Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 7 พ.ศ. ๒๔๘๐ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๔๘๐ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๔๘๐ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ

สร้างเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีก่อฤกษ์สนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า  เป็นรูปอาคารด้านทิศเหนือหันหน้าออกถนนพระรามที่ 1 เหนืออาคาร ด้านหน้าเป็นรูปเอราวัณ
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“ที่ระลึก
พระราชพิธีกิ่ฤกษ์
สนามกีฬาแห่งชาติ
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์
พุทธศักราช ๒๔๘๐”

ชนิด  ทองแดง
ขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2480

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 8 พ.ศ. ๒๔๘๔ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน

พ.ศ. ๒๔๘๔ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน

พ.ศ. ๒๔๘๔ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน

The medal for Service Rendered in the Interior
ใช้อักษรย่อ ช.ร.

     เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ในรัชสมัยของสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ตามพระราชกำหนดเหรียญช่วยราชการเขตภายใน พุทธศักราช ๒๔๘๔ สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับมอบหน้าที่ให้ช่วยเหลือราชการทหารหรือตำรวจเกี่ยวกับการรบตามคำสั่งของทางราชการ หรือองค์การซึ่งทางราชการรับรอง มี ๒ ชนิด เป็นเหรียญโลหะกลม ต่างกันที่สีของแพรแถบตามสมัยของการรบ ได้แก่ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา เหรียญช่วยราชการเขตภายในการรบสงครามอินโดจีน

ผู้ออกแบบ : กรมศิลปากร

     เหรียญช่วยราชการเขตภายในเป็นเหรียญโลหะกลม ด้านหน้า ตรงกลางมีรูปมหามงกุฎอยู่เหนือจักร ซ้ายขวาเป็นรูปปีกนก มีสมอขัดในวงจักร ด้านหลัง มีจารึกอักษรว่า “ช่วยราชการเขตภายใน” เหรียญห้อยกับแพรแถบสีต่างๆ ตามสมัยของการรบ ซึ่งกำหนดโดยพระราชกฤษฏีกาดังนี้

แพรแถบ การรบสงครามอินโดจีน แพรแถบสีแดงกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร มีริ้วสีขาว ตอนกลางของแถบกว้าง ๕ มิลลิเมตร ข้างบนมีเข็มโลหะรูปช่อชัยพฤกษ์

แพรแถบ การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา แพรแถบสีเขียวกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร มีริ้วสีแดง ตอนกลางของขอบกว้าง ๕ มิลลิเมตร ข้างบนมีเข็มโลหะรูปช่อชัยพฤกษ์

สำหรับพระราชทานบุรุษ ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
สำหรับพระราชทานสตรี ใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย

การพระราชทาน และการส่งคืน / การเรียกคืน

๑. พระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับมอบหน้าที่ให้ช่วยเหลือราชการทหารหรือตำรวจเกี่ยวกับการรบตามคำสั่งของทางราชการหรือองค์การซึ่งทางราชการรับรอง
๒. พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับ เมื่อผู้ได้พระราชทานวายชนม์ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก
๓. ถ้าผู้ได้รับพระราชทานก็ดี ทายาทโดยธรรมก็ดีกระทำความผิดร้ายแรงหรือประพฤติตนไม่สมเกียรติอาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใดๆ ต้องใช้ราคาเหรียญนี้แก่ทางราชการ ตามราคาที่กำหนด
๔. เหรียญนี้ไม่มีประกาศนียบัตร เป็นแต่ประกาศนามในราชกิจจานุเบกษา
๕. ผู้สมควรที่จะได้รับพระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายในประกอบด้วย
๑. ได้กระทำการช่วยเหลือเป็นประโยชน์แก่ราชการทหารหรือตำรวจเกี่ยวกับการรบ
๒. ทางราชการหรือองค์การ ซึ่งทางราชการรับรองได้มีคำสั่งมอบหมายหน้าที่ให้กระทำการช่วยเหลือ
๓. การช่วยเหลือนั้น สำหรับข้าราชการต้องกระทำนอกเหนือหน้าที่ราชการตามปกติ

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 8 พ.ศ. ๒๔๘๔ เหรียญชัยสมรภูมิ

พ.ศ. ๒๔๘๔ เหรียญชัยสมรภูมิ

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 8 พ.ศ. ๒๔๘๑ เหรียญที่ระลึกเสด็จนิวัตน์พระมหานคร

พ.ศ. ๒๔๘๑ เหรียญที่ระลึกเสด็จนิวัตน์พระมหานคร

พ.ศ. ๒๔๘๑ เหรียญที่ระลึกเสด็จนิวัตน์พระมหานคร

สร้างเป็นที่ระลึกในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัฒน์ประเทศไทย พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระอนุชาธิราช เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์ในคราวปิดภาคเรียน เมื่อพฤศจิกายน พ.ศ. 2481

