ฯพณฯ ลุย โดจ ( HE.LOUIS DAUGE ) อดีต การทูตอาวุโส ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประทานสภากาชาดฝรั่งเศสเป็นประธานคณะกรรมการ กิจกรรมในการฉลองครั้งนี้ได้กระทำไปบ้างแล้วตั้งแต่ ต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ทั้งทางไทยและฝรั่งเศส
     เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อโครงการที่ทางประเทศฝรั่งเศสเสนอมาฝ่ายไทยจึงจำต้องตัดทอนให้เหลืออยู่เท่าที่จะทำได้ตามงบประมาณ โดยเฉพาะในด้านศิลปะบางแขนงที่พอจะอวดชาวต่างประเทศได้อย่างเต็มภาคภูมิต่อการพิมพ์ดวงตราไปรษณียากรและการผลิตเหรียญที่ระลึก ( COMMEMO – RATIVE MEDALLIOIN ) ด้านเหรียญที่ระลึกนั้น ทั้งสองประเทศต่างพยายามอย่างเต็มที่ ในอันที่จะตีพิมพ์เหรียญที่ระลึกออกมาให้ทันเวลาตามที่กำหนดไว้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีความชำนิชำนาญมีชื่อเสียงมาแต่โบราณโรงกษาปณ์แห่งปารีส ( MANNAIE DE PARIS ) ได้ผลิตเหรียญที่ระลึกก่อนประเทศไทย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ 

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ลักษณะของเหรียญ : เป็นเหรียญกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘๑ มม. หนา ๖ มม .

ด้านหน้า :เป็นภาพขบวนแห่พระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประดิษฐานอยู่ในบุษบก ติดตามด้วยคณะทูต ที่เห็นทางซ้ายสุดตอนล่างของเหรียญคือออกหลวงกัลยาณไมตรี อุปทูต (เห็นเพียงแต่ใบหน้า) คนกลาง คือ ออกพระวิสุทธ สุนทร (ปาน) เอกอัครราชทูต ถัดไปทางขวาคือออกขุนศรีวิศาลวาจา ตรีทูตขบวนแห่กำลังอยู่ในลาน หน้าพระราชวังแวร์ซายส์ ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๒๒๙ ท่ามกลางฝูงชนที่ออกมาดูอย่างร่าเริง ภาพนี้ผู้ออกแบบได้จำลองมาจากภาพเขียนโบราณ ของพิพิธภัณฑ์สถานฝรั่งเศส (รวบรวมอยู่ในหนังสือ “AN – NALES DU MUSEE GUIMET” ของ LUCIEN FOURNEREAU ) รอบเหรียญมีตัวหนังสือภาษาฝรั่งเศส “L’AM – BASSADE DU ROI DE SIAM A VERSAILLES 1 SEPTEMBRE 1686”

ด้านหลัง :เป็นตราแผ่นดินตอนบนเป็นตัวเลขปีคริสต์ศักราช “ ๑๖๘๕ ” และ “ ๑๙๘๕ ” ซ้อนกัน ตอนล่างมีข้อความเป็นภาษาฝรั่งเศส “TRICENTENAIREDES RELATIONS ENTRE LA FRANCE ET LA THAILANDE”

ชนิดโลหะ : เงินและบรอนซ์ ( BRONZE )

ผู้ออกแบบ : MICHEL PEDRON
ประเทศไทยนั้นเนื่องจาก ภาวะทางเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ผลิตเหรียญที่ระลึกในครั้งนี้ โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการวางแผนผลิต เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกหรือเหรียญที่ระลึก เพียงเพื่อมอบให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในงานฉลองโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีการจำหน่ายแก่นักสะสมเหรียญ และการผลิตได้สำเร็จเมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๒๙

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด