Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๗

พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๗

พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเศก รัชกาลที่ ๗

สร้างเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีบรมราชาภิเศก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498

ทรงเป็นพระราชโอรส อันดับที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถฯ พระราชสมภพ เมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระนามเดิม “สมเด็จเจ้าฟ้าชายประธิปกศักดิเดชน์” ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เมื่อ พ.ศ. 2454

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ลักษณะ  เป็นรูปเสมา ขอบเรียบ ด้านบนเจาะรูใส่ห่วง
ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระดับพระอุระ ผินพระพักตร์ทางซ้ายของเหรียญมีพระปรมาภิไธยที่ด้านบน “ประชาธิปก” และด้านล่าง “บรมราชาธิราช”
ด้านหลัง มีอักษรจารึก

“ที่ระลึก
งานพระราชพิธี
บรมราชาภิเศก
พ.ศ. ๒๔๖๘”


ชนิด เงิน ทองแดงชุบทอง
ขนาด กว้าง 26 มิลลิเมตร ยาว 33 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2468

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญที่ระลึกงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการพระราชพิธีทำบุญ 50 วัน บรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2468 ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 50 วัน นับจากวันสวรรคต

บล็อคพระกรใหญ่

ลักษณะ เหรียญรูปไข่ มีห่วง
ด้านหน้า รูปในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีเครื่องหมายสวัสดิกะอยู่กลางพระอุระ
ด้านหลัง มีอักษรจารึก


“ปัณณาสมวาร
พระบรมศพพระบาท
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖
วันที่ ๑๔ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๖๘”


ชนิด เงิน
ขนาด กว้าง 25 มิลลิเมตร ยาว 29 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ.2468

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึก ปปร. (เสมา ปปร.)

พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึก ปปร. (เสมา ปปร.)

พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึก ปปร. (เสมา ปปร.)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ทำขึ้นตั้งแต่ต้นรัชกาลเพื่อพระราชทานแก่ผู้ที่ทรงคุ้นเคย ตั้งแต่ผู้ใหญ่ลงไปจนถึงเด็ก โดยมีหลายลำดับชั้น ฯลฯ

ชั้นพิเศษ เป็นลงยาสีเขียวแก่ พระปรมาภิไธยย่อ ปปร. และขอบฝังเพชรพระราชทานแก่พระประยูรญาติชั้นผู้ใหญ่

ชั้นหนึ่ง เป็นพื้นสีเขียวอ่อน ปปร. และขอบเป็นทอง พระราชทานแก่เจ้านายและขุนนาง

ชั้นรอง เป็นทองล้วน พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร

ชั้นสาม พื้นเงิน ปปร. และขอบเป็นทอง พระราชทานแก่ผู้น้อยตามลำดับลงไป

ชั้นสี่ เป็นเงินล้วน พระราชทานแก่ผู้น้อยเป็นลำดับลงไป

ลักษณะ   เป็นรูปเสมา มีห่วงอยู่ด้านบน
ด้านหน้า เป็นพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” ไขว้กันอยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
ด้านหลัง ไม่มีรูปหรือข้อความ
ชนิด  ดูรายละเอียดด้านล่าง
ขนาด กว้าง 24 มิลลิเมตร ยาว 38 มิลลิเมตร
สร้าง  พ.ศ. 2468 – 2477

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๕ เหรียญพระแก้วมรกต ๑๕๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๕ เหรียญพระแก้วมรกต ๑๕๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๕ เหรียญพระแก้วมรกต ๑๕๐ ปี

ในพ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้ทันกับการสมโภชกรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 150 ปี ใน พ.ศ. 2475 โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานคณะกรรมการ

คณะกรรมการประมาณเงินที่จะต้องใช้ในการปฏิสังขรณ์ไว้ 6 แสนเศษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธา อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 2 แสนบาท รัฐบาลอนุญาตเงินแผ่นดินอุดหนุนอีก 2 แสนบาท ส่วนที่ยังขาดอยู่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรรมการจัดดำเนินการเรี่ยไรพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลร่วมกัน* โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จและเหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึกตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้

1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ
2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน
3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล)
4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง
และผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป กรรมการจะได้รวบรวมรายนามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นคราวๆ

ต่อมาปรากฏในใบแจ้งความของสำนักผู้อำนวยการวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้ความว่าเหรียญที่ระลึกชุดนี้ได้สร้างก่อนการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่และเนื่องจากประชาชนมีความศรัทธามาก จึงได้ให้หลายบริษัทช่วยกันผลิตเพื่อให้ทันความต้องการคือ บริษัทเดอลารู เพาะช่าง นาถาจารุประกร สุวรรณประดิษฐ์ ฮั่งเตียนเซ้ง โดยผู้บริจาคเงินบำรุง จะได้รับเหรียญสมนาคุณตามลำดับดังนี้

1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญทองคำ
2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญเงิน
3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญนิเกิล
4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญทองแดง

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เนื้อเงินบล็อคเจนีวา

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
บล็อคหลังตัวหนังสือ

เนื้อทองแดงบล็อคทำในประเทศ

ลักษณะ  กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า ภายในเรือนแก้วเป็นรูปพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต ปางสมาธิประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย และมีดอกไม้อยู่โดยรอบ
ด้านหลัง  เป็นรูปยันต์กงจักร มีอักษรจารึก มรรค 8

อ่านว่า ทิ คือ สัมมาทิฐิ
อ่านว่า สํ คือ สัมมาสังกัปโป
อ่านว่า วา คือ สัมมาวาจา
อ่านว่า กํ คือ สัมมากัมมันโต
อ่านว่า อา คือ สัมมา อาชิโว
อ่านว่า วา คือ สัมมา วายาโม
อ่านว่า ส คือ สัมมา สติ
อ่านว่า สํ คือ สัมมาสมาธิ

ที่ริมขอบเหรียญบางเหรียญ จะมีชื่อบริษัทผู้ผลิตดังนี้ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร ฮั่งเตียนเซ้ง และ Georges Hantz Geneve U.G.D.

ชนิด  ทองคำ เงิน นิเกิล ทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร
สร้าง  พ.ศ. 2470 – 2475

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึกในงานยืนชิงช้า

พ.ศ. ๒๔๗๐ – พ.ศ. ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึกในงานยืนชิงช้า

พ.ศ. ๒๔๗๐ – พ.ศ. ๒๔๗๗ เหรียญที่ระลึกในงานยืนชิงช้า

ราชพิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีปีใหม่ของพราหมณ์ โดยเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาเยี่ยมโลก โดยสมมติให้ “พระยายืนชิงช้า” เป็นพระอิศวรผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นพระยายืนชิงช้า จะเป็นข้าราชการจากกรมพระกลาโหม พิธีนี้มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มาเลิกเสียในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2477 พระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายคือ “พระยาชลมารควิจารณ์”

ลักษณะ  (เฉพาะปีพ.ศ.๒๔๗๑) กลมแบน ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า มีลายช่อดอกไม้อยู่รอบๆ เหรียญ
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“ที่ระลึก
ในงานยืนชิงช้า
นายพลโท
พระยากลาโหมราชเสนา
พ.ศ. ๒๔๗๑”

ชนิด  เงิน
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 23 มิลลิเมตร

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๗๑ เหรียญที่ระลึกในงานพ ระเมรุพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

พ.ศ. ๒๔๗๑ เหรียญที่ระลึกในงานพระเมรุพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

พ.ศ. ๒๔๗๑ เหรียญที่ระลึกในงานพระเมรุพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

เนื้อเงินกะไหล่ทอง

สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ ๕๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ ๓ ซึ่งประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาสำลี แห่งสกุลบุนนาค เมื่อแรกเสด็จพระราชสมภพ ในฐานะพระราชธิดาที่ประสูติจากเจ้าจอมมารดา จึงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี” พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดา “รุ่นกลาง” เช่นเดียวกันกับ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งต่อมา ได้ทรงรับราชการฝ่ายในเป็นพระมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยกัน

     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบมา พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ในฐานะพระขนิษฐภคินี ทรงเปลี่ยนพระฐานะจาก พระเจ้าลูกเธอ เป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

