Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๒๖ (จ.ศ.๑๒๔๕) เหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ ๔ เสมอรัชกาลที่ ๒

พ.ศ.๒๔๒๖ (จ.ศ.๑๒๔๕) เหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ ๕ เสมอรัชกาลที่ ๒

พ.ศ.๒๔๒๖ เหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๒

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า ทางซ้ายเป็นรูปอาร์มมีพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) เปล่งรัศมีอยู่บนพานแว่นฟ้า ซึ่งเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางขวาเป็นรูปอาร์มมีครุฑทรงเครื่องยุคนาค ซึ่งเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ ๕ เสมอรัชกาลที่ ๒ เนื่องด้วยพระองค์ทรงครองราชย์เป็นปีที่ ๑๕ เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นับปีเดือนวันที่ครองราชสมบัติเสมอ ร.๒ ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม จ.ศ.๑๒๔๕ พ.ศ.๒๔๒๖
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ด้านหลัง กลางเหรียญมีข้อความว่า “จุลศักราช ๑๒๔๕” ริมขอบมีข้อความว่า “รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๒”
 
ชนิด : ทองคำ เงิน
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๓ มิลลิเมตร
สร้าง : พ.ศ. ๒๔๒๖
Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๒๘ (จ.ศ.๑๒๔๓) เหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๔

พ.ศ.๒๔๒๘ (จ.ศ.๑๒๔๓) เหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๔

พ.ศ.๒๔๒๘ เหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๔

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วย รัชกาลที่ ๔ จุลศักราช ๑๒๔๗ เนื่องในวโรกาสที่ ทรงเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ ๑๗ (ระหว่างปี พศ ๒๔๑๑ ถึง ๒๔๒๘) ซึ่งเสมอด้วยรัชกาลที่ ๔ (ระหว่างปี พศ ๒๓๙๔ ถึง ๒๔๑๑) นับได้ ๖,๓๗๒ วัน ณ วันที่ ๒ เมษายน ๒๔๒๙ (ปฎิทินปัจจุบัน)

เหรียญที่นำมาลงให้ดูนี้ มีพิมพ์ตื้น และผ่านการใช้งานมา ถึงกระนั้นก็ตามที เหรียญนี้ก็จัดเป็นเหรียญเสมอที่ค่อนข้างหาดูได้ยากกว่าเหรียญเสมออื่นๆ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : เป็นรูปไข่ มีห่วงเชื่อม
ด้านหน้า : ตรงกลางโล่มีรูปช้างสามเศียร มีช่อพุทธรักษา ๒ ข้าง มีพระอุณหิศอยู่ด้านบน ภายในพระอุณหิศมีอุณาโลมอยู่เหนือโล่ มีอักษรรอบขอบเหรียญว่า “ที่รฤกรัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๔” และมีอักษรด้านล่างว่า “จุลศักราช ๑๒๔๗”
ด้านหลัง : ตรงกลางมีรูปโล่อยู่ ๒ โล่ โล่ด้านซ้ายเป็นตราจุลมงกุฎ รองพาน ๒ ชั้น โล่ด้านขวาเป็นตราพระมหามงกุฎ รองพานอย่างเดียวกัน มีพระมหาสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ และมีช่อชัยพฤกษ์รอบนอก มีพระขรรค์กับธารพระกรไขว้กันอยู่ และมีพระอุณหิศอยู่เบื้องบน
ชนิด : เงิน กะไหล่ทอง ทองแดง
ขนาด : กว้าง 31 มิลลิเมตร ยาว 38 มิลลิเมตร

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๒๙ (จ.ศ.๑๒๔๘) เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุ ณหิศ สยามกุฎราชกุมาร

พ.ศ.๒๔๒๙ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

พ.ศ.๒๔๒๙ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามกุฎราชกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา ในปี พศ๒๔๒๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้จัดงานพระราชพิธีสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ในขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๙ พรรษา ๖ เดือน และการพระราชพิธีครั้งนั้น ได้จัดขึ้นตามโบราณราชประเพณีทุกประการ

