พ.ศ. ๒๔๓๒ เหรียญ “ทองสำริด” วชิรญาณ

พ.ศ. ๒๔๓๒ เหรียญ “ทองสำริด” วชิรญาณ

พ.ศ. ๒๔๓๒ เหรียญ “ทองสำริด” วชิรญาณ

ทรงโปรดฯ ให้สร้างเหรียญวชิรญาณขึ้นสำหรับเป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือดีและได้ตราเป็นพระราชบัญญัติอันมีข้อความต่อไปนี้ :
“ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดให้สร้างเหรียญวชิรญาณเป็นเหรียญทองสำริด มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์อยู่หน้าหนึ่ง อีกหน้าหนึ่งมีรูปพวงมาลัยในนั้นเป็นที่สำหรับจารึกนามผู้ที่ได้รับเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นรางวัลในนามของหอพระสมุดวชิรญาณ แก่ผู้ซึ่งมีความอุตสาหะแต่งหนังสือหรือแปลหนังสือซึ่งมีประโยชน์แก่ทางความรู้

และควรเป็นแบบแผนสืบไปภายหน้าได้เป็นพยานยกย่องความดีความรู้และความอุตสาหะของผู้แต่งนั้นว่าได้ทำความชอบไว้ในวิชาหนังสือ สมควรเป็นที่สรรเสริญของบัณฑิตทั้งหลายและตราพระราชบัญญัติสำหรับเหรียญนั้นไว้ในหอพระสมุดฯ มีเนื้อความว่าสมาชิกหอพระสมุดวชิรญาณคนใดเห็นว่าหนังสือเล่มใดควรจะได้รับเหรียญวชิรญาณให้จดหมายแจ้งความต่อกรรมสัมปาทิกให้กรรมสัมปาทิกประชุมกันในเดือนเมษายนปีละครั้งเพื่อตรวจพิจารณาตัดสินรางวัลเหรียญวชิรญาณ เมื่อกรรมสัมปาทิกเห็นว่าหนังสือเรื่องใดควรได้รับเหรียญวชิรญาณบ้าง

ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอเรียนพระราชปฏิบัติถ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระราชทานผู้ใดบ้าง เมื่อกรรมการประชุมสมาชิกที่หอพระสมุดวชิรญาณในวันกลางเดือน ๖ ซึ่งตรงกับวันราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เชิญผู้ที่จะได้รับเหรียญวชิรญาณมารับในที่ประชุมสมาชิก ต่อมาไม่ได้จึงได้ส่งไป เหรียญวชิรญาณนั้นให้มีประกาศนียบัตรกำกับด้วย แต่คนหนึ่งจะรับเหรียญ ได้แต่เพียงเหรียญเดียว เมื่อได้รับแล้วต่อไปในวันหน้าถ้าผู้นั้นแต่งหนังสือดีสมควรจะได้รับอีก จะได้รับแต่ประกาศนียบัตรเป็นสำคัญทุกคราวไป อนึ่งถ้ากรรมสัมปาทิกเห็นว่าผู้ที่ได้รับเหรียญวชิรญาณสมควรจะได้รับการอุดหนุนด้วยทุนทรัพย์เป็นกำลังบ้าง ก็ให้ทุนทรัพย์ได้อีกโสดหนึ่งมีคราวละ ๘๐ บาทเป็นอย่างมาก ๒๐ บาทเป็นอย่างน้อย มีเนื้อความในพระราชบัญญัติสำหรับเหรียญดังนี้”

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ความงามของเหรียญนี้คงจะเป็นที่แสวงหาของบุคคลทั่วไป ที่ได้มีโอกาสพบเห็นในสมัยนั้นมาแล้ว ปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภาค ๑๕ หน้า ๗๘ มีข้อความว่า “วันพฤหัสบดีเดือน ๑๐ แรม ๑๑ ค่ำปีมะแมเบญจศก จุลศักราช ๑๒๔๕ กรมหมื่นประจักษ์๑๖ ถวายหนังสือว่าด้วยนายหว่างมหาดเล็กน้ำร้อน ลักเหรียญพระสมุดวชิรญาณไปจากออฟฟิส ๒๐ เหรียญ ชำระเป็นสัตย์ ไถ่ของกลางได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ทรงเซ็นให้เฆี่ยน ๕๐ทีจำคุก ๕ ปี” เมื่อพิจารณาโทษที่นายหว่างได้รับ เข้าใจว่าเหรียญวชิรญาณนี้ คงจะมีราคาค่างวดมิใช่น้อยในสมัยนั้น และก็เป็นการแน่นอนทีเดียวว่า ของกลางที่ยังหลงเหลืออยู่ในครั้งกระนั้น ใครจะกล้าปฏิเสธได้ว่า จะไม่ตกทอดมาถึงมือของบรรดานักสะสมเหรียญที่ระลึกทั้งหลายในปัจจุบันนี้ แม้กระนั้นก็ตามเหรียญนี้ก็ยังเป็นชิ้นสำคัญอันหายากยิ่ง (MUSEUM PIECE) แม้กระทั่งในศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปน์ไทยกรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง ก็ยังไม่ปรากฎว่ามีเหรียญชุดนี้ตั้งแสดงให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ชม