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล) พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมันนี เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะพระชนมพรรษาได้ 10 พรรษา เสด็จสวรรคตเมิ่วันที่ 9 มิถุนายยน พ.ศ. 2489 ขณะพระชนมพรรษา 21 พรรษา รวมเวลาที่ทรงดำรงในสิริราชสมบัตื 13 ปี

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ มีวงเส้นเป็นชั้นๆ บนขอบเหรียญ
ด้านหน้า  เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระดับพระอุระผินพระพักตร์ทางเบื้องขวาของเหรียญ ริมขอบมีพระปรมาภิไธย “สยามินทร์” และ “อานันทมหิดล” มีจุดไข่ปลาอยู่โดยรอบริมขอบ
ด้านหลัง  มีข้อความว่า

“นิวัฒน์
พระมหานคร
๒๔๘๑”

ชนิด  เงิน
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2481


      

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 8 พ.ศ.๒๔๘๙ เหรียญศานติมาลา

พ.ศ.๒๔๘๙ เหรียญศานติมาลา

พ.ศ.๒๔๘๙ เหรียญศานติมาลา

The Santi Mala Medal
ใช้อักษรย่อว่า ศ.ม. เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความกล้า

     รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญศานติมาลาสำหรับพระราชทานเพื่อสนองคุณงามความดีและเป็นกิตติยานุสรณ์แก่ผู้ซึ่งได้กระทำการต่อต้าน ยอมเสียสละ ทำทุกอย่าง ทำการแก้กลับการร้ายให้กลายเป็นดียังผลให้ประเทศไทยบรรลุถึงซึ่งศานติภาพ และธำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติศานติมาลาพุทธศักราช ๒๔๘๙

มี ๒ ชนิด คือ ชนิดสามัญ เป็นเหรียญดีบุก และชนิดพิเศษเป็นเหรียญเงิน เหรียญนี้พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี

ผู้ออกแบบ : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

๑. ชนิดสามัญ เป็นเหรียญดีบุก รูปกลมรี ด้านหน้า มีรูปไอราพต ด้านหลัง จารึกคาถาเป็นอักษรไทยและอักษรโรมันว่า “นต.ถิสน.ติ ปรํสุขํ” “NATTHI SANTI PARAM SUKAM” แปลว่า “ความสุขอื่นใดยิ่งกว่าความสงบไม่มี” ขนาดกว้าง ๔.๑ เซนติเมตร สูง ๕.๖ เซนติเมตร ห้อยแพรแถบสีแดง กว้าง ๔๐ มิลลิเมตร ตรงกึ่งกลางของแพรแถบมีริ้วสีน้ำเงิน กว้าง ๔ มิลลิเมตร และมีริ้วสีขาว กว้างริ้วละ ๒ มิลลิเมตร ประกอบ ๒ ข้าง ริ้วสีน้ำเงิน ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
สำหรับพระราชทานสตรี แพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย

๒. ชนิดพิเศษ มีลักษณะเช่นชนิดสามัญ แต่เป็นเหรียญเงิน และเหนือเหรียญขึ้นไปมีดาบตั้ง ทำด้วยเงินไขว้กันประกอบอยู่ด้วยมีขนาดเท่ากับเหรียญชนิดสามัญ

การพระราชทาน

๑. สำหรับพระราชทานผู้ทำความดีความชอบในการต่อต้านผู้รุกรานและยอมเสียสละทำการแก้ร้ายให้กลายเป็นดี ยังผลให้ประเทศไทยบรรลุถึงซึ่งศานติภาพ คงธำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตย
๒. พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก
๓. ไม่มีประกาศนียบัตรกำกับเหรียญฯ
ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 8 พ.ศ. ๒๔๙๐ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

พ.ศ. ๒๔๙๐ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

พ.ศ. ๒๔๙๐ เหรียญที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

สร้างเนื่องในงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2490

สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระราชโอรสอันดับที่ 62 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณรายประสูติเมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 เมื่อ พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงศ์” ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองหลายต่อหลายตำแหน่ง ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการพระองค์แรก เมื่อพ.ศ. 2432 และเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงวัง และอธิบดีคลังทหารบก ทหารเรือ ทรงเป็นนายพลเอก กรรมการสภาการคลัง เมื่อพ.ศ. 2456 ขณะดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์” ครั้งสุดท้ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นอภิรัฐมนตรี อุปนายกราชบัณฑิตสภาแผนกศิลปากร ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 จนถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระอิศริยยศครั้งสุดท้ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลคือ “สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์” สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 83 พรรษาเศษ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2490 ทรงเป็นต้นราชสกุล “จิตรพงศ์”

ลักษณะ   กลมแบน ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า เป็นพระรูปสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ครึ่งพระองค์
ด้านหลัง  มีพระตรา “น เทียนสิน” อันเป็นตราประจำพระองค์และมีเลขศักราช “พ.ศ. ๒๔๐๖” “พ.ศ. ๒๔๙๐”

ชนิด  ทองแดง
ขนาด  เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. 2490