อนึ่ง เกี่ยวกับจำนวนเหรียญที่มีการพระราชทานนั้น จากการค้นข้อมูลใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบบันทึกในวันอังคาร แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ วันที่รัชกาล ๖๖๔๓ (๑๘ มกราคม พศ ๒๔๒๙) ขอคัดย่อข้อความบางส่วนที่เกี่ยวข้องมาดังนี้ “อนึ่ง เมื่อพระบรมวงศานุวงศ์ ท่านเสนาบดี พระยาพระหลวง ข้าราชการในกรุงหัวเมือง เจ้าประเทศราชเข้ามาเฝ้าทูลละอองทุลีพระบาทถวายคำนับหน้าพระที่นั่งนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพนักงานแจกเหรียญที่ระลึกในการพระราชพิธีมงคลนี้ทั่วกัน คือพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์แจกเหรียญสายข้างเหนือคืดฝ่ายพลเรือน พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์แจกสายข้างใต้คือฝ่ายทหาร เหรียญที่แจกคราวนี้เป็นเหรียญ ทอง กะไหล่ เงิน บรอนซ์ โตกว่าเงินบาทหน่อยหนึ่ง หนากว่าสัก ๒ เท่า เหรียญนั้นด้านหนึ่งเป็นพระรูปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงเครื่องอย่างวันฟังสวด ทรงพระเกี้ยวจุฬาลงกรณ์ มีหนังสือรอบว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศรวรมหาจุฬาลงกรณ์ เติมสร้อย วิบูลย์สวัสดิ์ศิริวัฒน์วิสุทธิ์ สยามมกุฎราชกุมาร อีกด้านหนึ่งเป็นรูปแพสรงสนาน มีหนังสือว่า ที่รฦกการพระราชพิธีลงสรง เฉลิมพระปรมาภิไธย ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ มีจำนวนที่ได้พระราชทานในเวลาวันนี้ประมาณ ๑,๐๐๐ เศษหลายร้อย” จากข้อมูลนี้ทำให้ทราบทั้งวันที่พระราชทาน และจำนวนที่ทรงพระราชทานโดยประมาณ

เหรียญที่นำรูปมาลงให้ดูนี้ เป็นชนิดเงิน สภาพผิวเดิมยังคงอยู่ คราบที่เห็นเป็นเพียงคราบความเก่า แต่ผิวเหรียญทั้งสองด้านมิได้เป็นรอยใดๆ และเหรียญนี้ได้พระราชทานมาพร้อมกล่อง

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
สภาพด้านหลัง

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ภาพถ่ายอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้เห็นผิวเดิมของเหรียญซึ่งเป็นลักษณะ proof คือเป็นการขัดเงาผิว แบบหนึ่ง ได้ชัดเจนขึ้น ของจริงจะออกสีปีกแมลงทับ
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

และภาพกล่องที่พระราชทานมาพร้อมกัน มีตราประจำพระองค์บนหน้ากล่อง ภาพถัดไปถ่ายคู่กับหนังสือจดหมายเหตุรายวัน ซึ่งเป็นบันทึกประจำวัน ของท่านเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ น่าทึ่งที่ทรงเริ่มบันทึกตั้งแต่พระชนมายุเพียง ๕ พรรษา! แสดงถึงการได้รับการอบรมอย่างดีเยี่ยมจากพระราชบิดา และกล่องพระราชทานนี้ มีจารึกนามของผู้รับพระราชทานไว้ด้านในฝากล่องด้วย

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ภาพแพลงสรงจำลอง ที่ปรากฏอยู่หลังเหรียญ ชมได้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพ

ภาพ ร๕ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จประทับพลับพลาท้องสนามไชย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรค์ พระราชทานเหรียญที่ระลึก ระหว่างพระราชพิธีสรงสนานเฉลิมพระปรมาภิไธย สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในวันที่ ๑๘ มกราคม พศ ๒๔๒๙

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ผินพระพักตร์เฉียงทางซ้ายของเหรียญทรงเครื่องอย่างขัตติยราชกุมาร ทรงพระเกี้ยวยอดจุฬาลงกรณ์ ริมขอบเป็นพระปรมาภิไธย “ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศรวรมหาจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรย์ ขัตติยสันตติ อุกฤษพงษ์วโรโตสุชาติธัญญลักษณ์ วิลาศวิบูลย์ สวัสดิ์ศิริวัฒน์วิสุทธิ์ สยามมกุฎราชกุมาร ” ริมขอบล่างมีอักษรโรมันตัวจิ๋วว่า “ W .E.J.GAND ”
ด้านหลัง : เป็นรูปหุ่นจำลองแพลงสรง ริมขอบบนมีข้อความว่า “ ที่รฦกการพระราชพิธีลงสรง เฉลิมพระปรมาภิไธย ” ริมขอบล่างมีข้อความว่า “ ปีจออัฐศกศักราช ๑๒๔๘ ” ริมขอบล่างมีอักษรโรมันตัวจิ๋วว่า “ W .KULLRICH F ”
ชนิด : ทองคำ เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 37 มิลลิเมตร