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ลักษณะจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบนขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระดับพระอุระ ผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญ ริมขอบเป็นพระปรมาภิไธย “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
ด้านหลัง : มีพระมหาพิชัยมงกุฏพิมพ์นูนอยู่เบื้องบน ใต้พระมหาพิชัยมงกุฏเป็นรูปโบว์เล็ก ทอดชายคลี่ออกทั้งสองข้าง กลางเหรียญเป็นแพรแถบม้วนหัวท้าย ว่างไว้สำหรับจารึกชื่อผู้ที่จะได้รับพระราชทานรางวัล
ชนิด ทองสำริด
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 45 มิลลิเมตร
สร้าง : วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2432
สร้างสำหรับพระราชทานเป็นรางวัลในนามของหอพระสมุดวชิรญาณแก่ผู้มีความอุตสาหะในการแต่งหนังสือ หรือแปลหนังสือซึ่งมีประโยชน์ทางวรรณคดี


เป็นที่น่าสังเกตว่าตั้งแต่ได้โปรดให้สร้างเหรียญวชิรญาณ สำหรับเป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือดีนี้แล้ว ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังไม่มีผู้ใดได้รับพระราชทานรางวัลตามพระราชบัญญัติ จวบจนกระทั่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2459 ก่อนงานพิธีย้ายหอพระสมุดวชิรญาณ “ตึกถาวรวัตถุ” ริมถนนหน้าพระธาตุนั้น กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า ควรทูลเกล้าฯถวายเหรียญวชิรญาณแด่พะรบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการยกย่องหนังสือ “พระนลคำหลวง” ซึ่งพระราชนิพนธ์ในปีนั้นเป็นฤกษ์ก่อน ต่อจากนั้นไม่ปรากฎว่ามีผู้ใดได้รับพระราชทานอีกเลย

แชร์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
อีเมล์

หมวดหมู่

ได้รับความนิยม

ติดตามอัพเดทล่าสุด

สมัครรับจดหมายข่าวของเรา

ไม่มีสแปมการแจ้งเตือนเกี่ยวกับบทความใหม่ และ การอัปเดต.
ตามหมวดหมู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ

สารคดีเล่าเรื่องผ่านเหรียญ EP1 | เหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ.๑๒๕ https://www.youtube.com/watch?v=gKf1rqiTXCg&list=PLseyPJqYT8qCaYHhzhvdMe-mu_7uJEj6R จากบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลได้บันทึกไว้ว่างานวัดเบญเป็นงานที่สนุกมากและเป็นที่เลื่องลือของชาวพระนครในเวลานั้นและในปี พ.ศ.2449 ได้มีการประชันศาสตราวุธต่างๆเช่น หอก ดาบ ง้าว ทวน กริช ปืน และขอช้าง เป็นต้น….”.เราจึงได้นำเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและที่มาของเหรียญประชันอาวุธ วัดเบญจมบพิตร ร.ศ. ๑๒๕มา #เล่าเรื่องผ่านเหรียญ ให้ทุกคนได้ย้อนเวลากลับไปด้วยกันเพราะ #เหรียญที่ระลึกเปรียบเสมือนหลักกิโลทางประวัติศาสตร์

พ.ศ.๒๕๖๒ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า   โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พ.ศ. ๒๕๖๒ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 4 พฤษภาคม 2562 ข้อมูลจำเพาะ ชนิดโลหะ เงิน ความบริสุทธิ์ 92.5% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 23 กรัม (ผลิตไม่เกิน 300,000 เหรียญ)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕)

พ.ศ.๒๔๑๓ (จ.ศ.๑๒๓๒) เหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ (ส พ ป ม จ ๕) เหรียญ ส พ ป ม จ ๕ เป็นเหรียญรางวัลซึ่งพระราชทานแก่ผู้ที่แต่งซุ้มไฟประกวดในวัง เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษาในปีพศ 2413 ซึ่งทรงมีพระชนมายุ 17 พรรษา เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญที่ระลึกเหรียญแรกของรัชกาลที่๕ ตามประวัติกล่าวไว้ว่าทรงพระราชทานเป็นเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง จำนวนที่โปรดเกล้าให้สร้าง ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีจำนวนเท่าใด