พ.ศ.๒๔๘๙ เหรียญศานติมาลา

พ.ศ. ๒๔๘๙ เหรียญศานติมาลา

พ.ศ.๒๔๘๙ เหรียญศานติมาลา

The Santi Mala Medal
ใช้อักษรย่อว่า ศ.ม. เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความกล้า

     รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญศานติมาลาสำหรับพระราชทานเพื่อสนองคุณงามความดีและเป็นกิตติยานุสรณ์แก่ผู้ซึ่งได้กระทำการต่อต้าน ยอมเสียสละ ทำทุกอย่าง ทำการแก้กลับการร้ายให้กลายเป็นดียังผลให้ประเทศไทยบรรลุถึงซึ่งศานติภาพ และธำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติศานติมาลาพุทธศักราช ๒๔๘๙

มี ๒ ชนิด คือ ชนิดสามัญ เป็นเหรียญดีบุก และชนิดพิเศษเป็นเหรียญเงิน เหรียญนี้พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี

ผู้ออกแบบ : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

๑. ชนิดสามัญ เป็นเหรียญดีบุก รูปกลมรี ด้านหน้า มีรูปไอราพต ด้านหลัง จารึกคาถาเป็นอักษรไทยและอักษรโรมันว่า “นต.ถิสน.ติ ปรํสุขํ” “NATTHI SANTI PARAM SUKAM” แปลว่า “ความสุขอื่นใดยิ่งกว่าความสงบไม่มี” ขนาดกว้าง ๔.๑ เซนติเมตร สูง ๕.๖ เซนติเมตร ห้อยแพรแถบสีแดง กว้าง ๔๐ มิลลิเมตร ตรงกึ่งกลางของแพรแถบมีริ้วสีน้ำเงิน กว้าง ๔ มิลลิเมตร และมีริ้วสีขาว กว้างริ้วละ ๒ มิลลิเมตร ประกอบ ๒ ข้าง ริ้วสีน้ำเงิน ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
สำหรับพระราชทานสตรี แพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย

๒. ชนิดพิเศษ มีลักษณะเช่นชนิดสามัญ แต่เป็นเหรียญเงิน และเหนือเหรียญขึ้นไปมีดาบตั้ง ทำด้วยเงินไขว้กันประกอบอยู่ด้วยมีขนาดเท่ากับเหรียญชนิดสามัญ

การพระราชทาน

๑. สำหรับพระราชทานผู้ทำความดีความชอบในการต่อต้านผู้รุกรานและยอมเสียสละทำการแก้ร้ายให้กลายเป็นดี ยังผลให้ประเทศไทยบรรลุถึงซึ่งศานติภาพ คงธำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตย
๒. พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก
๓. ไม่มีประกาศนียบัตรกำกับเหรียญฯ
ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด