พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ. ๑๑๑) เหรียญโรงเรียนราชกุมาร

พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ. ๑๑๑) เหรียญโรงเรียนราชกุมาร

พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ. ๑๑๑) เหรียญโรงเรียนราชกุมาร

โรงเรียนราชกุมาร ได้ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เป็นศึกษาสถานพิเศษสำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ แลหม่อมเจ้าบางพระองค์ จะได้ทรงศึกษาในวิชาต่างๆ มีวิชาหนังสือไทย แลหนังสือภาษาต่างประเทศ แลวิชาเลข วิชาภูมิศาสตร์ เป็นต้น ตามสมควรแก่ขัตติยราชตระกูล ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์ มอรันต์ (รอเบิร์ต แอล. มอรันต์) พระอาจารย์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) เป็นผู้จัดการโรงเรียนนี้ และมีสถานภาพเป็นโรงเรียนพิเศษ มิได้เกี่ยวข้องกับกระทรวงธรรมการดั่งเช่นโรงเรียนอื่นๆ สถานที่ตั้งของโรงเรียน อยู่ที่หลังพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ภายในพระบรมมหาราชวัง

โรงเรียนราชกุมารนี้ เปิดในวันที่ ๗ มกราคม รัตนโกสินทร์ ศก๒๕ ๑๑๑ เวลาเช้า ๓ โมง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทางพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ทรงพระดำเนินขึ้นพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จขึ้นทางบันไดใหญ่ ตรงออกประตูไปประทับที่โรงพัก (พับพลาราชพีธี) นักเรียนซึ่งเข้าแถวยืนประทับพร้อมอยู่ที่นั่น ถวายคำนับแล้วขับพรรณาพระเดชพระคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นทรงเสด็จไปถึงประตูโรงเรียน แล้วทรงชักผ้าที่คลุมแผ่นกระดาษ มีอักษรนามโรงเรียน พระราชทานนามว่า “โรงเรียนราชกุมาร” หลังจากนั้นจึงทอดพระเนตรนักเรียนฝึกหัดออกกำลังกาย ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นักเรียน และพระอาจารีย์ และทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมรูปอย่างใหญ่ กับนาฬิกาพกแก่มิสเตอร์มอรันต์เป็นกำเหน็จ ในตอนค่ำยังมีการเลี้ยง รวมถึงการแต่งกายแบบแฟนซี อีกด้วย (ข้อมูลข้างต้น อ้างอิงจาก ราชกิจจานุเบกษารัชกาลที่๕ เล่ม๙ หน้าที่ ๓๘๑ ถึง ๓๘๒)

“ที่มา สมุดภาพจดหมายเหตุพระราชโอรสแลพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๕๒”

“ค้นคว้าโดย พฤฒิพงษ์ เชิดเกียรติกุล”

อนึ่ง จากการค้นคว้าเพิ่มเติม พบว่าพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแล้วแต่ผ่านการศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารนี้ ก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเมื่อเจริญพระชนมายุมากขึ้น ในวัยประมาณ ๑๔ ถึง ๑๕ ชันษา นัยว่าโรงเรียนราชกุมาร เปรียบเสมือนโรงเรียนสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศนั้นเอง
เหรียญโรงเรียนราชกุมาร มีลักษณะดังรูป จากการค้นคว้า ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการประกาศใช้ในพระราชกิจจานุเบกษา สันนิษฐานว่าเป็นเหรียญที่พระราชทานแก่นักเรียนในโอกาสที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ หรืออาจเป็นเหรียญรางวัลเรียนดีก็เป็นได้ (ยังไม่สามารถหาข้อมูลมายืนยันได้)

ข้อมูลจำเพาะ

ด้านหน้า: เป็นรูปโล่ห์ มีพระเกี้ยวประดับอยู่ด้านบน ล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์มาลา ด้านล่าง มีแถบโบว์ พร้อมข้อความตรงกลางว่า “ราชกุมาร” ภายในโล่ห์มีตราพระเกี้ยวอยู่ด้านขวาบน ตราจักรีอยู่ด้านซ้ายบน และเป็นรูปหนังสืออยู่ด้านล่างของโล่ห์ เหรียญนี้ประดับพร้อมแพรแถบสีเขียว
ด้านหลัง: เรียบ ไม่มีลวดลายหรือข้อความใดๆ
ขนาด: สูง ๕๕ มิลลิเมตร กว้าง ๓.๖ มิลลิเมตร
ชนิด: เนื้อเงินกะไหล่ทอง (เท่าที่ค้นพบ)

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด