Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๔ (ร.ศ.๑๒๐) เหรียญที่ระลึกเสมา จปร

พ.ศ.๒๔๔๔ (ร.ศ.๑๒๐) เหรียญที่ระลึกเสมา จปร

พ.ศ.๒๔๔๔ เหรียญที่ระลึกเสมา จปร

เหรียญที่ระลึกที่ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่เด็กชาย หญิง คราวเสด็จพระราชดำเนินตามหัวเมืองต่างๆ ซึ่งบางคนมารอเพื่อขอพระราชทานเหรียญไปบูชา บางคนก็นำไปเป็นเครื่องรางของขลัง ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ อันที่จริงเหรียญนี้ มีลักษณะเป็นตะกรุดอยู่ด้านบน และได้ทราบจากเซียนพระว่าผ่านพิธีปลุกเสกโดยเกจิดังยุคนั้นหลายท่าน เลยเป็นที่นิยมในวงการพระเครื่องด้วย

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ เป็นรูปเสมา ด้านบนเป็นหลอดสำหรับร้อยเชือก
ด้านหน้า เป็นพระปรมาภิไธยย่อ “ จปร ” อยู่ภายใต้พระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) เปล่งรัศมี และมีข้อความอยู่โดยรอบว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ”
ด้านหลัง ไม่มีรูปหรือข้อความ เรียกกันว่า “ หลังแบบ ”
ชนิด ทองคำ เงิน และ ทองแดง
ขนาด กว้าง 26 มิลลิเมตร ยาว 37 มิลลิเมตร

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๕ (ร.ศ.๑๒๑) เหรียญที่ระลึกในการเปิดบริษัท รถรางไทยทุน จำกัด

พ.ศ.๒๔๔๕ (ร.ศ.๑๒๑) เหรียญที่ระลึกในการเปิดบริษัท รถรางไทยทุน จำกัด

พ.ศ.๒๔๔๕ (รศ.๑๒๑) เหรียญที่ระลึกในการเปิดบริษัท รถรางไทยทุน จำกัด

ลักษณะของเหรียญ มีลักษณะเป็นรูปไข่ ส่วนสูงเท่ากับหนึ่งสตางค์ทองแดงในสมัย ร.๕ แต่ส่วนกว้างมีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย มีหูพร้อมทั้งห่วงห้อยเนื้อของเหรียญเท่าที่พบมีแต่สร้างด้วยเงิน  และทองแดง (พบน้อยกว่าเนื้อเงิน)
          ด้านหน้าของเหรียญ เป็นรูปนางเมฆลาลอยอยู่เหนือเมฆ มือขวาชูแก้วซึ่งเปล่งรัศมีแผ่กระจายไปทั่วตัวเหรียญ
          ด้านหลังของเหรียญ มีข้อความเรียงกันลงมาเป็น ๓ บันทัด ความว่า “บริษัทรถรางไทย ทุนจำกัด”

การออกแบบ เข้าใจว่าเสด็จในกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้ออกแบบด้วยพระองค์เอง โดยมีหลักฐานที่ส่อให้เห็นว่า เสด็จในกรมองค์นี้ได้ออกแบบเหรียญที่ระลึกอันเกี่ยวกับพระองค์ประมาณ ๓ แบบแล้ว


จำนวนเหรียญ ไม่ปรากฎหลักฐานแน่นอน เข้าใจว่าคงจะออกมาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เหรียญ เพราะต้องแจกเป็นที่ระลึกให้แก่บรรดาผู้ที่ได้รับเชิญมาในวันเปิด บริษัทรถรางไทย ทุนจำกัดหลายท่าน

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียที่ระลึก การพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี

พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญที่ระลึก การพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี

-ด้านหน้า-: เป็นแผ่นพระป้ายลายพระปรมาภิไธยว่า
“จุฬาลงกรณ์ ปร.” อยู่ภายใต้ตราพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมีโดยรอบ เบื้องล่างเป็นลายช่อดอกไม้
-ด้านหลัง-: ของเหรียญมีอักษรข้อความว่า
“ที่ระลึกการพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ ๒๕ปี วันที่๑ ตุลาคม รัตนโกสินทร ศก๑๑๒”

พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เหรียญที่ระลึกการพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ๒๕ปี(เหรียญลายเซ็น)
 