     เมื่อมีพระชนมายุได้ประมาณ ๑๗ พรรษา จากหลักฐานที่ปรากฏพระองค์ทรงเป็นเจ้านายชั้น “ลูกหลวง” พระองค์ที่สองที่ได้ถวายตัวเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และภายหลังพระองค์เจ้าสุขุมาลฯทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรในปี ๒๔๒๐ ซึ่งทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก (ชั้นทูลกระหม่อม) พระองค์แรกที่มีพระชนม์ พระองค์จึงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ทรงรับพระราชทานเครื่องอิสริยยศราชูปโภคลงยาราชาวดี นับว่าเป็นพระมเหสีพระองค์แรกที่มีการเฉลิมพระนามและพระอิสริยยศอย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์มีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระองค์ทรงได้รับการเลื่อนพระยศเป็น “พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี” และทรงดำรงฐานันดรศักดิ์นี้จนสิ้นรัชกาลโดยพระองค์มีพระฐานะเป็นพระมเหสีลำดับสาม รองจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

พระรูปทรงฉายเมื่อทรงพระเยาว์

เมื่อผลัดแผ่นดิน พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีฯ ก็ทรงเป็นเช่นเดียวกันกับกับพระมเหสีเทวีพระองค์อื่นๆ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ โศกสลด และปลีกพระองค์ออกจากพระบรมมหาราชวังมานับตั้งแต่นั้น โดยพระองค์พร้อมด้วย สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ได้เสด็จออกมาประทับที่วังบางขุนพรหมซึ่งรัชกาลที่ ๕ พระราชทานให้เป็นวังที่ประทับของพระราชโอรส คือ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ และยังทรงดำรงพระยศเป็นพระนางเจ้าฯ พระราชเทวีจนตลอดรัชกาลที่ ๖

     ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรำลึกถึงพระคุณอันประเสริฐที่สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีมีต่อพระองค์จึงทรงเฉลิมพระนามาภิไธยถวายเป็น “สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า” และด้วยเหตุผลเดียวกันนั้น ทรงเลื่อนพระอิสริยยศพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในรัชกาลที่ ๕ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี”

     ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยมีพระบรมราชโองการให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรีฯ ในรัชกาลที่ ๗ มิได้ทรงเป็นพระปิตุจฉาฯ ในรัชกาลนั้นอีก ดังนั้น เพื่อป้องกันความสับสนจึงมีประกาศให้ออกพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ทั้งนี้ ประกาศนี้มิใช่พระบรมราชโองการ และมิใช่พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และยังควรออกพระนามว่า สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในรัชกาลที่ ๗ มากกว่า เนื่องจากเป็นพระราชอิสริยยศสุดท้าย และสูงกว่าพระราชอิสริยยศเดิม

     สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคพระปับผาสะ (ปอด) พิการในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันเสาร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะนพศก จ.ศ. ๑๒๘๙ (๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐) ณ ตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหม พระชนมายุ ๖๖ พรรษา สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี พร้อมด้วยพระนัดดา และพระนัดดาทรงเลี้ยง ทรงหมอบเฝ้าฯ อยู่ข้างพระที่ พระศพอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระเกียรติยศถวายไว้อาลัย ๑๐๐ วันเป็นกรณีพิเศษ พระเมรุ นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงหนังสือ “สามก๊ก” แจกเป็นของที่ระลึก และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์โคลงถวายหน้าพระศพทุกสัตมวาร

     งานพระราชทานเพลิงพระศพจัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธาน ณ พระเมรุท้องสนามหลวง

ข้อมูลจาก วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี

ลักษณะ  รูปไข่ ขอบหยัก ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า พระรูปของพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ฉายพระพักต์ด้านข้าง ครึ่งพระองค์
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“ที่รฤก
งานพระเมรุ
ท้องสนามหลวง
พ.ศ. ๒๔๗๑”

ชนิด  เงินกะไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด สูง ๓.๕ ซม กว้าง ๒.๕ ซม
สร้าง  พ.ศ. ๒๔๗๑

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎ ฯ

พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏฯ

พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ฯ

สร้างเป็นที่ระลึกในงานพระเมรุพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ฯ พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระนามเดิมหม่อมเจ้าหญิงสาย เป็นธิดาของ กรมหมื่นภูมินทรภักดี พระราชโอรสองค์ที่ 15 ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มารดาชื่อ เจ้าจอมมารดาจีน