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๓๑ (จ.ศ.๑๒๕๐) เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธี เฉลิมพระสุพรรณบัฏ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

พ.ศ.๒๔๓๑ (จ.ศ.๑๒๕๐) เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธี เฉลิมพระสุพรรณบัฏ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

พ.ศ.๒๔๓๑ เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธี เฉลิมพระสุพรรณบัฏ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

เหรียญที่ระลึก พระราชพิธีเฉลิมพระสุพรรณบัฏ สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็นกรมขุนเทพทวาราวดี ปีพศ ๒๔๓๑ เมื่อพระชนมายุ ๘ พรรษา ทรงศักดินา ๕๐,๐๐๐ ไร่ ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรม ทรงมีพระเกียรติยศเป็นที่สอง รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

เหรียญนี้มีขนาด ศก ๓๗ มม หลายท่านเรียกว่า เหรียญจุกเดี่ยว หลังสิงห์ ขอบล่างด้านหน้า มีชื่อช่างแกะเหรียญ เป็นภาษาอังกฤษจารึกอยู่ เหรียญที่นำรูปมาลงให้ดูนี้ เป็นชนิดเนื้อทองแดงครับ

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

รูปแสดงชื่อช่างแกะพิมพ์เหรียญ (ผู้ผลิต) เป็นอักษรโรมันตัวจิ๋ว อยู่ทางขอบล่าง ด้านหน้าเหรียญ อนึ่ง เหรียญนี้มีการทำปลอมด้วยการ copy จากเหรียญจริงต้นแบบ แล้วทำแม่พิมพ์ปลอมด้วยเครื่อง EDM รายละเอียดจึงมีความใกล้เคียงกับของจริง แต่ตัวอักษรมักจะไม่คมชัด

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ผินพระพักตร์เฉียงทางซ้ายของเหรียญทรงเครื่องอย่างขัตติยราชกุมาร ทรงพระเกี้ยวยอดจุฬาลงกรณ์ ริมขอบเป็นพระปรมาภิไธย “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศรวรมหาจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรย์ ขัตติยสันตติ อุกฤษพงษ์วโรโตสุชาติธัญญลักษณ์ วิลาศวิบูลย์ สวัสดิ์ศิริวัฒน์วิสุทธิ์ สยามมกุฎราชกุมาร ” ริมขอบล่างมีอักษรโรมันตัวจิ๋วว่า “ W .E.J.GAND ”
ด้านหลัง : เป็นรูปหุ่นจำลองแพลงสรง ริมขอบบนมีข้อความว่า “ ที่รฦกการพระราชพิธีลงสรง เฉลิมพระปรมาภิไธย ” ริมขอบล่างมีข้อความว่า “ปีจออัฐศกศักราช ๑๒๔๘” ริมขอบล่างมีอักษรโรมันตัวจิ๋วว่า “ W .KULLRICH F ”
ชนิด : ทองคำ เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 37 มิลลิเมตร



Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5

พ.ศ. ๒๔๓๒ เหรียญ “ทองสำริด” วชิรญาณ

พ.ศ. ๒๔๓๒ เหรียญ “ทองสำริด” วชิรญาณ

ทรงโปรดฯ ให้สร้างเหรียญวชิรญาณขึ้นสำหรับเป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือดีและได้ตราเป็นพระราชบัญญัติอันมีข้อความต่อไปนี้ :
“ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดให้สร้างเหรียญวชิรญาณเป็นเหรียญทองสำริด มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์อยู่หน้าหนึ่ง อีกหน้าหนึ่งมีรูปพวงมาลัยในนั้นเป็นที่สำหรับจารึกนามผู้ที่ได้รับเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นรางวัลในนามของหอพระสมุดวชิรญาณ แก่ผู้ซึ่งมีความอุตสาหะแต่งหนังสือหรือแปลหนังสือซึ่งมีประโยชน์แก่ทางความรู้