 
เป็นเหรียญที่ระลึก ที่ออกพร้อมกับเหรียญเหรียญรัชฎาภิเษกมาลาหรือที่นิยมเรียกว่าเหรียญเปลือย ในปีเดียวกันนั้น
 
เหรียญลายเซ็นนี้ เป็นเหรียญที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นการส่วนพระองค์
 
มีจัดสร้าง ๒ ชนิดโลหะ คือ ชนิดโลหะเงิน และ ทองแดง

 



Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญที่ระลึกในการเฉลิมพระชนพรรษารัชกาลที่ ๕ ครบ ๕๐ พรรษา

พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญที่ระลึกในการเฉลิมพระชนพรรษารัชกาลที่ ๕ ครบ ๕๐ พรรษา

พ.ศ.๒๔๔๖ เหรียญที่ระลึกในการเฉลิมพระชนพรรษารัชกาลที่ ๕ ครบ ๕๐ พรรษา

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เหรีญด้านหน้าเนื้อเงินกะไหล่ทอง
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เหรีญด้านหน้าเนื้อเงิน

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า เป็นรูปพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) เปล่งรัศมีเหนือลายกระหนก

ด้านหลัง มีข้อความว่า


“ที่รฤกในการ
เฉลิมพระชนมพรรษา
พระชนมายุครบ ๕๐
รัตนโกสินทรศก๓๖
๑๒๒”

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เหรีญด้านหลังเนื้อเงินกะไหล่ทอง
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
เหรีญด้านหลังเนื้อเงิน

สร้างเป็นที่ระลึกในการเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๕๐ พรรษา

ชนิด เงินกาไหล่ทอง เงิน ทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๖ มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. ๒๔๔๖

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญที่ระลึกกระทรวงการวัง

พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญที่ระลึกกระทรวงการวัง

พ.ศ.๒๔๔๖ เหรียญที่ระลึกกระทรวงการวัง

ลักษณะ กลมแบน ขอบเรียบ ด้านบนมีห่วง
ด้านหน้า กลางเหรียญเป็นรูปพระนทิการ ยืนแท่นภายในวงกลม นอกวงกรอบด้านบนมีข้อความว่า “ที่รฤก ด้านกระทรวงวัง” ด้านล่างมีข้อความว่า “ร.ศ. ๑๒๒”

ด้านหลัง ไม่มีรูป หรือข้อความ

เหรียญนี้กระทรวงวังสร้างเป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาครบ ๕๐ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖

ชนิด เงิน ทองแดง
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๗ มิลลิเมตร
สร้าง พ.ศ. ๒๔๔๖

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญทวีธาภิเศก

พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) เหรียญทวีธาภิเศก

พ.ศ. ๒๔๔๖ เหรียญทวีธาภิเศก

เหรียญทวีธาภิเศก เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ใช้อักษรย่อว่า ท.ศ. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างเหรียญนี้ขึ้น เมื่อพศ ๒๔๔๖ เพื่อพระราชทานทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาสที่ได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติสืบบรมสันตติวงศ์ เป็นปีที่ ๓๖ ในรัชกาล นับได้ ๑๒๒๔๔ วัน ณ วันที่ ๓ ตุลาคม รศ ๑๒๒ ซึ่งเป็นเวลายืนนานกว่ารัชกาลของบูรพกษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรี และครบถ้วน ๒เท่า จำนวนวันในรัชกาลของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เหรียญที่เห็นในรูปเป็นชนิดเนื้อเงินกะไหล่ทอง เมื่อแรกพระราชทานจะมาพร้อมกับแพรแถบ เป็นเหรียญรูปไข่คู่ ติดกัน