หม่อมเจ้าหญิงสาย ได้รับสถาปนาเป็นพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ พ.ศ. 2431 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็น พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา สมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์นี้ ทรงเป็นผู้ริเริ่มตั้งโรงเลี้ยงเด็กขึ้นเป็นแห่งแรกด้วยทุนทรัพย์ของพระองค์เอง ทรงเป็นผู้ส่งเสริมการศึกษา โดยเปิดสถานศึกษาขึ้นที่ในพระบรมมหาราชวัง ณ ตำหนักของพระองค์เอง

ลักษณะ  เป็นรูปไข่ ขอบเรียบมีห่วงอยู่ด้านบน
ด้านหน้า เป็นพระรูปพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏปิยมหาราชปดิวรัดา ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้ายของเหรียญ
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“พระ
วิมาดาเธอ
กรมพระ
สุทธาสินีนาฏ
ปิยมมหาราช
ปดิวรัดา
๒๔๗๒”

ชนิด  เงิน
ขนาด กว้าง 25 มิลลิเมตร ยาว 30 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2472

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญกรมพระนราธิป พระชนมายุครบ ๖๘ พรรษา

พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญกรมพระนราธิป พระชนมายุครบ ๖๘ พรรษา

พ.ศ. ๒๔๗๒ เหรียญที่ระลึกกรมพระนราธิปฯ พระชนมายุครบ ๖๘ พรรษา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าวรวรรณากร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 56 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียน ประสูติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404

     พระองค์เจ้าวรวรรณากร ทรงเริ่มรับราชการที่หอรัษฏากรพิพัฒ เป็นพนักงานการเงินที่ฝากแบงค์ต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2432 ดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนกรมขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า


“พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มกุฏวงศ์นฤบดี มหากวีนิพันธนวิจิตร ราชโกษาธิกิจจิรุปการ บรมนฤบาลมหาสวามิภักดิ์ ขัตติยศักดิ์อดุลพหุลกัลยาณวัตร ศรีรัตนไตรย์คุณาลงกรณ์ นรินทรบพิตร”


     พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประชวรพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชันษา 70 ปี

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๗๕ เหรียญที่ ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า

พ.ศ. ๒๔๗๕ เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า

พ.ศ. ๒๔๗๕ เหรียญที่ระลึกการเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า

เมื่อ พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า เมื่อถึง พ.ศ.2475 กรุงเทพฯ จะมีอายุครบ 150 ปี สมควรจะมีการสมโภชพระนคร และสร้างสิ่งสำคัญไว้เป็นอนุสรณ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทำทางถนนเชื่อมพระนครกับจังหวัดธนบุรี โดยมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประดิษฐานอยู่ที่เชิงสะพานฝั่งพระนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำสัญญากับบริษัท ดอร์แมนลอง จำกัด แห่งประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2472

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นรูปสะพานพระพุทธยอดฟ้าอยู่ในวงกรอบ นอกวงกรอบเบื้องบนมีอักษรภาษาอังกฤษจารึกว่า “PHRABUDDHA YOD FA” เบื้องล่างว่า “MEMORIAL BRIDGE BANGKOK”
ด้านหลัง  มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า

“COMMENCED NOVEMBER 20TH 1929
COMPLETED JUNE 4TH 1931
TOTAL LENGTH 754 FT.
DOUBLE LEAF BASCULE SPAN 260 FT.
TWO FIXED SPANS OF 247 FT.EACH
DESIGNED AND BUILT BY
DORMAN,LONG & CO.LTD.,ENGLAND
UNDER THE SUPERVISION OF
H.R.H.PRINCE PURACHATRA
OPENED APRIL 6TH 1932
BY
H.H.KING PRAJADHIPOK”

ชนิด  เงิน
ขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง 57 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2475

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๘๐ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๔๘๐ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๔๘๐ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ

สร้างเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า  เป็นรูปอาคารด้านทิศเหนือหันหน้าออกถนนพระรามที่ 1 เหนืออาคาร ด้านหน้าเป็นรูปเอราวัณ
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“ที่ระลึก
พระราชพิธีกิ่ฤกษ์
สนามกีฬาแห่งชาติ
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์
พุทธศักราช ๒๔๘๐”

ชนิด  ทองแดง
ขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2480