และควรเป็นแบบแผนสืบไปภายหน้าได้เป็นพยานยกย่องความดีความรู้และความอุตสาหะของผู้แต่งนั้นว่าได้ทำความชอบไว้ในวิชาหนังสือ สมควรเป็นที่สรรเสริญของบัณฑิตทั้งหลายและตราพระราชบัญญัติสำหรับเหรียญนั้นไว้ในหอพระสมุดฯ มีเนื้อความว่าสมาชิกหอพระสมุดวชิรญาณคนใดเห็นว่าหนังสือเล่มใดควรจะได้รับเหรียญวชิรญาณให้จดหมายแจ้งความต่อกรรมสัมปาทิกให้กรรมสัมปาทิกประชุมกันในเดือนเมษายนปีละครั้งเพื่อตรวจพิจารณาตัดสินรางวัลเหรียญวชิรญาณ เมื่อกรรมสัมปาทิกเห็นว่าหนังสือเรื่องใดควรได้รับเหรียญวชิรญาณบ้าง

ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอเรียนพระราชปฏิบัติถ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระราชทานผู้ใดบ้าง เมื่อกรรมการประชุมสมาชิกที่หอพระสมุดวชิรญาณในวันกลางเดือน ๖ ซึ่งตรงกับวันราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เชิญผู้ที่จะได้รับเหรียญวชิรญาณมารับในที่ประชุมสมาชิก ต่อมาไม่ได้จึงได้ส่งไป เหรียญวชิรญาณนั้นให้มีประกาศนียบัตรกำกับด้วย แต่คนหนึ่งจะรับเหรียญ ได้แต่เพียงเหรียญเดียว เมื่อได้รับแล้วต่อไปในวันหน้าถ้าผู้นั้นแต่งหนังสือดีสมควรจะได้รับอีก จะได้รับแต่ประกาศนียบัตรเป็นสำคัญทุกคราวไป อนึ่งถ้ากรรมสัมปาทิกเห็นว่าผู้ที่ได้รับเหรียญวชิรญาณสมควรจะได้รับการอุดหนุนด้วยทุนทรัพย์เป็นกำลังบ้าง ก็ให้ทุนทรัพย์ได้อีกโสดหนึ่งมีคราวละ ๘๐ บาทเป็นอย่างมาก ๒๐ บาทเป็นอย่างน้อย มีเนื้อความในพระราชบัญญัติสำหรับเหรียญดังนี้”

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ความงามของเหรียญนี้คงจะเป็นที่แสวงหาของบุคคลทั่วไป ที่ได้มีโอกาสพบเห็นในสมัยนั้นมาแล้ว ปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภาค ๑๕ หน้า ๗๘ มีข้อความว่า “วันพฤหัสบดีเดือน ๑๐ แรม ๑๑ ค่ำปีมะแมเบญจศก จุลศักราช ๑๒๔๕ กรมหมื่นประจักษ์๑๖ ถวายหนังสือว่าด้วยนายหว่างมหาดเล็กน้ำร้อน ลักเหรียญพระสมุดวชิรญาณไปจากออฟฟิส ๒๐ เหรียญ ชำระเป็นสัตย์ ไถ่ของกลางได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ทรงเซ็นให้เฆี่ยน ๕๐ทีจำคุก ๕ ปี” เมื่อพิจารณาโทษที่นายหว่างได้รับ เข้าใจว่าเหรียญวชิรญาณนี้ คงจะมีราคาค่างวดมิใช่น้อยในสมัยนั้น และก็เป็นการแน่นอนทีเดียวว่า ของกลางที่ยังหลงเหลืออยู่ในครั้งกระนั้น ใครจะกล้าปฏิเสธได้ว่า จะไม่ตกทอดมาถึงมือของบรรดานักสะสมเหรียญที่ระลึกทั้งหลายในปัจจุบันนี้ แม้กระนั้นก็ตามเหรียญนี้ก็ยังเป็นชิ้นสำคัญอันหายากยิ่ง (MUSEUM PIECE) แม้กระทั่งในศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปน์ไทยกรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง ก็ยังไม่ปรากฎว่ามีเหรียญชุดนี้ตั้งแสดงให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ชม

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ลักษณะจำเพาะ

ลักษณะ : กลมแบนขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระดับพระอุระ ผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญ ริมขอบเป็นพระปรมาภิไธย “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
ด้านหลัง : มีพระมหาพิชัยมงกุฏพิมพ์นูนอยู่เบื้องบน ใต้พระมหาพิชัยมงกุฏเป็นรูปโบว์เล็ก ทอดชายคลี่ออกทั้งสองข้าง กลางเหรียญเป็นแพรแถบม้วนหัวท้าย ว่างไว้สำหรับจารึกชื่อผู้ที่จะได้รับพระราชทานรางวัล
ชนิด ทองสำริด
ขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 45 มิลลิเมตร
สร้าง : วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2432
สร้างสำหรับพระราชทานเป็นรางวัลในนามของหอพระสมุดวชิรญาณแก่ผู้มีความอุตสาหะในการแต่งหนังสือ หรือแปลหนังสือซึ่งมีประโยชน์ทางวรรณคดี