มีตราตอกด้านข้าง ซึ่งคาดว่าน่าจะผลิตจากโรงกษาปณ์แห่งกรุงปารีส

ข้อมูลจำเพาะ

ลักษณะ เป็นเหรียญรูปไข่คู่ติดกัน มีห่วงเชื่อมสำหรับร้อยแพรแถบ
ด้านหน้า มีรูปโล่ โล่ข้างหน้าเป็นตราจุลมงกุฎรองพาน ๒ชั้น โล่หลังรูปมหามงกุฎรองพานอย่างเดียวกัน มีพระมหาสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ และมีใบชัยพฤกษ์รอบนอก มีพระขรรค์กับธารพระกรไขว้กันอยู่เบื้องหลัง มีพระอุณหิศ ( กรอบหน้า , มงกุฎ ) อยู่เบื้องบนทั้งสองหน้า รูปกลมรี
ด้านหลัง กลางโล่มีรูปช้างสามเศียร มีช่อพุทธรักษาล้อมสองข้าง มีพระอุณหิศอยู่เบื้องบน ภายในพระอุณหิศมีอุณาโลมอยู่ เหนือโล่มีอักษรโดยรอบว่า “ ที่ระลึกรัชกาลที่ ๕ เสมอ ๒ เท่า รัชกาลที่ ๔ รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ ” เหมือนกันทั้งสองหน้า
ชนิด ทองคำ เงินกะไหล่ทอง และ เงิน
ปัจจุบัน พ้นสมัยพระราชทาน

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๗ (รศ.๑๒๓) เหรียญปฏิทิน จปร (Calendar 1904-1925)

พ.ศ.๒๔๔๗ (รศ.๑๒๓) เหรียญปฏิทิน จปร (Calendar 1904-1925)

พ.ศ. ๒๔๔๗ (รศ ๑๒๓) เหรียญปฎิทิน จปร (Calendar 1904-1925)

หนึ่งในบรรดาเหรียญที่ระลึกรัชกาลที่ ๕ ที่หาดูยากที่สุด และมีนวัตกรรมด้านปฏิทิน ที่น่าทึ่งที่สุด ได้แก่ “เหรียญปฏิทิน” ที่สามารถใช้ดู วัน เดือน ปี ได้ถึง ๒๑ ปี คือระหว่างปีพศ ๒๔๔๗ ถึง พศ๒๔๖๘ (คศ 1904 – 1925)

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

เหรียญปฏิทินนี้ ด้านหน้าจะมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร ซึ่งบ่งบอกได้ชัดเจนว่าเป็นเหรียญพระราชทานจากรัชกาลที่๕ ตรงขอบด้านบนซ้ายมือมีคำจารึกว่า “เบนซอน” ส่วนขอบด้านบนขวามือจารึกว่า “ลอนดอน” จึงชัดเจนว่าผลิตโดย J.W Benson of London ซึ่งเป็นห้างทองประจำราชสำนักชั้นนำในยุคนั้นหลายแห่ง อาทิเช่น Queen Victoria, the Prince of Wales, the King of Siam (รัชกาลที่๕) และ the King of Denmark ตัวเหรียญทำจากอลูมิเนียม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๘ มม สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นของพระราชทานในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พศ๒๔๔๗ ซึ่งในยุคนั้น วันขึ้นปีใหม่ยังเป็นเดือนเมษายน

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ด้านหลังเป็นปฎิทินแบบ Gregorian Calendar ซึ่งก็คือปฎิทินสากลทางสุริยคตินั่นเอง ตัวเหรียญด้านหลังนี้จะมีจานหมุนแผ่นบาง ยึดติดอยู่กับตัวเหรียญ เวลาจะใช้ปฎิทินก็เพียงหมุนชื่อเดือน ซึ่งอยู่ด้านบนของจานหมุนดังกล่าว ให้ตรงกับปี คศ ที่ต้องการจะดู โดยปีคศนี้ (1904-1925 หรือ พศ ๒๔๒๗ ถึง พศ ๒๔๖๘) จะปรากฎอยู่บนตัวเหรียญด้านหลัง ครั้นเมื่อหมุนให้เดือนตรงกับปีคศ ที่ต้องการจะดูแล้ว ด้านล่างของจานหมุนจะมีช่องเจาะไว้ แสดงวันจันทร์ถึงอาทิตย์ (ซึ่งวันในรอบสัปดาห์นี้จะปรากฎอยู่บนตัวเหรียญ) ซึ่งจะตรงกับวันที่ ในรอบเดือน ปีนั้นๆ ได้อย่างแม่นยำ และสามารถดูปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี ๒๙ วัน (leap year)ได้อย่างถูกต้องด้วย

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

ประดิษฐ์กรรม เหรียญปฎิทินแบบหมุน ๒๑ ปีนี้ นับเป็นผลงานอัจฉริยะที่น่ายกย่อง อย่างไรก็ดี ยังไม่ชัดเจนว่า J.W. Benson เป็นผู้ประดิษฐ์และเป็นเจ้าของสิทธิบัตรอันน่าทึ่งนี้ หรือได้ซื้อลิขสิทธ์จากผู้อื่นมาทำการผลิตเพื่อการค้า จากการค้นคว้าพบว่ามีเหรียญปฏิทินปีคศ1904-1925 แบบเดียวกันนี้ จัดทำด้านหน้าเป็นตราสัญลักษณ์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗ และยังปรากฎตราสัญลักษณ์บริษัทชั้นนำในยุคนั้นด้วยเช่นกัน

จัดได้ว่าเหรียญปฏิทิน จปร นี้ เป็นหนึ่งในเหรียญรัชกาลที่๕ ที่ทรงคุณค่า ทั้งในแง่การเป็นเหรียญพระราชทานโดยตรงจากรัชกาลที่๕ และในด้านนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ทั้งยังเป็นเหรียญที่หาดูได้ยากมากอีกด้วย!

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๗ (รศ.๑๒๓) เหรียญกฐินวัดบวร

พ.ศ.๒๔๔๗ (รศ.๑๒๓) เหรียญกฐินวัดบวร

พศ ๒๔๔๗ (รศ ๑๒๓) เหรียญกฐินวัดบวร

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต

คำบรรยายภาพ: เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาทฯ ชนิดเนื้อทองแดง และเนื้ออลูมิเนียม ด้านหน้าและด้านหลัง

เหรียญที่ระลึกพระพุทธบาท สัจพันธ์บรรพต (วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร เขาสุวรรณบรรพต จังหวัดสระบุรี) มีบันทึกเป็นหลักฐานในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่๒
ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๕ ในวันที่ ๒ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) ความว่า

” …วันที่ ๒ สามโมงเช้าขึ้นรถไฟกรมนราไปพระบาท ทางเรียบร้อยดีกว่าแต่ก่อน ถมบาลัศเต็มไป จวนถึงฝนตกเรื่อยไปจนกระทั่งเดินขึ้นพระบาททั้งฝน มีเหตุสำหรับเป็นสวัสดิมงคล(๓) ((๓)ตั้งแต่เสด็จโดยรถรางพระพุทธบาท

เผอิญมีเหตุขัดข้องมาทุกคราว จึงดำรัสว่าเป็นสวัสดิมงคล) ในการต้องขลึก(๔) ((๔)ขลึก – ขัดข้อง) ๒ อย่างคือม่านที่กั้นกลางรถราวหลุดประการหนึ่งอีกสักเส้นหนึ่งจะถึงรถหลังตกรางเลยต้องลงไม่ถึงสเตชั่นมณฑปพระบาทรื้อเครื่องบนลงหมดมุงสังกะสีไว้ เหมือนสวมหมวกแฮลเม็ดน่าเกลียด ข้อที่แปลกนั้น

คือเห็นต้นไม้ที่พระบาทใบเขียวแลต้นเล็กน้อยขึ้นรกผิดกับเทศกาลที่เคยโกร๋นเกร๋น มีศาลาเมรุหลวงธุรการ(๑)
ปลูกอยู่ต้นทางเข้าไปหน้าหมู่กุฏิ ซึ่งเขาจัดเป็นที่พักกินข้าวแปลกขึ้นใหม่หลังเดียว นอกนั้นคงเดิม ถ่ายรูปออกจะทั้งฝนเกือบทั้งนั้น แล้วกลับมากินข้าวที่ศาลาที่ว่าแล้ว
กรมนราแจกแพรแถบพม่ากับตีน(๒) ((๒) บริษัทรถรางพระพุทธบาท ทำเป็นรูปพระพุทธบาทด้วยอลูมิเนียม สำหรับขายคนขึ้นพระบาทซื้อไปแขวนนาฬิกาเป็นที่ระลึก มักเรียกกันแต่ว่า “ตีน”) ชายมีมีดเงี้ยว ผู้หญิงมีอับเงี้ยว…”

บันทึกข้างต้น พร้อมคำอธิบายหมายเลข มีปรากฎอยู่ในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่๒ ที่จัดพิมพ์ขึ้นตามพระปรารภของพระอรรคชายาเธอฯ กรมขุนสุทธาสินีนาฎ เพื่อประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์ พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยมีรับสั่งว่า