เป็นที่น่าสังเกตว่าตั้งแต่ได้โปรดให้สร้างเหรียญวชิรญาณ สำหรับเป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือดีนี้แล้ว ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังไม่มีผู้ใดได้รับพระราชทานรางวัลตามพระราชบัญญัติ จวบจนกระทั่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2459 ก่อนงานพิธีย้ายหอพระสมุดวชิรญาณ “ตึกถาวรวัตถุ” ริมถนนหน้าพระธาตุนั้น กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า ควรทูลเกล้าฯถวายเหรียญวชิรญาณแด่พะรบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการยกย่องหนังสือ “พระนลคำหลวง” ซึ่งพระราชนิพนธ์ในปีนั้นเป็นฤกษ์ก่อน ต่อจากนั้นไม่ปรากฎว่ามีผู้ใดได้รับพระราชทานอีกเลย

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๓๓ (ร.ศ.๑๐๙) เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษาพระนางเจ้าฯ พระวรราชเทวี

พ.ศ.๒๔๓๓ (ร.ศ.๑๐๙) เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษาพระนางเจ้าฯ พระวรราชเทวี

พ.ศ.๒๔๓๓ ( รศ. ๑๐๙ ) เหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษาพระนางเจ้าฯ พระวรราชเทวี

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ กลางเหรียญฉลุเป็นลายแก้วชิงดวง
ด้านหน้า มีอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบอักษรจีนรอบลายฉลุว่า “การในกลางโต๊ะ วัล ราง สม เจ้า นาง พระ สูตร ประ วัน”
ด้านหลัง มีอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบอักษรจีนรอบลายฉลุว่า “โก รัตน ปี เทวี ราช วร พระ ๑๐๙ ศก๒๒ สินทร”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเป็นที่ระลึกในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระนางเจ้าพระวรราชเทวีมีพระชนมพรรษา ๒๗ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓


พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวีหรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรามาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) พระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ชนิด : เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๔ มิลลิเมตร
สร้าง : พ.ศ. ๒๔๓๓

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๓๓ (ร.ศ.๑๐๙) เหรียญที่ระลึกฉลองพระป้าย

พ.ศ.๒๔๓๓ (ร.ศ.๑๐๙) เหรียญที่ระลึกฉลองพระป้าย

พ.ศ.๒๔๓๓ ( รศ. ๑๐๙ ) เหรียญที่ระลึกฉลองพระป้าย

ลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีรูสี่เหลี่ยมตรงกลาง ๒ อัน ซ้อนเหลี่ยมกัน
ด้านหน้า สี่เหลี่ยมซ้ายมีอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบอักษรจีน “การฉลองป้ายปี ร.ศ. ๑๐๙”
ด้านหลัง สี่เหลี่ยมซ้ายที่มุมซ้ายมีอักษร “มปร สยาม สยาม รฤก รที่สี่”

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

พระที่นั่งเวหาสน์จำรูญ เป็นพระที่นั่ง ๒ ชั้นศิลปแบบจีน เรียกตามอย่างภาษาจีนว่า “เทียนเม่ง เต้ย” สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ่อค้าใหญ่ชาวจีน คือ พระยาสวัสดิ์วามดิฐ (ฟัก โชติกสวัสดิ์) เป็นนายงาน หลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) และหลวงโภคานุกูล (จิ๋ว) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างในความดูแลของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าทองแถม กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อแล้วเสร็จโปรดให้จัดการเฉลิมพระที่นั่ง รวม ๔ วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๒

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

สร้างเนื่องในพระราชพิธีฉลองพระป้าย พระที่นั่งเวหาสน์จำรูญ พระราชวังบางปะอิน ใน พ.ศ. ๒๔๓๓

ชนิด : ทองแดง เงินกาไหล่ทอง ทองเหลือง
ขนาด : กว้าง ๕๐ มิลลิเมตร ยาว ๘๐ มิลลิเมตร

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๓๓ (ร.ศ.๑๐๙) เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ ๕ ๓๗ พรรษา

พ.ศ.๒๔๓๓ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๐๙

พ.ศ.๒๔๓๓ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๐๙

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ มีรูสี่เหลี่ยมตรงกลาง มีห่วงทั้งด้านบนและด้านล่าง
ด้านหน้า จปร สยาม พระราชทาน รางวัลเครื่องโต๊ะในการ
ด้านหลัง เฉลิมพระชนมพรรษปี รัตนโกสินทร ศก๒๓ ๑๐๙ (๒๓เขียนบน ศก เรียกว่าเลขทับศุกคือปีที่ครองราช)

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

สร้างเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระชนมพรรษา ๓๗ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นรางวัลโต๊ะด้วย

ชนิด : เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดงชุบเงิน
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๖ มิลลิเมตร
สร้าง : พ.ศ. ๒๔๓๓

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๒ ( เหรียญมือ )

พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๒ ( เหรียญมือ )

พ.ศ.๒๔๓๔ (รศ. ๑๑๐) เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๒ ( เหรียญมือ )

ลักษณะ เป็นรูปไข่ เจาะรูสี่เหลี่ยมตรงกลาง
ด้านหน้า รอบเหรียญเป็นรูปมือ ทางด้านซ้ายเป็นรูปมือขวาแบมือ ด้านขวาเป็นรูปมือซ้ายแบมือ ด้านละ ๔ มือ โดยแสดงท่านิ้วมือต่างๆกัน ตรงกลางตอนล่างเป็นมือซ้ายแบบมือเหยียดนิ้วตรงทั้ง ๕ นิ้ว รวมทั้งหมดมี ๙ มือเหนือรูสี่เหลี่ยมเป็นฉัตรตาดขาว ๕ ชั้น มีระบาย ๒ ชั้น ขอบระบายติดแถบ

ด้านหลัง เป็นอักษรไทยประดิษฐ์เลียนแบบตัวอักษรจีน พาดเป็นสี่แฉก อ่านข้างบนลงล่างว่า “มหาสมณุตมา” จากขวามาซ้ายว่า “ภิเศก ร.ศ. ๑๑๐”

สร้างเพื่อพระราชทานเป็นรางวัลเครื่องโต๊ะ ในพระราชพิธีฉลองสมณศักดิ์สมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
เหรียญนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เหรียญมือ”

ชนิด : ทองแดง
ขนาด :
ส่วนกว้าง ๔๔ มิลลิเมตร ส่วนยาว ๕๕ มิลลิเมตร
สร้าง :
พ.ศ. ๒๔๓๔ (ร.ศ. ๑๑๐)

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๑ ( เหรียญบาตรน้ำมนต์ หรือ เหรียญปวเรศฯ )

พ.ศ.๒๔๓๔ (ร.ศ.๑๑๐) เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๑ ( เหรียญบาตรน้ำมนต์ หรือ เหรียญปวเรศฯ )

พ.ศ.๒๔๓๔ ( รศ. ๑๑๐ ) เหรียญที่ระลึกมหาสมณุตตมาภิเศก แบบ ๑
( เหรียญบาตรน้ำมนต์ หรือ เหรียญปวเรศฯ )

ลักษณะ เป็นรูปไข่ ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นรูปอัฐบริขาร พัดยศ และเบญจปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว ๕ ชั้น) มีอักษรเป็นภาษามคธว่า “อยโข สุขิ โตโหติ นิท์ทุก์โข นิรุปททโว อนันนตราโย ติฎเฐย์ย สัพพ์โสตถี ภวันตุเต” แปลว่า “ผู้นี้แล มีความสุขไร้ ความทุกข์ ไร้อุปัทวะไม่มีอันตราย พึงดำรงอยู่ ขอความสัสดีจงมีแก่ท่าน”

ด้านหลัง มีข้อความว่า

“ที่รฤก
งาน
มหาสมณุตตมาภิเศก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมสมเด็จพระ
ปวเรศวริยาลงกรณ์
วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน
รัตนโกสินทรศก๒๔
๑๑๐”

สร้างเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีมหาสมณุตตมาภิเศก เลื่อนพระอิสริยยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ขึ้นเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๔ เหรียญนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เหรียญบาตรน้ำมนต์” หรือ “เหรียญปวเรศฯ”

ชนิด : ทองแดง
ขนาด : ส่วนกว้าง ๔๔ มิลลิเมตร ส่วนยาว ๕๕ มิลลิเมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๓๔