หนังสือเรื่องนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ถึง ๑๗ ปีแล้ว ผู้ซึ่งยังไม่ทราบเรื่องเสด็จครั้งนั้นมีมากด้วยกัน
ถ้าแห่งใดควรจะทำคำอธิบายหมายเลขให้เข้าใจความยิ่งขึ้นได้ ก็ให้ทำคำอธิบายหมายเลขด้วย อนึ่ง พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุนี้ พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์

โดยดำรัสให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดลทรงเขียนไว้ ในเวลาสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นตำแหน่งราชเลขาธิการฝ่ายใน อยู่ในเวลาเมื่อเสด็จประพาสคราวนั้น

คำบรรยายภาพ: รูปถ่ายฝีพระหัตถ์ และลายพระหัตถ์ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๕

ในส่วนของบริษัทรถรางพระพุทธบาท ท.จ.ก. (ทุนจำกัด) นี้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างทางรถไฟเล็กเดินระหว่างท่าเรือกับพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี
(ตามหลักฐานปรากฎในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๘ หน้า ๔๑๐) เรื่องประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถรางพระพุทธบาท ทุนจำกัด ณ วันที่ ๒๕ กันยายน ร.ศ.๑๒๐

และเริ่มเปิดให้บริการในปีถัดมา คือปีร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) และรัชกาลที่๕ ทรงเสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาท แลพระราชทานพระกะฐิน โดยประทับรถรางพระพุทธบาท
ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๑ (ตามหลักฐานปรากฎในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๙ หน้า ๖๗๒) จากช่วงเวลาดังกล่าว จึงสามารถคะเนได้ว่าเหรียญที่ระลึกพระพุทธบาทนี้

น่าจะมีการจัดสร้างครั้งแรกอยู่ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๕ ที่เริ่มให้บริการรถรางพระพุทธบาท ถึงราวปีพ.ศ.๒๔๔๙ ที่ทรงบันทึกถึงเหรียญพระพุทธบาทนี้ไว้ อนึ่ง บริษัทรถรางพระพุทธบาท
ในการต่อมาได้หยุดดำเนินกิจการและถูกถอนพระบรมราชานุญาตพิเศษ ในปีพ.ศ.๒๔๗๒ (รัชสมัย รัชกาลที่๗)
ลักษณะจำเพาะ

ด้านหน้า: เป็นรูปพระพุทธบาทจำลอง ตามลักษณะมงคล ๑๐๘ ประการ มีหูคล้องในตัวทางด้านปลายพระบาท
ด้านหลัง: มีคำจารึกเป็นอักษรมงคล ๖แถวว่าที่รลึก
กุศลศุภคุณ
ที่ได้ไปนมัสการ
พระพุทธบาท
วลัญชนเจดีย์ ถึง
สัจพันธ์บรรพต

อนึ่ง คำจารึกนี้ เป็นการสะท้อนถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทตามแบบชาวลังกาทวีป

ชนิด: อลูมิเนียม และทองแดง
ขนาด: สูง ๔.๘ ซม. รวมหูคล้อง กว้าง ๑.๘ ซม.

ข้อมูลอ้างอิง:
๑) พระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสต้น ร.ศ.๑๒๕, ฉบับโปรดเกล้าให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ นายภาวาส บุนนาค วันเสาร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗
๒) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๘ หน้า ๔๑๐ และ เล่ม๑๙ หน้า ๖๗๒ (รัชกาลที่๕), เล่ม ๔๖ หน้า ๓๖๗ (รัชกาลที่๗)

Categories
เหรียญในรัชกาลที่ 5 พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกงานพระศพพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกงานพระศพพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา

พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) เหรียญที่ระลึกงานพระศพพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (18 กันยายน พ.ศ. 2402 – 4 เมษายน พ.ศ. 2449) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 3 ในจำนวนพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดาอีก 4 พระองค์ ได้แก่

  1. พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณเลิศ (ประสูติ พ.ศ. 2398 พระชันษา 2 ปี) – พระเชษฐา
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ (พ.ศ. 2400-2453) – พระเชษฐา
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ (พ.ศ. 2406-2466) – พระอนุชา
  4. พระองค์เจ้าชายดำรงฤทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 พระชันษา 3 ปี) – พระอนุชา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา